สายการบินเวียตเจ็ท ยืนยันคำสั่งซื้ออากาศยานแบบโบอิ้ง 737 MAX (Boeing 737 MAX) จำนวน 200 ลำซึ่งได้ประกาศไปก่อนหน้า ในงาน ฟาร์นโบโรห์ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์โชว์ 2020 ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการตามตารางส่งมอบอากาศยานเพื่อสนับสนุนแผนการขยายฝูงบินของเวียตเจ็ท ตอบรับการเดินทางทางอากาศทั่วโลกที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้เครื่องบิน 50 ลำแรกจะส่งมอบแก่สายการบิน"ไทยเวียตเจ็ท" ซึ่งเป็นสายการบินในเครือของเวียตเจ็ทในประเทศไทย ซึ่งสายการบินไทยเวียตเจ็ทถือเป็นสายการบินอันดับต้น ๆ และเป็นสายการบินยอดนิยมในประเทศไทยในปัจจุบัน
พร้อมกันนี้ โบอิ้ง จะให้การสนับสนุนบริการด้านเทคนิค การฝึกอบรม การโอนถ่ายเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาแก่เวียตเจ็ท เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนและประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมความเชื่อถือได้และเข้าถึงได้
“เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ขยายขอบข่ายความร่วมมือกับเวียตเจ็ท เพื่อขับเคลื่อนการเดินทางทางอากาศที่เข้าถึงได้ในภูมิภาคที่อุตสาหกรรมการบินเติบโตเร็วที่สุดในโลกภูมิภาคหนึ่ง” นายจอห์น บรุนส์ รองประธานแผนกการขายและการตลาดประจำอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง กล่าว
โบอิ้ง 737 MAX ซึ่งพร้อมด้วยประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และสมรรถภาพ จะช่วยให้เวียตเจ็ทบรรลุเป้าหมายในการขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่วทวีปเอเชีย และขยายอย่างกว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ข้อตกลงสั่งซื้ออากาศยานแบบโบอิ้ง 737 MAX จำนวน 200 ลำเวียตเจ็ทและโบอิ้ง รวมถึงบริการซ่อมบำรุงและการบริการทางเทคนิค คำสั่งซื้ออากาศยานแบบโบอิ้ง 737 MAX จำนวน 100 ลำแรกประกาศขึ้นในปี 2559 และเพิ่มเป็นจำนวน 200 ลำในปี 2562 โดยถือเป็นสถิติคำสั่งซื้อของโบอิ้ง
นายติ่น เวียต เฟือง กรรมการผู้จัดการสายการบินเวียตเจ็ท (เวียดนาม) กล่าวว่า “ข้อตกลงในวันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของความสัมพันธ์และความไว้วางใจอันยาวนานระหว่างเวียตเจ็ทและโบอิ้ง รวมถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ
เมื่อพิจารณาจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการบินล่าสุดในเวียดนาม เครื่องบิน 50 ลำแรกจะถูกส่งมอบแก่สายการบินไทยเวียตเจ็ท พร้อมประทับตราสัญลักษณ์ของเวียตเจ็ท เครื่องบินโบอิ้งเหล่านี้พร้อมจะทะยานขึ้นสู่น่านฟ้าไทยในไม่ช้า ด้วยการลงทุนจากแหล่งเงินทุนระหว่างประเทศ
ข้อตกลงในการส่งมอบเครื่องบินกว่า 200 ลำหยุดชะงักเนื่องจากการระงับการใช้งานโบอิ้ง 737 MAX และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกของโบอิ้งขณะเดียวกัน การดำเนินงานของเวียตเจ็ทก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางมรสุมต่าง ๆ เวียตเจ็ทได้ข้ามพ้นจากอุปสรรค คงไว้ซึ่งการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมและสมรรถนะทางการเงิน และพร้อมจะเติบโตต่อไปในอนาคตอันใกล้
การยึดมั่นในสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งร่วมลงนามระหว่างสายการบินเวียตเจ็ทและโบอิ้งเป็นที่พูดถึงในแง่ความสัมพันธ์และความไว้วางใจอันยาวนานระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ คำสั่งซื้อของเวียตเจ็ทคาดว่าจะมอบโอกาสด้านการงานกว่า 200,000 ตำแหน่งสู่ตลาดแรงงานในสหรัฐฯ และสร้างมูลค่ารวมราว ๆ 35,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงคำสั่งซื้อเครื่องบินและบริการด้านวิศวกรรมเครื่องยนต์
โดยคาดว่าคำสั่งซื้อนี้จะดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมการบินของเวียดนาม พร้อมสร้างงานหลายแสนตำแหน่งในอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ซึ่งรวมถึงสนามบิน การควบคุมการจราจรทางอากาศ บริการด้านเทคนิค ศูนย์ฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยส่วนประกอบและการผลิต เป็นต้น
งานฟาร์นโบโรห์ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์โชว์ ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ สองปีในสหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในงานด้านการบินและอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยงานแสดงในปี 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2565 โดยคาดว่าจะมีผู้แสดงสินค้ามากกว่า 1,500 ราย และผู้เยี่ยมชมกว่า 80,000 ราย ซึ่งรวมถึงผู้ผลิตอากาศยาน สถาบันการเงินอากาศยาน ผู้ให้บริการอะไหล่และซ่อมแซมเครื่องจักรกล
รวมถึงการพบปะของสายการบินต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการบิน นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่งานฟาร์นโบโรห์อินเตอร์เนชั่นแนลแอร์โชว์ปี 2565 จัดงานขึ้นเพื่อนำทัพนักประดิษฐ์ชั้นนำจากอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การบิน และการป้องกันของแต่ละอุตสาหกรรมมารวมตัวกันแบบตัวเป็น ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับมาพร้อมการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง
สำหรับคำสั่งซื้อ 200 ลำตามที่เคยเปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยรุ่นย่อยต่างๆดังนี้
ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดเผยออกมาแต่อย่างใด ว่า 50 ลำแรกที่จะเข้าสู่สายการผลิต และส่งมอบให้กับสายการบิน ไทยเวียตเจ็ท จะเป็นรุ่นย่อยอะไรบ้าง