ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา เราเห็นกระแสของ Digital Disruption เข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่แล้ว แต่ว่าอิทธิพลอาจยังมีไม่มากนักต่อคนเจเนอเรชันต่างๆ ยกเว้นคนยุคใหม่ที่ถือเป็น Digital Citizens เติบโตมากับโลกดิจิทัลอยู่แล้ว แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีนี้ นับเป็นตัวเร่งขับเคลื่อนให้ดิจิทัลเข้ามาอยู่ในชีวิตผู้คนทุกวัยรวดเร็วอย่างมาก ทั้งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้คนให้มีความกังวลด้านสุขภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกันก็มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจบางส่วน เช่น กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว การบริการ และสายสาธารณสุข เหล่านี้ทำให้เกิด New Consumer หรือผู้บริโภคมีพฤติกรรมใหม่ ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้านดิจิทัลมากขึ้นด้วยการบีบรัดของสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีพฤติกรรมผสมผสานระหว่างโลกออฟไลน์กับออนไลน์ ชอบทั้งทำกิจกรรมนอกบ้าน และยินดีที่จะทำกิจกรรมอยู่ที่บ้าน
จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้คาดการณ์ภาพของพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไป โดยแนะหลักการ “Foresight” 5 ข้อต่อภาคธุรกิจ ดังนี้
4. ข้อมูลจากผู้ใช้จริงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ (Community Dependent) การเน้นสื่อสารจากแบรนด์โดยตรงอาจไม่เพียงพอและเน้นใช้สร้างการรับรู้เท่านั้น ลูกค้าในปัจจุบันจะตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาข้อมูลจากการรีวิวของผู้ใช้จริง หรือถ้าเป็น KOLs ก็ต้องมีความจริงใจมีความน่าเชื่อถือจริงๆ
5. สร้างความเชื่อใจที่จริงจัง (Brands We Trust) ท่ามกลางตัวเลือกสินค้าหรือบริการที่มีมากมาย แบรนด์ต้องสร้างความเชื่อถือไว้วางใจให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น ตอบโจทย์มาตรฐานชีวิตที่สูงขึ้น เน้นความปลอดภัยสุขอนามัยและดีต่อผู้บริโภคและสังคมอย่างจริงจัง เกิดเป็นจุดเน้นที่สำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่มีเป้าหมายหรือ Purpose ที่ชัดเจนในอนาคตต่อไป