KEY
POINTS
หลังจากรัฐบาลได้เปิดตัวนโยบาย “หวยเกษียณ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางนโยบายแบบใหม่โดยใช้พฤติกรรมชอบเล่นพนันของคนไทยคนไทยมาเป็นแรงจูงใจให้เกิดการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ
โดยออกเป็นสลากแบบขูดดิจิทัล ใบละ 50 บาท ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือแรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถซื้อได้ทุกวัน และจะมีการออกรางวัลวันศุกร์ รางวัลที่หนึ่งมูลค่าหนึ่งล้านบาทจำนวน 5 รางวัล
นโยบายดังกล่าวคาดว่าต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 6 เดือน - 1 ปี และต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติม รายการ “เข้าเรื่อง” เผยแพร่ทางยูทูป ฐานเศรษฐกิจ ได้สนทนากับ ดร.แดน หรือ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ ถึงคอนเซปต์ “หวยเกษียณ” ที่คิดขึ้นมาเป็นคนแรก ตั้งแต่ 17 ปีที่แล้ว
ดร.แดน เล่าว่าเคยเขียนบทความไว้ชื่อว่า "หวยออมทรัพย์คนชรา" ตั้งแต่ยุค ดร.แดน can do โดยมีบทความ เกี่ยวกับเรื่องนี้ 2ชิ้น ชิ้นแรก เดือนมีนาคม ในปี 2550 เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจบทความอีกชิ้นในเดือนมีนาคม 2551 ในหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ตนเองเป็นคอลัมนิสต์อยู่
แต่ขณะที่คิดนั้นสังคมยังปัญหาเรื่องผู้สูงอายุ แต่เห็นว่าในอนาคตจะประสบปัญหาเรื่องผู้สูงอายุและเป็นสังคมผู้สูงอายุในที่สุด ซึ่งเป็นจุดที่น่ากังวลเพราะคนไทยเป็นสังคมรายได้ไม่สูง ไม่ใช่คนรวย หากไม่มีการดูแลท้ายที่สุดจะเกิดปัญหาสังคมรุนแรง คนชราอาจถูกทอดทิ้งลูกหลานเลี้ยงดูไม่ไหว อาจเกิดม็อบคนชราในที่สุด
จากการศึกษาพบว่าคนชราส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชนบท การศึกษาไม่สูง และมักทำอาชีพเกษตรกร เมื่อเป็นเช่นนี้จึงอันตรายมากหากมีความยากจนประกอบด้วย อีกส่วนหนึ่งก็คือรัฐบาลของประเทศไทยก็จะไม่ค่อยรวย ยังห่างไกลจากการเป็นประเทศมีรายได้สูง ซึ่งมาถึงวันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ
และเล็งเห็นว่าคนไทยชอบเล่นพนัน เคยทำงานวิจัยพบว่าคนไทยกว่า 70% เล่นพนันแม้จะไม่ได้เล่นเป็นประจำก็ตามฉะนั้นจึงเห็นว่าอย่าพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องนี้เลยแต่ให้นำมาเป็นแรงจูงใจ โดยเฉพาะในกลุ่มคนจน โดยใช้วิธีหลอกล่อให้ออมเงินแต่อยู่ในวัยทำงานทีละเล็กทีละน้อย เมื่อถึงวัยเกษียณก็จะมีเงินที่สะสมมาตลอดชีวิตการทำงานจำนวนหนึ่ง
ซึ่งในยุคที่ตนเองทำงานการเมืองได้เคยคิดนโยบายดังกล่าวและนำเสนอไปยังพรรคการเมืองต้นสังกัดแล้วด้วยแต่ไม่ได้รับการขับเคลื่อนให้เกิดเกิดขึ้นจริง โดยแนวนโยบายในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มี กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จึงมีแนวคิดที่จะการเงินเงินออมส่วนหนึ่งออกมาจากสลากกินแบ่งรัฐบาล หลังจากหักค่าดำเนินงานต่างๆ แล้วเก็บสะสมไว้จนกว่าบุคคลผู้นั้นจะเกษียณ และไม่ทำงานแล้ว จึงสามารถถอนออกมาใช้ได้
ในวันนี้ที่มีนักการเมืองและพรรคการเมืองนำเอาแนวความคิดดังกล่าวขับเคลื่อนเป็นนโยบาย โดยอาจเล็งเห็นว่าจะนำมาสู่คะแนนนิยมในฐานะที่เป็นผู้คิดนโยบายนี้เป็นคนแรกก็รู้สึกดีใจ แต่ขอท้วงติงเล็กน้อยเรื่องของการขโมยความคิด ซึ่งในทางวิชาการถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง หรือ Plagiarism แต่เมื่อนักการเมืองนำเอาแนวความคิดจากนักวิชาการไปใช้กำหนดนโยบายโดยไม่อ้างอิง ขอเรียกว่าเป็น Political Plagiarism คือเป็นการขโมยความคิดผู้อื่นไปใช้กำหนดนโยบายโดยไม่มีการอ้างอิง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเพราะถือเป็นคุณธรรมของนักการเมือง หากขโมยความคิดได้ ก็อาจขโมยทรัพย์ได้
เมื่อพิจารณาถึง ความเหมือนหรือความแตกต่างของนโยบายยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าโดยหลักการเป็นหลักการเดียวกันแต่แตกต่างกันด้วยรายละเอียดของวิธีการ แต่ควรต้องมีการคำนวณตัวเลขกันให้ชัดเจน ว่าจำนวนคนชราจะมีมากขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละปี อัตราการเสียชีวิตจะเป็นอย่างไร การดูแลคนชราให้สามารถอยู่ได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีจะต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ แล้วจึงทำตัวเลขย้อนกลับเพื่อกำหนด เงื่อนไขราคาสลากหรือการซื้อสลาก รวมถึงรายละเอียดต่างๆ
นอกจากนี้หากสามารถดึงแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมที่มีสวัสดิการหลังเกษียณรองรับอยู่ด้วยก็จะถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งนโยบายหวยเกษียณนี้ก็จะจะช่วยส่งเสริมด้านเงินออมหลังเกษียณด้วยอีกทางหนึ่ง จึงเป็นนโยบายที่สามารถทำควบคู่กันไปได้ ส่วนความสำเร็จของนโยบายนี้ อันดับแรกขึ้นอยู่กับอายุของรัฐบาล ว่าจะได้อยู่จนดำเนินนโยบายนี้หรือไม่ รัฐบาลสามารถอยู่ดำเนินนโยบายนี้ได้นานแค่ไหน และรัฐบาลต่อไปจะสานต่อหรือไม่