วันที่ 1 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนิน โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก
โดยใช้ที่ดินราชพัสดุ เนื้อที่ 141 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 66- 69 จำนวนวงเงินลงทุน 1,411.70 ล้านบาท
เพื่อเสริมสร้างความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี วิทยาการทางการแพทย์ และระบบบริการทางการแพทย์รองรับการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติ ที่ทันสมัย พัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ มูลค่าสูงเชื่อมโยงการท่องเที่ยวนานาชาติ
โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
สำหรับสาระสำคัญของโครงการ ฯ การดำเนินโครงการ ฯ โดยมีจัดสร้างศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร ประกอบด้วย
ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการโครงการ ฯ โดยกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่าอยู่ระหว่างการหารือ โดยมี 5 รูปแบบ ได้แก่
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะมีการจัดทำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้ ดำเนินโครงการแล้ว
สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และท้องถิ่น ในพื้นที่หลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 สร้างโอกาสการลงทุน
เกิดการกระจายรายได้สำหรับภาคเอกชน เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและภาคบริการอื่น ส่งผลให้มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรไทย ด้วย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า การพัฒนาโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู้เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จะเป็นต้นแบบด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป