"การบินไทย"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

01 พ.ย. 2564 | 07:31 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ย. 2564 | 20:36 น.

การบินไทยอัพเดทแผนฟื้นฟูกิจการแจงลดค่าใช้จ่ายได้เป็นมูลค่า 44,800 ล้านบาทต่อปี เดินหน้าขายทรัพย์สินต่อเนื่อง ส่วนการหาแหล่งเงินใหม่จากภาครัฐยังไร้ข้อสรุป ดีลเงินใหม่จากสถาบันการเงินเอกชน2.5หมื่นล้านบาทคาดได้เงินต้นปีหน้า ทั้งเปิดเที่ยวบินรับเปิดประเทศ

วันนี้(1พ.ย.2564)นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และนายธีรัชย์ อัตนวานิช ประธานคณะกรรมการเจ้าหนี้ บริษัท การบินไทยฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่องความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า \"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เปิดเผยว่าในภาพรวมระยะเวลากว่า 1 ปี บริษัทฯ มีความคืบหน้าในการดำเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย การปรับโครงสร้างและขนาดองค์กร และเพิ่มการหารายได้ กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจใหม่ได้แก่ “สายการบินคุณภาพสูง ที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ด้วยความแข็งแกร่งของอัตลักษณ์ความเป็นไทย เชื่อมโยงประเทศไทยสู่ทั่วโลก และสร้างผลกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่อง” และมีพันธกิจ 4 ด้าน คือ

 

1. สร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า 2. ความเป็นเลิศด้านการพาณิชย์ 3. ต้นทุนที่แข่งขันได้ 4. ผู้นำด้านปฏิบัติการบิน และได้ดำเนินโครงการปฏิรูปธุรกิจ (Transformation Initiatives) ที่พัฒนาจากการระดมสมองของพนักงานทุกระดับกว่า 400 โครงการส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็นมูลค่า 44,800 ล้านบาทต่อปีเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตที่ใกล้เคียงกับปี 2562 ค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 77ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิรูปธุรกิจมีโครงการสำคัญๆ ครอบคลุมด้านต่างๆ และส่งผลให้ปรับลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีนัยสำคัญ

 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

อาทิ ด้านบุคลากร 16,000 ล้านบาท ด้านประสิทธิภาพฝูงบินและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 12,000 ล้านบาทการเจรจาปรับปรุงสัญญาเช่าเครื่องบินและซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ 11,300 ล้านบาท ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง 1,100 ล้านบาท ด้านการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติการบิน 719 ล้านบาท ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพฝ่ายช่าง 802 ล้านบาท และด้านอื่นๆ 3,200 ล้านบาท

 

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกระดับเป็นอย่างดีในการสมัครใจเข้าร่วมรับการกลั่นกรองในโครงการปรับโครงสร้าง ลดขนาดองค์กร ปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างและโครงสร้างค่าตอบแทนบุคลากร โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน (Leave without Pay) รวมถึงโครงการร่วมใจจากองค์กร (Mutual Separation Plan) ซึ่งมีพนักงานที่เสียสละเข้าร่วมโครงการรวมกว่า 6,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2562 มีจำนวนบุคลากรรวมแรงงานภายนอกจำนวน 29,500 คน ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานทั้งสิ้น 14,900 คน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงจากเดือนละกว่า 2,600 ล้านบาทต่อเดือน เหลือกว่า 600 ล้านบาทต่อเดือน จำนวนผู้บริหารทุกระดับลดลงในสัดส่วนร้อยละ 35 ส่งผลให้ประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการทำงานสูงขึ้น จากจำนวนพนักงานที่ลดลง

 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

 

 

ทำให้บริษัทฯ สามารถกระชับพื้นที่ทำงานในส่วนของสำนักงานใหญ่และพื้นที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด สามารถนำพื้นที่ว่างและไม่ได้ใช้งานมาหาประโยชน์ในการสร้างรายได้และเสริมสภาพคล่องทั้งโดยการให้เช่าและจำหน่าย อาทิ การให้เช่าอาคารสำนักงานใหญ่ การจำหน่ายอาคารและที่ดินสำนักงานหลักสี่ หลานหลวง ภูเก็ต และที่ดินเปล่าในจังหวัดเชียงใหม่

 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ยกระดับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ยกเลิกและปรับลดสิทธิประโยชน์ของผู้บริหารและพนักงาน อาทิ ยกเลิกสิทธิบัตรโดยสารกรรมการบริษัทฯ และพนักงานเกษียณ การจ่ายภาษี สิทธิการปรับชั้นโดยสาร (Upgrade) พนักงาน ค่าพาหนะผู้บริหาร ค่ารักษาพยาบาล โดยปรับให้เป็นไปตามสิทธิประกันสังคม เงินชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ใช้ไม่หมดภายในระยะเวลาที่ระเบียบฯ กำหนด (Vacation Compensation) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างค่าตอบแทนรวมถึงหลักเกณฑ์การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลา ลดสิทธิบัตรโดยสารพนักงาน เป็นต้น

 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

 

ในส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทฯ ขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป 5-7 ปี โดยการพักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ย 2-3 ปี ปรับลดภาระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยตามภาระผูกพันเดิมเหลือร้อยละ 1.5 ปรับลดภาระผูกพันตามสัญญาเช่า/เช่าซื้อเครื่องบิน และเพิ่มทางเลือกในการชำระหนี้ ตามกรอบการดำเนินการที่ได้ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงสูงเพื่อจำหน่ายจำนวน 42 ลำ ที่หากขายได้ทั้งหมด คาดว่าการบินไทยจะได้เงินราว8พันล้านบาท โดยขายได้แล้ว10ลำ

 

รวมถึงการยกเลิกสัญญาเช่าและเช่าซื้อจำนวน 16 ลำ จะทำให้บริษัทฯ มีฝูงบินรวม 58 ลำ โดยรวมถึงฝูงบิน A320 ซึ่งสายการบินไทยสมายล์เช่าดำเนินการ 20 ลำ ซึ่งฝูงบินปัจจุบันมีความทันสมัย ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงเป็นผลให้บริษัทฯ สามารถลดต้นทุนด้านการบริหารฝูงบินและค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึงปีละ 12,000 ล้านบาทเมื่อทำการบินในปริมาณการผลิตใกล้เคียงปี 2562 และแบบเครื่องบินในฝูงบินของบริษัทฯ ลดลงจาก 9 แบบ เหลือ 4 แบบ

 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

 

ในเดือนตุลาคม 2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานสูงสุดนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19เมื่อเดือนเมษายน 2563 สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการฟื้นฟูของธุรกิจการบิน โดยระหว่างเดือนเมษายน 2563 - ตุลาคม 2564 บริษัทฯ มีรายได้จากเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศ รวมกว่า 10,000 ล้านบาท มีรายได้จากหน่วยธุรกิจการบินในการให้บริการลูกค้ากว่า 80 สายการบินเป็นเงินรวม 4,800 ล้านบาทและมีแผนงานขยายธุรกิจ Master Franchise ร้าน Puff & Pie ไปทั่วประเทศ จากความมุ่งมั่นในการหารายได้และการหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้งาน

 

บริษัทฯ ขาดทุนจากการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 เป็นเงิน 3,973 ล้านบาท เมื่อรวมรายการครั้งเดียวทางบัญชี ทำให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 11,121 ล้านบาท ดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นเงิน 39,151 ล้านบาท ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนปฏิรูปธุรกิจ ตลอดจนบริหารจัดการสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างเพียงพอต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 เป็นต้นมา

 

เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปิดประเทศตามนโยบายรัฐบาล บริษัทฯ ได้ปรับเพิ่มเส้นทางบินที่ให้บริการเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2564 – 26 มีนาคม 2565 โดยภายในไตรมาสที่ 1/2565 จะมีเส้นทางบินในทวีปเอเชีย 19 จุดบิน ในทวีปยุโรป 9 จุดบิน ในทวีปออสเตรเลีย 1 จุดบิน และภายในประเทศโดยสายการบินไทยสมายล์ 14 จุดบิน ด้วยบริการเต็มรูปแบบ (Full Services)

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

 

\"การบินไทย\"แจงได้เงินใหม่จากแบงก์เอกชน2.5หมื่นล้านต้นปีหน้า

 

ส่วนแผนการหาแหล่งเงินใหม่ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ5หมื่นล้านบาทนั้นในส่วนของแหล่งเงินใหม่จากภาครัฐ2.5หมื่นล้านบาทตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมาในรูปแบบอะไร แต่การบินไทยคาดว่าจะได้แหล่งเงินใหม่2.5หมื่นล้านบาทจากภาคเอกชน คาดว่าจะได้รับเงินต้นปีหน้าก็เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นเพียงแต่งบดุลอาจจะยังไม่สวย ทำให้ยังไงการบินไทยจึงอยากได้เงินจากภาครัฐมาสนับสนุนด้วยตามแผนฟื้นฟูกิจการที่วางไว้

 

 

ภาครัฐควรต้องพิจารณาให้ดีว่าสมควรใส่เงินใหม่เข้ามาในบริษัท การบินไทย หรือไม่ เพราะหากรัฐไม่ใส่เงินเข้ามา ต้องดูว่าจะเป็นเสียโอกาสหรือไม่ เนื่องจากคนที่ใส่เงินใหม่เข้ามานจะมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคา 2.54 บาท/หุ้น ซึ่งหากผลประกอบการของการบินไทยดี ภาครัฐจะเสียโอกาสตรงนี้ไป ตอนนี้จึงกลับไปที่ภาครัฐจะตัดสินใจอย่างไร จะยอมเสียโอกาสนี้หรือไม่

 

ศิริ  จิระพงษ์พันธ์

นายศิริ  จิระพงษ์พันธ์ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบิน ไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่ โดยระบุว่า  กำหนดเวลาเม็ดเงินใหม่จำนวน 25,000ล้านบาทนั้น กำหนดเจรจาหารือระหว่างเจ้าหนี้รายเดิมเพื่อเสนอ Syndicated Loan หวังว่าจะมีข้อสรุปภายในเดือนธันวาคมหรือมกราคมโดยสามารถลงนามในสัญญาและเบิกจ่ายเงินก้อนแรกภายในเดือนมกราคมปี 2565 

 

ส่วนวงเงินอีก 25,000 ล้านบาทจากภาครัฐบาลยังอยู่ระหว่างหารือกับภาครัฐ ไม่ว่าสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบมจ.การบิน ไทยหรือการค้ำประกันโดยภาครัฐมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่เกิน 40% และการบินไทยจะไม่กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ  ซึ่งตามแผนฟื้นฟูเมื่อบมจ.แข็งแรงขึ้นก็เป็นโอกาสสร้างรายได้ของภาครัฐจากการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในราคาหุ้น 2.54บาทต่อหุ้น จากราคาพาร์ที่ 10บาท/หุ้น

 

 

"เรามั่นใจสูงว่าปีนี้จะมีเงินหมุนเวียนเพียงพอถึงปีหน้าซึ่งเริ่มหารือเจ้าหนี้เดิมเพื่อเสนอ syndicated loan หวังว่าจะลงตัวในราวเดือนธันวาคมหรือมกราคมจากนั้นจะดำเนินการทำสัญญาและเบิกเงินก้อนแรกในเดือนมกราคมปีหน้าหากรวมค่าใช้จ่ายค่าตั๋วผู้โดยสารล่วงหน้าที่ต้องจ่ายคืน 12,000ล้านบาทและค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเกือบ 4,000ล้านบาทก็จะเพียงพอดำเนินการตามแผนฟื้นฟูได้โดยไม่สะดุด"

 

 

สำหรับวงเงินอีก 25,000ล้านบาทจากภาครัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนนั้นจะต้องมีการดำเนินการในหลายขั้นตอนซึ่งในทางปฏิบัติเฉพาะวงเงินกู้จากภาคเอกชน 25,000ล้านบาทก็สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นเพียงแต่ถ้ารัฐบาลใส่เงินเข้ามาอีก 25,000 บาทจะทำให้งบดุลของบริษัทดูดีขึ้นอีก อย่างไรก็ตามกลางปี 2565 น่าจะปรับโครงสร้างทุนได้เรียบร้อย