ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดวงตาเรติเน่ เปิดแผนรุกตลาดปี 2565 เน้นขับเคลื่อนด้วยการให้ข้อมูลอินไซด์ด้านสุขภาพ และการใส่ใจสุขภาพดวงตา ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของลูกค้า โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
พร้อมทุ่มงบการตลาด กว่า 20 ล้านบาท รุกกลยุทธ์การตลาดแบบ “มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง” ในรูปแบบ 4 เวอร์ชั่น 4 ภาษา เจาะกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด ทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อสร้างการรับรู้ และรณรงค์ให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตา ตั้งเป้าครองส่วนแบ่งการตลาด 1% หรือ 200 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สูงถึงกว่า 20,000 ล้านบาท
นางสาวศิริลัคณา เอียดวิจิตร์ ที่ปรึกษาด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดวงตาแบรนด์เรติเน่ (RATINE) โดย บริษัท เหนือน่านฟ้า 159 จำกัด กล่าวว่า “หลังจากเปิดตัวโฆษณาบนรถเมล์เพื่อกระจายความห่วงใยทุกการมองของคนไทยผ่านรถเมล์ในทุกเส้นทางการเดินรถทั้งกรุงเทพและปริมณฑลผลตอบรับดีมาก
ทั้งในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ของแบรนด์ อาทิ Line , Facebook, เว็ปไซต์ Ratinethailand ช่องทางมาร์เก็ตเพลส อาทิ Shopee, Lazada, JD Central, Shopat24 และทีวี แซทเทิลไลท์ อย่าง MV Mall ในส่วนของช่องทางอื่นๆ ทั้งช่องทาง โมเดิร์นเทรด และ คอนวีเนียนสโตร์ ก็ให้ความสนใจที่จะมาร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์เรติเน่ เช่นกัน
ซึ่งคาดว่าในปี 2565 จะได้เห็นช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน”
“ในปี 2565 เรติเน่ ตั้งงบการตลาดไว้ที่ 20 ล้านบาท สำหรับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ อินฟูลเอนเซอร์ บุคคลที่มีชื่อเสียง และผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพดวงตา และการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ “มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง” มาสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์
ควบคู่กับรณรงค์ให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตา ผ่านบทเพลงที่มีเนื้อหาอินไซด์ตรงกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันซึ่งมีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 อย่างที่ทราบกันดีว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีแสงสีฟ้า ซึ่งอาจคุกคามสุขภาพดวงตาของคนยุคดิจิตอลได้
โดยมีนักร้องที่มีชื่อเสียงในแต่ละภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน มาเป็นผู้ขับร้อง ในรูปแบบ 4 เวอร์ชั่น 4 ภาษา เจาะกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด ทั้ง 4 ภูมิภาค แบรนด์เรติเน่ มั่นใจในปี 2565 เทรนด์คนรักสุขภาพจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าครองส่วนแบ่งการตลาด 1% หรือประมาณ 200 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สูงถึงกว่า 20,000 ล้านบาท”