นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เผยผ่านงานเวที สัมนาZERO CARBON : วิกฤติ – โอกาสไทยในเวที ว่า จากการที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันสารเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 20 - 25 ภายในปี พ.ศ. 2573 ส่งผลให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์โลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ซึ่งการลดก๊าซเรือนกระจกที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่ง คือ การปลูกป่าชายเลนเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
“องค์การค้าโลก ระบุชัดเจน ว่า การปลูกป่า ซึ่งป่าชายเลนจะช่วยในการคิดคำนวณลดคาร์บอนเครดิตเป็นจำนวนมากประมาณ 5 เท่า มากกว่าป่าบกซึ่งมีจำนวนแค่ 1 เท่า (1 ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี)ปัจจุบันการคิดคำนวณของประเทศไทย มีอยู่ 2.75 เท่า ซึ่งตอนนี้ทางกรมกำลังแต่งตั้งนักวิชาการร่วมกับองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกในการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มได้มากกว่า 5 เท่า หรือ 5 ตัน คาร์บอนต่อไร่ต่อปี นี่คือการคิดคำนวณที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต”
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลทรัพยากรป่าชายเลนได้มีการออกระเบียบ อาทิ การปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 ,พื้นที่เป้าหมาย ที่ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขอรับพื้นที่ป่าชายเลนไปปลูกป่าเพื่อลดคาร์บอนเครดิตในการช่วยกิจกรรมการส่งอออกได้
พร้อมนี้ได้จัดทำคู่มือการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต และกำหนดคุณสมบัติหลักเกณฑ์เพื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการปลูกป่าชายเลนกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้การดำเนินงานปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต เกิดประสิทธิภาพ สัมฤทธิ์ผลทุกมิติ และบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย
นายโสภณ กล่าวว่า หากบริษัท รายใดก็ไม่ สามารถลดคาร์บอนฟรุ๊ตปริ๊นได้ด้วยตัวเอง ก็มีวิธีการทำความดี “การปลูกป่าชายเลนเป็นหนึ่งกิจกรรม ที่ลงทุนต่ำที่สุดที่จะสามารถสร้างคาร์บอนเครดิตที่จะนำมาเคลมการปลดปล่อยคาร์บอนฟรุ๊ตปริ๊นของธุรกิจได้ ในอดีตที่ผ่านมาทางกรมเองก็มีกิจกรรมการปลูกป่า แต่ละปีได้งบประมาณไม่ถึง 20 ล้านบาท รวมทั้งบำรุงรักษา และมีโครงการ csr จากหน่วยงานเอกชน/รัฐวิสาหกิจก่อนที่จะมีกระแสคาร์บอนเครดิตในการกีดกันธุรกิจใหญ่จากอียูและสหรัฐอเมริกา
จากการประกาศให้ของท่านนายกรัฐมนตรี กรมเห็นว่าหากดำเนินงานเพียงหน่วยงานเดียวจะไม่สามารถสนองเจตนารมและสัตยาบรรณ ได้ และที่สำคัญจะไม่สามารถรองรับความต้องการของภาคธุรกิจที่จะมีส่วนร่วมในการเข้ามาปลูกป่าชายเลนและเอาไปปกป้องธุรกิจของตนเองได้ในอนาคต
ดังนั้นกรมจึงได้ไปดำเนินการออกระเบียบการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ภาคสมัครใจขึ้น ในแผน เป็นแผน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2575 เป้าหมาย 3 แสนไร่ ในการจัดสรรพื้นที่ให้กับภาคธุรกิจในการเข้ามาร่วมปลูกป่าชายเลน ซึ่งปรากฏว่าในปีแรก มีการประกาศพื้นที่เป้าหมายพร้อมจัดสรรให้กับภาคเอกชน 4.4 หมื่นไร่ แต่มีเอกชนเข้ามาขอ 17 บริษัท/องค์กร ใช้ระยะเวลาประกาศเกือบ 1 เดือน ใน 17 บริษัท ที่ขอพื้นที่ปลูกป่าทั้งสิ้น กว่า 5 แสนไร่ ในปีเดียว
สาเหตุที่มีความต้องการสูงเนื่องจากป่าชายเลนมีการดูดซับคาร์บอนเครดิตต่อตันต่อไร่ผลสัมฤทธิ์สูง แต่กำลังจะมีการประเมินค่าใหม่ที่จะคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนเครดิตถึง 5 เท่า เป็น 5 ตันต่อไร่ จึงเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนให้ความสนใจต่อป่าชายเลนที่จะขอพื้นที่ ซึ่งกรมได้ออกระเบียบและออกกติกาหลายอย่าง เดิมกรมรับเงินจากภาคธุรกิจเข้ามาและส่งมอบลงจังหวัดให้หน่วยงานราชการของกรมไปปลูกป่า
แต่ทั้งนี้เนื่องจากคนเยอะหลายพันคน มีกฎระเบียบราชการช้าบ้าง จึงเปลี่ยนแนวทางใหม่ กล่าวคือ การขึ้นทะเบียนผู้ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียน งานปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต พ.ศ. 2564 จะต้องเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ มีผลงานการปลูกป่ากับภาคราชการ หรือรับจ้างปลูกป่ากับหน่วยงานเอกชนที่น่าเชื่อถือ ได้บริษัทที่เข้ามารับสมัครทั้งหมด 7 ราย ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้ว 5 รายที่ประกาศแล้วว่าเป็นบริษัทที่พร้อมจะรับจ้างปลูกป่าจากองค์กรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากกรม
ส่วนใน 17 รายกำลังอยู่ระหว่างการประกาศที่ขอมา ซึ่งมีหลายงค์กรขอพื้นที่สูงถึง 1 แสนไร่ ดังนั้นในหลักเกณฑ์ที่ออกจะพิจารณาอยู่หลายอย่าง อาทิ พิจารณาความพร้อมของภาคธุรกิจหากพร้อมดำเนินการทันที จะได้แต้มต่อมากหน่อย แต่ก็มีบางบริษัทที่ขอที่ดินเข้ามาหากได้รับการจัดสรรก็จะดำเนินการใน 3 ปี แบบนี้จะได้คะแนนน้อยมาก หรือกรณีขอเข้ามาเพื่อที่จะขายคาร์บอนเครดิตจะให้คะแนนไว้หลัง แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่ขอเข้ามาเพื่อขอไว้ปกป้องธุรกิจ จะให้คะแนนพิเศษ จะประกาศในเร็วๆนี้
“ในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ค.65) จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการ โดยตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านนายกรัฐได้มอบให้ พล.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแบบถาวร จะนำกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 5-6 เดือน นำเสนอคณะกรรมการและกรรมการ 32 คน จะมาร่วมพิจารณาว่าแนวทางกรมดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์ของคาร์บอนเครดิตจะเห็นชอบหรือไม่ หากเห็นชอบก็จะเสนอเข้า ครม.พิจารณาต่อไป”
อนึ่ง บริษัท 17 ราย