เรียกร้องรัฐบาลยุโรปหนุน“ภูเก็ต”จุดหมายปลายทาง“กลุ่มสีเขียว”แยกโซนไทย

02 ส.ค. 2564 | 09:09 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ส.ค. 2564 | 17:14 น.

“โฮ ควอน ปิง” นำทัพภาคท่องเที่ยว เรียกร้องรัฐบาลยุโรป-ทั่วโลกสนับสนุน “ภูเก็ต” ให้เป็นจุดหมายปลายทาง "กลุ่มสีเขียว" ที่แยกจากโซนอื่น ๆ ในประเทศไทย สู่การฟื้นตัวการท่องเที่ยวทั่วโลก โดยให้ตระหนักถึงสถานะความปลอดภัยของภูเก็ต และเป็นที่หลบภัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

นายโฮ ควอน ปิง (Ho KwonPing)  ประธานบริหารกลุ่มบันยันทรี ผู้นำเสียงของภาคการด้านการท่องเที่ยวและบริการ ส่งสารถึงคณะทูตยุโรป สายการบิน เจ้าหน้าที่อาวุโส และผู้นำธุรกิจ ในงาน “Phuket Sandbox Summit” ที่จัดขึ้นที่ ลากูน่า ภูเก็ต เมื่อวานก่อน 

 

ย้ำความสำเร็จของ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” (Phuket Sandbox) ได้นั้นจะต้องได้รับสถานะเป็นพื้นที่จุดหมายปลายทาง "กลุ่มสีเขียว" พร้อมเรียกร้องรัฐบาลยุโรปและทั่วโลกสนับสนุน “ภูเก็ต” ให้เป็นจุดหมายปลายทาง "กลุ่มสีเขียว" ที่แยกจากโซนอื่น ๆ ในประเทศไทย

 

นายโฮ ควอน ปิง เปิดเผยว่า ภูเก็ตมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวทั่วโลก เนื่องจากโครงการริเริ่ม “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตาม

เรียกร้องรัฐบาลยุโรปหนุน“ภูเก็ต”จุดหมายปลายทาง“กลุ่มสีเขียว”แยกโซนไทย

 

แต่เพื่อให้ประสบความสำเร็จ รัฐบาลจำเป็นต้องยอมรับว่า “ภูเก็ต” เป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยและปิดล้อมตนเอง แทนที่จะรวมสถานะการเดินทางกับส่วนที่เหลือของประเทศไทย 


(รับชมปาฐกถาโดย นายโฮ ควอน ปิง ประธานบริหารกลุ่มบันยันทรี ได้ที่ https://youtu.be/Mp5Xncz1Vz8)

นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าด้านการการตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย หรือ ททท.กล่าวว่า “เรากำลังพยายามเสนอให้ภูเก็ตอยู่ในรายชื่อจุดหมายปลายทางกลุ่มสีเขียวของรัฐบาลอังกฤษ

 

แม้ว่าตอนนี้ประเทศไทยจะอยู่ในรายชื่อกลุ่มสีเหลืองก็ตาม (Amber list) ซึ่งเราเชื่อมั่นในโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ความปลอดภัยของภูเก็ต และความเข้มงวดของมาตรการป้องกันโควิด-19”

 

ทั้งยังยืนยันว่า มีการจองห้องพักในโรงแรมมาตรฐาน SHA Plus ถึง 300,000 ห้องจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีผู้โดยสารขาเข้าจำนวน 13,000 คน

เที่ยวบิน "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์"

รวมทั้งยังมี 124 เที่ยวบินหลังจากการดำเนินโครงการ 28 วัน และยังมีแผนการเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากตลาดชั้นนำทั่วโลก

 

ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีระยะเวลาพำนักเฉลี่ย 11 วัน

 

ในขณะที่ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นทั่วสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อ โมเดล “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” จึงกำลังกลายเป็นมาตรฐานแห่งความหวังสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว

โครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เพื่อช่วยให้ผู้มาเยือนจากต่างประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนสามารถบินตรงไปยังจุดหมายปลายทางและอยู่บนเกาะภูเก็ตได้โดยไม่ต้องกักตัว

 

โรงแรมจำเป็นต้องดูแลให้พนักงานอย่างน้อย 70% ได้รับวัคซีน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับประชากรภูเก็ต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ต่อโควิด-19 แม้ว่าวัคซีนจะป้องกันผู้คนจากการติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ แต่ก็ลดโอกาสของการติดเชื้อร้ายแรงและการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างมาก

เรียกร้องรัฐบาลยุโรปหนุน“ภูเก็ต”จุดหมายปลายทาง“กลุ่มสีเขียว”แยกโซนไทย

“อัตราการติดเชื้อนับเป็นอัตราการรักษาในโรงพยาบาลและอัตรา ICU รัฐบาลไทยต้องเน้นตัวเลขใหม่เหล่านั้น และเปลี่ยนการเล่าเรื่องเป็น "มีคนป่วยจริง ๆ กี่คน" ไม่ใช่ "ตัวเลขกำลังขึ้นหรือไม่” นายโฮ ควอน ปิง กล่าวเสริม

 

ในการรายงานข้อมูลใหม่นี้ เขากล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ภูเก็ตจะถูกแยกออกจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย และจัดให้อยู่ใน “รายชื่อพื้นที่ที่ปลอดภัย” (Safe list) ของจุดหมายปลายทางที่ควรไปเยือน

 

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้กำหนดให้เกาะมาเดรา (Madeira) อยู่ในรายชื่อกลุ่มสีเขียว ในขณะที่ส่วนที่เหลือของสาธารณรัฐโปรตุเกสยังคงอยู่ในรายชื่อกลุ่มสีเหลือง ซึ่งเป็นกฎเดียวกันที่ใช้กับหมู่เกาะแฟโร (Faroe Islands) ในประเทศเดนมาร์ก

 

“สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือประเทศในสหภาพยุโรปคือรัฐบาลแห่งชาติจะต้องได้รับการกระตุ้นโดยตัวแทนการท่องเที่ยว สื่อ และคนอื่น ๆ เพื่อให้ได้ตระหนักว่า จำเป็นต้องปลดเปลื้องการรับรู้ของภูเก็ตจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย

 

อาจเป็นไปได้ที่จะสร้างชุด “แซนด์บ็อกซ์” ในจุดหมายปลายทางอื่น ๆ เช่น เกาะสมุย (ซึ่งเพิ่งเปิดตัวสมุยพลัส) บาหลี (Bali) และฟูโกว๊ก (Phu Quoc) 

 

ตราบใดที่ แซนด์บ็อกซ์นั้นได้รับการจัดระเบียบอย่างดีอย่างที่อยู่ในภูเก็ต ก็ควรจะแยกออกจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศ” นายโฮกล่าว

 

นายปิยะพงษ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวเสริมว่า “ผมขอยืนยันว่า เราสนับสนุน “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” เรากำลังทำให้แน่ใจว่า ผู้คนบนเกาะและผู้มาเยือนทุกคนปลอดภัย เพื่อให้เราสามารถใช้มาตรการแซนด์บ็อกซ์ได้อย่างราบรื่น และยังคงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภูเก็ตมากขึ้น”

 

นายบิล บาร์เน็ต (Bill Barnett) กรรมการผู้จัดการ ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส นำเสนอข้อมูลล่าสุดว่า “ยังมีความเสี่ยงมากมาย แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ยังคงดำเนินต่อไปและทำงานได้ดี”

 

นักท่องเที่ยวโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์