รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ระบุว่าตามที่เป็นข่าวทางสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ว่า ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลเเพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร (Food Delivery) มีการเรียกเก็บค่า Gross Profit (GP) หรือ ค่าคอมมิชชั่น จากผู้ประกอบร้านอาหาร ในอัตราที่สูงถึง 30-35% ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะรายย่อย (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เนื่องจากไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติและต้องพึ่งการขายผ่านบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) อย่างเดียว ทำให้ได้รับความเดือดร้อนมากขึ้นจากค่า GP ในอัตราที่สูง
นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เชิญผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลเเพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร (Food Delivery) จำนวน 5 ราย ได้แก่ Grab, Lineman, Gojek, Foodpanda และ Robinhood เข้าร่วมหารือผ่านทางออนไลน์เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย โดยให้การเรียกเก็บค่า GP และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากผู้ประกอบการร้านอาหารในอัตราที่เป็นธรรม และห้ามมีพฤติกรรมทางการค้าที่เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจ 4 ราย คือ Grab, Lineman, Gojek, Foodpanda เรียกเก็บค่า GP สูงสุดในอัตราไม่เกิน 30% (ไม่รวม VAT) และ Robinhood ไม่เก็บค่า GP และประเด็นที่สำคัญได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบธุรกิจทุกรายพิจารณาแนวทางการปรับลดอัตราค่า GP รวมทั้งมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การการแพร่ระบาด COVID-19 ให้กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร
ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ขอผู้ให้บริการธุรกิจแพลตฟอร์มแต่ละรายนำไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในช่วงสถานการณ์การการแพร่ระบาดครั้งนี้ และแจ้งผลให้สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ภายในสัปดาห์หน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เซ็นทรัลดึง 450 ร้านอาหาร-แฟชั่นดัง เสริมบริการ “ดีลิเวอรี่-ช้อปออนไลน์” สู้โควิด
ซีอาร์จี-แกร็บ ปั้น GrabKitchen รับยอดพุ่งช่วงโควิด
foodpanda เพิ่มทุนกว่า 115 ล้านช่วยเอสเอ็มอี
"ยอด" เปิดใจเบื้องหลัง "Wongnai" ควบรวม "LINEMAN"
ธ.กรุงเทพ ผนึก Gojek ขยายแนวรุกบริการอีวอลเลตตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์