ปัจจุบันนโยบายภาครัฐ ผลักดันไทยเปลี่ยนผ่านสู่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV แบบก้าวกระโดด รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 จะต้องมีรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด
ที่ผ่านมาเป็นเวลานับทศวรรษที่ไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ดีทรอยส์ของเอเชีย” จากการเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียนและใหญ่ติดอันดับ 10 ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตเฉลี่ยประมาณ 2.0 ล้านคันต่อปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมี supply chain ที่แข็งแกร่งในเรื่องของการผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป โดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำตลาด
แต่จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ประกอบกับการที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน และรถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นกระแสหลักทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาแล้ว ที่เริ่มมีการประกาศแบนรถเครื่องยนต์สันดาปและขีดเส้นตายการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งว่าจะสามารถรักษาตำแหน่งการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญต่อไปในอนาคตอย่างไร
ปี 2563 รัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะทำงานภายใต้ชื่อ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และได้มีการประกาศเป้าหมาย “30@30” โดยตั้งเป้าหมายการผลิตรถยนต์ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573)
ทั้งนี้เพื่อให้การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นการดำเนินการในระยะยาว สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุวาระของการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญจากทั้งหมด 13 หมุดหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่วางไว้ ในปี 2565 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและความต้องการ EV ในประเทศไทย ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่การเงิน เช่น การเร่งขยายโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายติดติดตั้งสถานีชาร์จให้ได้ 12,000 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2573
ขณะที่ การประชุม ครม. เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ได้มีการอนุมัติงบประมาณ 2,923.397 ล้านบาท ดำเนินมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ คือ
กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้ได้รับสิทธิที่ต้องได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ แบ่งเป็นรถยนต์ จำนวน 18,100 คัน และรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,800 คัน
โดยผู้ขอรับสิทธิเพื่อขอรับเงินอุดหนุนตามมาตรการ จะต้องเป็นบุคคลตามประกาศกรมสรรพสามิตกำหนด เช่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ผู้นำเข้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ เป็นต้น
กระแสการตอบรับล่าสุด ในงาน Thailand International Motor Expo 2022 เมื่อวันที่ 1-12 ธ.ค. 2565 คนไทยมีความตื่นตัวกับการหันมาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ค่ายรถจากจีนหลายค่ายได้เข้ามาทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยม
ดังจะเห็นได้จากค่าย BYD ที่สามารถทำยอดจองได้กว่า 10,00 คันในรถยนต์ไฟฟ้าเพียงรุ่นเดียว ตามมาด้วยค่าย MG, Great wall motor, NETA V ที่สามารถทำยอดได้สูงไม่น้อยหน้ากัน ยังไม่นับรวมเทสล่าที่ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดขายนอกงาน Motor expo ทำยอดจองได้ถึง 6 พันคันในเวลาเพียงไม่กี่วัน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามและความสำเร็จในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทยได้เป็นอย่างดี
นโยบายที่ชัดเจน รัฐบาลไทยตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) และชิ้นส่วนที่สำคัญของภูมิภาค โดยกำหนดเป้าหมายในปี 2568 ว่าจะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 225,000 คัน ต่อปี คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด และในปี 2573 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 725,000 คัน ต่อปี คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด
EEC Thailand กับความท้าทายในการเป็น EV HUB ที่มีประสิทธิภาพของโลก
การพัฒนาอุตสาหกรรม “รถยนต์ไฟฟ้า” EV มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างมาก หากประเทศไทยจะเป็น ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และดึงเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเทรนด์การลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งขับเคลื่อนโดยเป้าหมายในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการผลิต “รถยนต์ไฟฟ้า” EV ของตลาดทั่วโลก
ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือดที่จะเป็น HUB สำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค ประเทศต่างๆพยายามนำเสนอจุดแข็งเพื่อดึงดูดการลงทุนจากค่ายรถชั้นนำทั่วโลก ตัวอย่างเช่น อินโดนีเซีย ที่พยายามชูจุดแข็งในเรื่องของปริมาณสำรองแร่นิเกิล ซึ่งเป็นสินแร่สำคัญในการผลิตแบตอตอรี่ หรืออย่างเช่นเวียดนามที่มีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าไทยถึงครึ่งหนึ่งและมี Supply chain ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้มแข็ง
ประเทศไทยจะสามารถดึงดูดการลงทุนของยานยนต์ไฟฟ้าได้หรือไม่ หรืออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะจบไปพร้อมกับการค่อยๆหายไปของรถเครื่องยนต์สันดาป แต่จากความแข็งแกร่งของประเทศไทยทั้งในเรื่อง
ที่สำคัญคือความกระตือรือร้นของคนไทยที่ต้องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำทั้ง จีน ยุโรป และอเมริกา เลือกเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจำนวนมาก นำโดยค่ายรถจากจีน ได้แก่
ขณะที่ค่ายญี่ปุ่น เช่น โตโยต้าซึ่งที่ผ่านมาเหมือนจะยังไม่มีความชัดเจนก็ได้มีการเปิดตัวรถยนต์นั่งและรถกระบะไฟฟ้า ในงาน motor expo ที่ผ่านมา
นอกจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่อยู่ในซัพพลายเชนของยานยนต์ไฟฟ้าก็ประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทยเช่นกัน อาทิ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งนำโดยบริษัท EA ได้ลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเที่ยมในพื้นที่ EEC ที่กำลังการผลิต 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี และสามารถขยายไปถึงกำลังการผลิตที่ 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
รวมถึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น TÜV SÜD, Siemens, ABB, Continental, Michelin, Alba Group ซึ่งเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตของบริษัทในระดับภูมิภาค
EEC กับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
อีอีซี จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับรองรับการลงทุนของ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จะเป็นกระแสหลักของโลกในอนาคต การดำเนินงานของอีอีซีที่ผ่านมาอยู่ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว – และเศรษฐกิจชีวภาพ (BCG) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญเพื่อรองรับการค้าและการขนส่งข้ามพรมแดนภายในภูมิภาคและทั่วโลก
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่อีอีซีต้องการให้เกิดการเป็นผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ โดยอาศัยการต่อยอดจากจุดแข็งที่มีอยู่เดิม ที่ผ่านมาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานของ EV
ดังจะเห็นได้จากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเกือบทุกรายเลือกพื้นที่อีอีซี เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิต เนื่องจากพื้นที่อีอีซีได้มีการเตรียมความพร้อมและสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) ที่พร้อมที่สุดสำหรับรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อาทิเช่น ศูนย์ทดสอบยางและล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ซึ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
โดยศูนย์ดังกล่าวเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนของไทยเพื่อทำให้พื้นที่ EEC ก้าวสู่การเป็น super cluster ของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ส่วนในด้านการพัฒนานวัตกรรมที่ต่อยอดจากยานยนต์ไฟฟ้า ก็มีการจัดตั้งพื้นที่ EEC innovation (EECi) ขึ้นในพื้นที่วังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยมี EECi-Aripolis ซึ่งเป็นพื้นที่นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและระบบอัจฉริยะ และเป็นสนามทดสอบสำหรับยานยนต์ไร้คนขับ
รวมถึงเป็นที่ตั้งของโรงงานต้นแบบการผลิตแบตเตอรี่สังกะสี (Zn-ion Battery) ซึ่งเป็นการพัฒนานวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าโดยการใช้แร่สังกะสีซึ่งไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณมากแทนการใช้แร่ลิเทียมซึ่งไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ EEC ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะทักษะที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรม EV ควบคู่ไปกับอุตสาหกรรม 4.0 โดยได้มีการจัดทำ EEC Model ซึ่งเป็นโมเดลในการผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม (Demand-Driven) โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและไทยในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตชิ้นส่วนรถอีวีและแบตเตอรี่
รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและการพัฒนาความสามารถโดยความร่วมมือกับบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี อาทิ ABB Academy เพื่อฝึกทักษะบุคคลากรด้านระบบออโตเมชั่น โซลูชั่นการจ่ายกระแสไฟฟ้า และระบบชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งนี้มีเป้าหมายการพัฒนาบุคคลากรให้ได้ 300,000 คนเพิ่มโอกาสและสร้างงานรองรับบุคลากรให้มีทักษะสูง ตรงความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างรายได้ให้คนพื้นที่อีอีซีอย่างมั่นคง
นอกจากการดึงดูดการลงทุนของในซับพลายเชนของยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว EEC ยังมุ่งเน้นเรื่องการสร้าง Ecosystem เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน EV ในพื้นที่มากขึ้น เช่นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโครงข่ายสถานีชาร์จใน EEC โดยตั้งเป้าจะให้มีสถานีชาร์จในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 300 แห่งภายในสิ้นปี 2565
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, EA, PTT ลงทุนสถานีชาร์จในพื้นที่ EEC รวมถึงผู้ผลิตหัวชาร์จที่เป็นระบบจ่ายไฟขนาดเล็กที่ใช้สำหรับที่พักอาศัยและอาคารสำนักงาน อาทิ Huawei, ABB, และ SEIMENS ที่เริ่มมีฐานการผลิตในพื้นที่ EEC แล้วเช่นกัน
รวมทั้งการสนับสนุนโครงการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะไฟฟ้า เช่น รถโดยสารไฟฟ้า (EV bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (EV minibus) และรถไฟฟ้าล้อยาง (Tram bus) เป็นต้น
เช่นเดียวกับการส่งเสริมการดัดแปลงรถเครื่องยนต์สันดาปเป็นรถแบตเตอร์รี่ไฟฟ้า (EV Conversion) โดยความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมในการสร้างโครงการต้นแบบดัดแปลงรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ และรถสองแถว รวมทั้งการพัฒนาบุคคลากรผ่านสถาบัน ARAI Academy ในการฝึกอบรมทักษะการดัดแปลงรถของอู่รถยนต์ในอีอีซี
ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบจากการเป็นฐานการผลิตยานยนต์เดิม การส่งเสริมเพื่อต่อยอดการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านไปอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าได้เดินหน้าพอสมควรในเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้าเห็นได้จากยอดจองยานยนต์ไฟฟ้าที่สูงเป็นประวัติการณ์
พร้อมกับการเดินหน้าประกาศแผนการลงทุนในประเทศไทยของรถยนต์ไฟฟ้าค่ายต่างๆ รัฐบาลไทยมุ่งเป้าให้ไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีการวางแผนระยะยาวผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ซึ่งไม่ใช่แค่การส่งเสริมการผลิตและการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่รวมถึงรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) และรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV conversion) เป็นต้น
ในระยะถัดไปไทยควรต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้าง Ecosystem สำหรับยานยนต์พลังงานสะอาด และการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต เช่น เทคโนโลยีด้าน connected and autonomous vehicle เทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ (AI, Internet of Vehicle – IoV, Cloud Computing, Block Chain, Satellite)
รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและยกระดับผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์รายย่อยในประเทศให้มีโอกาสปรับตัวและพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้ไทยสามารถก้าวเป็นผู้นำของประเทศผู้ผลิตยานยนต์สมัยใหม่ได้ในอนาคต
นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งนอกจากการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับตัวเงินอย่างการลดภาษีนำเข้าแล้ว ควรสนับสนุนให้มี ที่จอดรถไฟฟ้า การจำกัดการเข้ามาใช้พื้นที่ในตัวเมืองชั้นใน หรือเขตเมือง เขตชุมชน หรือเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรม และผลักดันให้เกิดระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นไฟฟ้ามากขึ้นด้วย เช่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถเมล์ไฟฟ้า แท็กซี่ไฟฟ้า
การสนับสนุนสถานีชาร์จ เพราะคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องคิดถึงจุดชาร์จเป็นสำคัญ คนที่มีบ้านก็ติดตั้งที่ชาร์จได้ แต่คนที่อยู่คอนโดฯ อาจต้องหาสถานีชาร์จสาธารณะ โดยต้องลงทุนในแบบที่เป็น DC Fast Charge ซึ่งใช้เวลาน้อยในการชาร์จแต่ละครั้ง โดยภาครัฐควรสนับสนุนผู้ประกอบการด้วยการปูพรมให้เกิดเครือข่ายสถานีชาร์จที่เพียงพอ
ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อู่ซ่อมรถยนต์ ควรส่งเสริมให้เกิดการ Transform การเปลี่ยนแปลงรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง หรือ EV conversion ให้คนสามารถนำรถยนต์เก่ามาเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้าได้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องก็จะมีเวลาปรับตัวเพื่อเข้าสู่ซัพพลายเชนยานยนต์ไฟฟ้า
ขณะที่ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายไม่แพงในการนำรถเครื่องยนต์สันดาปมาเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดภาระการเกิดหนี้ครัวเรือน ผลักดันเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษให้ขับเคลื่อนได้ตามแผน นอกจากนั้น อุตสาหกรรม EV conversion ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างซัพพลายเชนและผู้ประกอบการใน EV Ecosystem
การจะสร้างความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรม EV conversion จำเป็นต้องมีการออกมาตรฐานรับรองว่า อู่ซ่อมรถ หรือ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์รายย่อย หรือ SMEs เป็นผู้ให้บริการที่มีมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
คือมาตรฐานที่จะกำหนดหลักเกณฑ์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ว่ามีมาตรฐานเชื่อถือได้ และหากนำไปใช้ไปจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาทิ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมถึงมาตรฐานการดัดแปลงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากเครื่องยนต์สันดาปเป็นเครื่องยนต์ระบบไฟ
สนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ดึงซัพพลายเออร์จากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มเติมใน EV Ecosystem โดยบีโอไอรายงานว่าในปัจจุบันมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว 35 โครงการ จาก 26 บริษัท
ตัวอย่างชิ้นส่วนสำคัญ เช่น แบตเตอรี่, Traction Motor, BMS, DCU, Inverter, Onboard Charger, DC/DC Converter, High Voltage Harness, ระบบระบายความร้อนของแบตเตอรี่ และอุปกรณ์สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า เป็นต้น
รวมถึงบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนสำคัญ นอกจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าบางรายที่มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเอง เช่น Delta, Draxlmaier, Elite Group, Jatco, Lumen, Mine Mobility, MCCT, Nuovo Plus, TESM, Valeo เป็นต้น
ความท้าทายสำคัญ ในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก