เจมาร์ท ดึงเทคโนโลยี สร้างเจ-เคิร์ฟ โฉมใหม่ อลังฯ กว่าเดิม

15 ม.ค. 2565 | 02:14 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ม.ค. 2565 | 09:24 น.

“เจมาร์ท” แบรนด์ช้อปร้านมือถือ และ Gadget ที่วันนี้คนไทยทั่วประเทศคุ้นหู กำลังขยายตัวและเติบโต ตามเป้าหมายและวิชั่นของ “อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART)

ที่ตั้งโจทย์ไว้ชัดเจนว่า ต้องการสร้าง “J - Curve” ด้วยรายได้ที่ขยายตัว 50% ต่อเนื่องติดกัน 3 ปี 

เจมาร์ท ดึงเทคโนโลยี สร้างเจ-เคิร์ฟ โฉมใหม่ อลังฯ กว่าเดิม

โจทย์นี้คือความท้าทาย ที่ “อดิศักดิ์” ตั้งเป้าไว้ให้กับตัวเองและทีมงาน ในช่วง 2 ปีที่ผ่่านมา ขณะที่เศรษฐกิจต้องรับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และปีนี้โควิดก็ยังอยู่ไม่ไปไหน เขาประกาศนโยบายชัดเจนที่จะสร้างกลุ่มธุรกิจของเจมาร์ทให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน โดย ปี 2563 และ 2564 เจมาร์ท สามารถสร้างการเติบโตแล้วกว่า 50% ต่อเนื่องทั้ง 2 ปี 

“อดิศักดิ์” บอกว่า นั่นคือส่วนหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เส้นทางที่เขาและทีมงานเดินหน้ามา สามารถทำให้เกิดการเติบโตได้จริงแม้อยู่ในภาวะวิกฤติ ดังนั้น ด้วยแผนงานที่เขาวางไว้ รวมทั้งอีโคซิสเต็มและพาร์ทเนอร์ที่เขาต่อยอดมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอินฟราสตรัคเจอร์ที่จะเป็นบานต่อยอดให้ธุรกิจในปีนี้ เติบโตได้อีก 50% ได้ไม่ยาก  

เจมาร์ท ดึงเทคโนโลยี สร้างเจ-เคิร์ฟ โฉมใหม่ อลังฯ กว่าเดิม

ช่วงที่ผ่านมา เจมาร์ทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กระชับมากขึ้น แยกสายงานออกเป็น คอมเมิร์ซ กับไฟแนนซ์ อย่างชัดเจน มีผู้บริหารขึ้นมาดูส่วนงานการลงทุน และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญมากๆ โดยเขาประกาศที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาเติมเต็ม สร้างเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการสเกลอัพธุรกิจให้เติบโต โดยทุกฝ่ายจะทำงานร่วมกับซีอีโอของแต่ละบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 9 บริษัท เพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายใหญ่ คือ การเป็น Tech Company ในไทยให้ได้

ผู้นำเจมาร์ท บอกว่า ปี 2552 เป็นปีแรกที่เจมาร์ทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ (Market Cap.) 540 ล้านบาาท เขาต้องใช้เวลานานพอสมควร ผ่านอุปสรรคมามากมาย จนปี 2558 เพิ่มมาอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท โดยในปี 2555 ถือเป็นปีที่เจมาร์ทลงทุนมากที่สุด อาทิ การเข้าซื้อ บริษัท ซิงเกอร์ การตั้งบริษัท เจ ฟินเทค ที่เข้าไปร่วมทุนกับ KB Kookmin บริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิตยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้  

เจมาร์ท ดึงเทคโนโลยี สร้างเจ-เคิร์ฟ โฉมใหม่ อลังฯ กว่าเดิม

หลังจากนั้นประมาณ 6 ปี ทำให้เจมาร์ทสามารถสร้างรายได้เติบโตมาเกือบ 8 หมื่นล้านบาท 
 

ด้วยความเชื่อมั่นในการลงทุนของ “อดิศักดิ์” ทำให้เกิดฐานทุนใหม่ สร้างให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจอย่างรวดเร็ว และเขายังเชื่อมั่นว่า การลงทุนพร้อมดึงพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ เข้ามาร่วมทั้งไทย อย่างกลุ่มบีเอส และต่างประเทศ อย่าง KB Kookmin จะทำให้เจมาร์ท สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (Exponential Growth) เป็นแนวตั้งมากขึ้น
  เจมาร์ท ดึงเทคโนโลยี สร้างเจ-เคิร์ฟ โฉมใหม่ อลังฯ กว่าเดิม

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซีอีโอท่านนี้บอกว่า เจมาร์ทได้ทรานสฟอร์มตัวเองไปสู่การเป็น Investment Holding Company และหลังจากการลงทุน การร่วมผนึกกับพาร์ทเนอร์ ในการสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ และอีโคซีสเต็ม บวกกับฐานลูกค้าที่มีอยุ่จำนวนมาก จะทำให้เจมาร์ท ก้าวไปสู่การเป็น Technology Investment Holding Company (T-IHC) ได้ไม่ยาก 
 

“ผมเชื่อว่า การที่เรามี Population มีฐานลูกค้า มีอีโคซิสเต็ม อยู่แล้ว เมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมต่อ จะทำให้เราสามารถเติบโตได้เร็วขึ้น ซึ่งปีนี้เราได้เงินลงทุนมาเยอะพอสมควร เราจะโฟกัส เรื่อง เทคโนโลยีให้มากขึ้น ต่อไปเราจะนำเทคโนโลยีมาสร้าง 2 บิซิเนสใหญ่ๆ ที่เรามี ฐานลูกค้าอยู่แล้ว คือ คอมเมิร์ซ และไฟแนนซ์”
 

“อดิศักดิ์” เล่าว่า การเดินหน้าสู่เทคคัมปานี ยังต้องมีการลงทุน และการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ อีกต่อเนื่อง เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มให้ใหญ่ขึ้น แล้วนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน ผ่านหัวใจหลักของธุรกิจคือ ประสิทธิภาพ (efficiency) ที่จะช่วยให้เจมาร์ทสามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดสร้างเป็น Exponential Business Model ขึ้นมา 
  เจมาร์ท ดึงเทคโนโลยี สร้างเจ-เคิร์ฟ โฉมใหม่ อลังฯ กว่าเดิม

การเชื่อมต่อเครือข่าย ผสานมือกับพาร์ทเนอร์รวมทั้งการต่อยอดด้วยการซินเนอร์ยี่กับบริษัทต่างๆ เป็นการเติบเต็มโครงสร้างฐานหลัก และอีโคซิสเต็ม ที่ขณะนี้ได้ถูกขับเคลื่อนผ่านเทคโนโลยี สร้างขึ้นมาเป็นแพลทฟอร์ม ทั้งคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม และไฟแนนซ์เชี่ยลแพลตฟอร์ม ที่จะเกี่ยวโยงไปสู่การขายสินค้าในทุกรูปแบบ รวมไปถึงการพันาไปสู่การขายในโลกเสมือนจริง หรือ Metaverse ในอนาคต ซึ่งขณะนี้ เจเวนเจอร์ อีกหนึ่งบริษัทในเครือได้เข้าไปลงทุนในคริปโตแล้ว


ผู้นำเจมาร์ท เล่าต่ออีกว่า เจมาร์ทไม่ใช่สตาร์ทอัพ เพราะฉะนั้น เราขาดทุนไม่ได้ ผมต้องสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ให้พร้อม แล้วเอาเทคโนโลยีเข้าไปใส่ แบบนี้มันไม่ขาดทุน เพราะอินฟราสตรัคเจอร์ของผมทุกตัว ไม่ว่า จะเป็นซิงเกอร์ เจมาร์ท เจดี หรือช่องทางอื่นๆ เรามีกำไรอยู่แล้ว พอใส่แพลตฟอร์มเข้าไป ก็จะช่วยทำกำไรได้ดีขึ้น เพราะหาลูกค้าได้มากขึ้น อีโคซิสเต็มเราก็ใหญ่ขึ้น
 

“ความฝันตรงนั้น จะเกิดเป็นจริงได้หรือไม่อย่างไร มันคือความท้าทาย ผมเชื่อว่า ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพของเรา ด้วยอีโคซิสเต็มที่ใหญ่ขึ้น เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นได้ ใน 3 ปี”
 

อนาคตของ เจมาร์ท “อดิศักดิ์” ไม่ได้มองแค่การขายสินค้ามือถือ สมาร์ทโฟน กัตเจ็ท เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าไอทีเท่านั้น นอกจากการขายสินค้าในโลกเสมือจริงแล้ว สินค้าพื้นฐานอย่างคอนซูเมอร์โปรดักต์ เจมาร์ทก็กำลังวางเสาเข็มสร้างรากฐาน เพื่อขยับขยายเข้าสู่ตลาดนี้ด้วยเช่นกัน 

 

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,748 วันที่ 13 - 15 มกราคม พ.ศ. 2565