นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ หนึ่งในผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Tanisorn Wudhikawinwong อดีตพนักงานการบินไทย ซึ่งได้โพสต์ข้อความว่า “ข่าวดีล่าสุด TG ขาย B777-200ER ออกไปได้อีก 6 ลำ จะได้เงินมาใช้หมุนเวียนเพิ่มละ ก็รอ รมต.คมนาคม เซ็นอนุมัติให้ขายได้ต่อไป”
โดยนายปิยสวัสดิ์ ระบุว่า“ที่ขายได้ คือ B747 10 ลำครับ แต่ต้องให้ รมต. คมนาคม ลงนาม อนุมัติ”
นายปิยสวัสดิ์ ยังโพสต์ข้อความเพิ่มเติม ว่า บริษัท การบินไทย จะเก็บเครื่องบินที่ค่อนข้างใหม่และมีประสิทธิภาพสูงไว้ทั้งหมด ได้แก่ เครื่องบินโบอิ้ง B777-300ER จำนวน 17 ลำ เครื่องบินโบอิ้ง B787 จำนวน 8 ลำ เครื่องบินแอร์บัส A350 จำนวน 12 ลำ และเครื่องบินแอร์บัส A-320 จำนวน 20 ลำ ส่วนเครื่องบินโบอิ้ง B777-200ER จำนวน 4 ลำ จะเก็บไว้ 3 ปี
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กบร.)ระบุว่ายังไม่ได้รับการเสนอขอนุมัติขายเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 จำนวน 10 ลำ จากการบินไทย ทั้งนี้ตามระเบียบขั้นตอนของ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. กำหนดให้สายการบินจะต้องแจ้งขออนุญาต ต่อ กบร.ก่อน หากสายการบินจะมีการเปลี่ยนแปลงการครอบครองอากาศที่จดทะเบียนในไทย
เช่น กรณี ต้องการซื้อ ขาย หรือเช่าอากาศยาน โดยทำเรื่องเสนอไปยัง กพท.ในฐานะ เลขาฯ กบร. ให้ทำเรื่องเสนอเข้า คณะกรรมการ กบร.เพื่อพิจารณาอนุมัติ แต่จนถึงขณะนี้การบินไทยยังไม่ได้เสนอเรื่องการขออนุมัติขายเครื่องบินBoeing 747-400 จำนวน 10 ลำ มายัง กพท. แต่อย่างใด
สำหรับเครื่องบินที่การบิน ไทยประกาศขายล็อตแรก มีทั้งหมด34ลำ ประกอบด้วย
นอกจากนี้ล่าสุดการบินไทยได้ประกาศขายเครื่องบินเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 ลำ คือเครื่องบิน แอร์บัส A330-300 ประกอบด้วย ทะเบียบ HS-TEN อายุ 12.6 ปี , ทะเบียน HS-TEO อายุ 12.5 ปี และทะเบียนHS-TEP อายุ 12.2 ปี ซึ่งมีอายุการใช้งานมากที่สุด3อันดับแรกของฝูงบิน A330-300 มีทั้งหมด 15 ลำ
ขณะนี้ทุกลำยังไม่มีการนำมาให้บริการยังคงจอดนิ่งเนื่องจากความต้องการเดินทางทางอากาศยังไม่ฟื้นจากวิกฤติโควิด- 19 นอกจากนี้ยังมีการประกาศขาย และเครื่องจำลองการบินแอร์บัส A330 จำนวน1เครื่องด้วย