แหล่งข่าวสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ปรับลดลงเหลือ 2.30 บาท ในขณะที่ภาวะการค้ามีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในช่วงต่อไปที่ตรงกับโรงเรียนปิดภาคเรียน ภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยในระบบ
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงนายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ลงวันที่ 1 เมษายน 2564 เพื่อหารือเพื่อประเมินสถานการณ์การผลิตการตลาด และหารือแนวทางการบริหารจัดการอุปทานไข่ไก่ที่เหมาะสม ในวันที่ 5 เมษายน 2564
“หลายคนกังขาพันธุ์ไก่แพง หายาก คิวยาว ราคาดี แต่ทำไมไข่ราคาถูก ถ้าใครไม่ซื้ออาหารจากบริษัทใหญ่ อย่าหวังว่าจะได้พันธุ์ไก่มาเข้าเล้า 17 ราย รวม กรมปศุสัตว์ ที่มีพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) และปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) และ กรมปศุสัตว์ในฐานะผู้ดูแลระบบทั้งหมดควรจะพิจารณาแก้ไขปัญหาครั้งนี้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน”
แหล่งข่าวสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า ทุกวันนี้เหมือนทำงานให้บริษัท ทำผลกำไร เก็บเงินไว้ซื้อตัวไก่ ซื้ออาหารอีก ไหนจะค่าเสื่อมกรง เครื่องจักร และส่งธนาคารอีก ส่วนการชดเชย ควรจะเลิกการชดเชยทุกกรณี ทำมาทุกครั้งวัฏจักรเดิม ขยายการเลี้ยงพุ่ง เพราะปกติราคาไข่ไก่แบบนี้ ไก่สาวต้องลง แต่ราคากับยืนแข็ง และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นด้วยซ้ำไป การแทรกแซงตลาดเมื่อทำซ้ำๆ จะเกิดช่องว่างให้มีผู้ได้เปรียบและเสียเปรียบ รัฐต้องชั่งน้ำหนักให้ดี จะกลายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนบางคนไปอย่างไรเสียระบบตรวจสอบจะเป็นการสอบทานการทำงาน ต้องระวังให้มาก เชื่อการทำงานของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เก่ง
อย่างไรก็ดี หากคุม ต้นกำเนิด ได้ ( พ่อ แม่ พันธุ์ ) ก็ต้อง คุมโรงงานผลิต (ฟาร์มที่ ขยาย หลัง 7 ปี ที่ผ่านมา ให้กลับไปอยู่ ณ. จุดนั้น. ไห้ได้ )ทุกอย่างก็จบ หรือบางคนถ้าวัดใจกัน แบบ ถึง ๆ เมื่อรายใหญ่ ดั๊มพ์ราคาเกษตรกรก็ ขายคละหน้าฟาร์ม ฟองละ 1.00- 1.20 บาท วัดกัน 1-2 เดือน ดีหรือไม่ถ้ายังไม่ตาย ก็ต่อไปเรื่อยๆ คาดว่าน่าจะไม่อาหารให้ไก่กิน
ต่างๆ เหล่านี้ที่สะท้อนกันออกมา ล้วนแล้วแต่ยังเป็นข้อเสนอที่ยังไม่ตกผลึก ยังต้องถกอีกหลายยก กว่าจะได้ข้อสรุปจนกว่าจะถึงวันที่ 5 เมษายน 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง