KEY
POINTS
รัฐบาลกำลังเตรียมเปิดตัวโครงการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานการแถลงรายละเอียดโครงการแทน ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ทั้งกรอบระยะเวลา ขั้นตอนการลงทะเบียน และแหล่งเงิน
โดยรัฐบาลจะเปิดลงทะเบียนโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 นี้ ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” โดยมีระยะเวลาการเปิดลงทะเบียน 45 วัน จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2567 แจ้งผลสำหรับประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์ และเปิดให้ประชาชน และร้านค้าใช้จ่ายผ่านระบบ Open Loop ในเดือนธันวาคม 2567
สำหรับแหล่งวงเงินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ล่าสุดแม้จะมีความชัดเจนแล้วว่า แหล่งวงเงินของโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท วงเงิน 450,000 แสนล้านบาทนั้น รัฐบาลจะดึงงบประมาณมาใช้รวม 2 ปีงบประมาณ
นั่นคือ งบประมาณปี 2567 ทั้งการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม วงเงิน 122,000 แสนล้านบาท และการบริหารจัดการงบประมาณอีก 43,000 ล้านบาท และงบประมาณปี 2568 วงเงิน 152,700 ล้านบาท และการบริหารจัดการงบประมาณอีก 132,300 ล้านบาท
แต่ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเติมเงินดิจิทัลฯ ครั้งล่าสุด ที่ประชุมก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีเงินครบทั้ง 450,000 ล้านบาทหรือไม่ โดยเฉพาะการบริหารจัดการงบประมาณ ทั้ง 2 ปีงบประมาณ ซึ่งจะต้องหาเงินมาเติมในโครงการอีก 175,300 ล้านบาท อาจทำได้ยาก เพราะหลายโครงการยังไม่สามารถตัดงบประมาณลงได้ และอาจทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจใช้งบกลาง ซึ่งปกติเงินก้อนนี้ต้องกันเอาไว้ใช้ยามจำเป็นเท่านั้น
ในส่วนของงบประมาณปี 2567 ล่าสุดมีความชัดเจนแล้วว่าจะมีเงินก้อนแรกตุนเอาไว้ 122,000 แสนล้านบาท หลังจากรัฐบาลเลือกออกพ.ร.บ.งบเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในขั้นตอนของรัฐสภา โดยได้ผ่านชั้นรับหลักการในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือผ่านวาระแรกไปแล้ว เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ด้วยคะแนน 197 ต่อ 164 เสียง และจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ
ทั้งนี้ตามไทม์ไลน์ของงบประมาณเพิ่มเติมนั้น หลังจากผ่านชั้นกรรมาธิการแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณา วาระที่ 2 และลงมติวาระที่ 3 ในวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 เมื่อผ่านวาระ 2-3 แล้ว ในวันที่ 6 สิงหาคม 2567 จะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา โดยหลังจากนั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าถวาย เพื่อประกาศบังคับใช้ ในวันที่ 13 สิงหาคม 2567 ต่อไป
ส่วนงบประมาณปี 2568 ล่าสุดกฎหมายยังอยู่ในชั้นกรรมาธิการเช่นกัน โดยมีการตั้งงบประมาณปี 2568 เอาไว้ในงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ วงเงิน 152,700 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 132,300 ล้านบาท จะบริหารจัดการงบประมาณรายจ่าย ซึ่งเงินก้อนนี้จะมีการตัดเงินมาจากโครงการบางส่วนในชั้นกรรมาธิการ แต่ท้ายที่สุดก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะได้เต็มวงเงินหรือไม่
อย่างไรก็ตามตามไทม์ไลน์งบประมาณ ปี 2568 หลังจากผ่านการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการแล้ว ในขั้นตอนต่อไป จะนำเข้าสู่การพิจารณา วาระที่ 2 และลงมติวาระที่ 3 ในวันที่ 4 – 5 กันยายน 2567 เมื่อผ่านวาระ 2-3 แล้ว ในวันที่ 9-10 กันยายน 2567 จะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา โดยหลังจากนั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าถวาย เพื่อประกาศบังคับใช้ ในวันที่ 17 กันยายน2567 ต่อไป
สำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงิน “แอปพลิเคชันทางรัฐ” เพื่อรองรับการโอนจ่ายเงินในการซื้อสินค้าของประชาชนในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ขณะนี้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ได้พัฒนาแอปพลิเคชันทางรัฐ เพื่อรองรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่สำคัญไปแล้ว 2 โครงการ ได้แก่
นอกจากนี้ DGA ยังมีแผนการจัดซื้อจัดจ้างที่สำคัญในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อรองรับการดำเนินโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท อีก 1 โครงการ ได้แก่ งานพัฒนาระบบแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform) วงเงิน 95 ล้านบาท เพื่อรองรับการใช้จ่ายเงินของประชาชนจากโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบชำระเงินออนไลน์ แสดงถึงความเป็นห่วงของระบบการชำระเงิน Payment System ที่ขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพัฒนาระบบ
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์แห่งแรกของประเทศไทย กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รู้สึกกังวลเกี่ยวกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท เป็นอย่างมาก เนื่องจากเงื่อนไขของรัฐบาล ที่ตั้งเป้าหมายแจกเงินได้ทันเดือนตุลาคมนั้น เป็นเรื่องที่มีความท้าทายของผู้พัฒนาระบบเป็นอย่างมาก
เนื่องจากระบบดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน และมีขนาดใหญ่รองรับการใช้งานของคน 10 ล้านคน ใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ทั้งการพัฒนาระบบ และการดูแลระบบ แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นเงื่อนไขระบบจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) ระบบชำระเงิน Payment System ออกมา
“ระบบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคนหลายสิบล้านคน ต่างเพศ ต่างอายุ ต่างอาชีพ รวมไปถึงร้านค้า จะนำระบบใหญ่ขนาดนี้ขึ้นให้บริการก็ยากอยู่แล้ว ผู้พัฒนายังต้องมีการทดสอบระบบ อุดช่องโหว่ต่างๆ จากการเปิดให้มีเชื่อมโยงข้อมูล Open Loop ซึ่งต้องเชื่อมต่อกับระบบอื่น ซึ่งมองว่าด้วยระยะเวลาที่มีอยู่ไมน่าจะเสร็จทัน เช่นเดียวกับการดูแลรักษาระบบนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง โดยใครจะเป็นเจ้าภาพผู้ดูแลระบบ วางแนวทางปฎิบัติเวลาเกิดปัญหาขึ้นไว้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องมีการวางแผนและทดสอบการทำงานไว้ล่วงหน้า”
สอดคล้องกับความเห็นของ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เสนอต่อนายเศรษฐา ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ว่าการที่ระบบเติมเงินฯ จะต้องรองรับการใช้งานของ ประชาชนและร้านค้าจำนวนมาก และมีลักษณะเป็นระบบเปิด (Open Loop) ที่ต้องเชื่อมโยงกับธนาคารและ Non-bank เป็นวงกว้าง
ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าระบบเติมเงินฯ โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายคณะกรรมการนโยบายฯ ควรติดตามการพัฒนาระบบเติมเงินฯ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงว่าการดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งด้านความมั่นคงปลอดภัย (confidentiality & security) ความถูกต้องน่าเชื่อถือ (integrity) และความมีเสถียรภาพพร้อมใช้งานได้ต่อเนื่อง (availability)
รวมทั้งมีการบริหารจัดการด้าน IT Governance ตามมาตรฐานสากล โดยมีประเด็นที่ควรพิจารณาตรวจสอบก่อนเริ่มใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของระบบเติมเงินฯ ดังต่อไปนี้
1.ระบบลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบสิทธิของประชาชนและผู้ประกอบการ และการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
2. ระบบตรวจสอบเงื่อนไขและอนุมัติรายการชำระเงิน บันทึกบัญชี และ update ยอดเงิน เมื่อมีการใช้จ่ายหรือถอนเงินออกจาก Digital Wallet (payment platform) ต้องสามารถรองรับการตรวจสอบหากเกิดปัญหาการชำระเงินไม่สำเร็จหรือเกิดข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
3.การดำเนินการในลักษณะเป็นระบบเปิด (Open Loop) ที่เชื่อมต่อกับภาคธนาคารและ non-bank
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดทำและนำส่งพิมพ์เขียวที่แสดง system architecture ของ payment platform (เช่น technical specifications, system requirements, business rules) ให้ธนาคารและ non-bank โดยเร็วที่สุด สำหรับเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและทดสอบการเชื่อมต่อระบบกับ payment platform ให้ทันตามกำหนดการพัฒนา open loop ต้องให้เวลาเพียงพอแก่ธนาคารและ non-bank ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ
ประเด็นอื่น ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรชี้แจงกลไกการลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริตในขั้นตอน ต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น รวมถึงมีมาตรการในการติดตามการดำเนินโครงการฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีกระบวนการที่รัดกุมเพียงพอที่จะป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น การซื้อขายสินค้าที่ผิดเงื่อนไขของโครงการฯ และ การขายลดสิทธิ์ (discount) ระหว่างประชาชนและร้านค้า
นอกจากนั้น ข้อมูลที่ได้รับทราบจากการแถลงข่าว ในโอกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับกรณีการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำและชี้แจงแนวทางดำเนินการที่ชัดเจนในการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าว ให้สอดคล้องกับหลักการของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินระหว่างปีงบประมาณนั้น โดยไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปได้
โครงการนี้มีความท้าทายทั้งด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย