จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สืบสวนสอบสวนพบกลุ่มผู้บริหารและผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียม กระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมโดยมิชอบด้วยกฎหมายส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นคดีพิเศษที่ 116/2563 โดยพบว่าความผิดบางส่วนเกิดนอกราชอาณาจักร
ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่า ความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 จึงมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษคนหนึ่งคนใดในกรมสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวน
และมอบหมายให้ นายฉัทปณัย รัตนพันธ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ ,นายปกาศิต เหลืองทอง อัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ช่วยราชการสำนักงานการสอบสวน ปฏิบัติราชการในหน้าที่อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 2 สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายการสอบสวน 2 และนายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน คนใดคนหนึ่งทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
โดยคดีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเครือข่าย “โกฟุก” หรือ นายสง่า กังวาล ที่น่าเชื่อว่าทำให้รัฐเสียหายกว่า 10,000 ล้านบาท และเชื่อมโยงกับกรณีคดีฟอกเงินจากการพนันออนไลน์ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ปฏิบัติการตรวจค้นไปก่อนหน้านี้
วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการตามที่อัยการสูงสุดมอบหมาย ในคดีพิเศษที่ 116/2563 ซึ่งมี นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน และคณะพนักงานอัยการร่วมสอบสวน เข้าร่วมในการประชุมด้วย
สำหรับคดีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีคำสั่ง ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 คณะ ดังนี้
ทั้งนี้ ในการประชุมร่วมกันระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ และและพนักงานอัยการ ได้มีหนังสือแจ้งให้กรมสรรพากร และกรมสรรพาสามิตตรวจสอบภาษี และให้มาร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแล้ว ในส่วนของข้อมูล ใบขนสินค้าขาออกได้รับจากกรมศุลกากรเพื่อนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานแล้วบางส่วน และที่ประชุมยังได้มีการหารือ วางแนวทางในการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำความผิดต่อไป