นวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย ไตรมาส 3 ปี 2559 “Culinary trail ท่องเที่ยวด้านอาหารไทยแตะ 5 แสนล้านบาท”
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวในการแถลงข่าว รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 4 ในส่วนของสรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสที่ 2 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 3 ปี 2559และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยมีสาระสำคัญดังนี้
สถานการณ์ท่องเที่ยวของไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2559มีรายได้รวมจากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 571,681.93ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.89 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวน 7,553,011 คน ขยายตัวร้อยละ 8.23 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และก่อให้เกิดรายได้ 362,933.27 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.20จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวจีน ขยายตัวร้อยละ 13.38นักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรป ขยายตัวร้อยละ 10.67และนักท่องเที่ยวอาเซียนขยายตัว 6.34 สำหรับสถานการณ์ที่น่าสนใจ เช่น การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีนหลังเทศกาลสงกรานต์และก่อนเข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียนในไตรมาส ที่ 3การแข่งขันฟุตบอลแห่งชาติยุโรปส่งผลให้นักท่องเที่ยวยุโรปบางประเทศชะลอตัวในเดือนมิถุนายนขณะที่นักท่องเที่ยวสำคัญอื่น ๆ เช่น รัสเซีย อเมริกา อินเดีย ยังคงเติบโตดี
การท่องเที่ยวภายในประเทศมีจำนวน37 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 3.00 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสร้างรายได้แก่ประเทศ 208,748.66 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.65 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาสำหรับสถานการณ์ที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยวใน 7 เมืองหลัก (กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และสงขลา) สร้างรายได้ 122,895.71 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.25 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวใน 12 เมือง ต้องห้าม...พลาด สร้างรายได้ 17,787.08 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.27 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และการท่องเที่ยวใน 12 เมือง ต้องห้าม...พลาด พลัส สร้างรายได้ 15,308.51 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.85 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมานอกจากนี้ การขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 เป็นผลจากการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มวันหยุดต่อเนื่องพิเศษในเดือนพฤษภาคม
สถานการณ์ท่องเที่ยวจากต้นปีถึงปัจจุบัน (31 กรกฎาคม 2559)มีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 1,396,973.71ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.95 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 972,346.26 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.26 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 424,627.45 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.00 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว ไตรมาสที่ 3 ปี 2559(ก.ค.-ก.ย.) คาดว่ามีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 597,018.72 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 393,599.15 ล้านบาท และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 203,419.57 ล้านบาท โดยมีปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ คือ กระแสการท่องเที่ยวตามโครงการ 12 เมือง ต้องห้าม...พลาด + พลัส การเพิ่มวันหยุดพิเศษต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล (low season) และวันหยุดต่อเนื่องในเดือนสิงหาคมนอกจากนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้น คาดว่าในช่วง 9 เดือนของปีนี้ภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสร้างรายได้ 1,220,239.92ล้านบาท และการท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวไทยสร้างรายได้ 628,047.02 ล้านบาทรวมรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 1,848,286.94 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77 ของเป้าหมายรายได้ในปี 2559 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2559มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 33 ล้านคน
สำหรับประเด็นด้านการท่องเที่ยวที่ควรคำนึงถึง เช่น กระแสการท่องเที่ยว “12 เมืองต้องห้าม...พลาดพลัส”การเพิ่มวันหยุดต่อเนื่องพิเศษในเดือนพฤษภาคม ที่การท่องเที่ยวภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าปกติร้อยละ 5กระแสอนุรักษ์และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเริ่มมีผลเป็นรูปธรรมที่พักขนาดเล็กเติบโตสัมพันธ์กับการขยายของเศรษฐกิจแบ่งปันและเทคโนโลยีการตลาดการเปิดให้บริการของสายการบิน Low Cost ระยะไกลมาไทยราคาตั๋วเครื่องบินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้นการตลาดบน Digital Platform ด้านบริการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นการดูแลภาพลักษณ์คนไทยในสายตาลูกค้าหลักเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการลงทุนภาคการท่องเที่ยวใน CLMV ควรได้รับการส่งเสริมต่อเนื่องและการใช้ประโยชน์จากแคมเปญ Visit Asean@50
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวต่อถึงแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม และการเชื่อมโยงรายได้สู่ระดับชุมชนและภาคเกษตร โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Food/Gastronomic Tourism) เนื่องจากอาหารเป็นตัวแทนในการนำเสนอสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นการแสดงออกว่ามาถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นจริง ๆและการรับประทานอาหารพื้นถิ่นเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ อาหารยังเป็นสื่อในการจูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวผ่านการแชร์ในสื่อออนไลน์
สถานการณ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารของโลกจากรายงานของ UNWTO ในปี 2558 การท่องเที่ยวเชิงอาหารสร้างรายได้รวม 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเชิงอาหารมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษตามลำดับ นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญ คือ การเยี่ยมชมไร่องุ่น/ชิมไวน์ การเรียนทำอาหาร และการซื้อรายการท่องเที่ยวอาหาร
สถานการณ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยในปี 2558 มีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอาหารรวม 456,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 282,000 ล้านบาท (นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้จ่ายด้านอาหารสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ จีน อังกฤษ รัสเซีย)และเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวไทย 174,000 ล้านบาท
สินค้าท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยสินค้าท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยมีหลากหลายและเชื่อมโยงสู่ชุมชนและธุรกิจอื่น ๆ โดยสินค้าสำคัญอันดับแรก คือ อาหาร เนื่องจากอาหารไทยหลายชนิดเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมติดอันดับโลกเช่น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย ผัดกะเพรา แกงเผ็ดเป็ดย่าง ต้มข่าไก่ ยำเนื้อ หมูสะเต๊ะ ไก่ผัดเม็ดมะม่วง และพะแนงเนื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ การท่องเที่ยวอาหารยังกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น จากการที่นักท่องเที่ยวได้ทานอาหารแล้วติดใจซื้อกลับไปรับประทานและเป็นของฝาก ซึ่งมีจำหน่ายทุกจังหวัดทั่วประเทศ เชื่อมโยงสู่โรงเรียนสอนทำอาหารนักท่องเที่ยวที่ชอบอาหารไทย อยากเรียนรู้ทำอาหารไทย เพื่อให้สามารถทำอาหารเองได้เมื่อกลับประเทศโรงเรียนสอนทำอาหารจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ปีละ 590 ล้านบาท การท่องเที่ยวเชิงอาหารกระจายรายได้สู่ภาคเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น อาหารใช้ผลผลิตการเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก การเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้และแปรรูปผลผลิตการเกษตรในฟาร์ม เป็นต้น สินค้าของที่ระลึกเกี่ยวกับอาหาร อาทิเครื่องเทศ/เครื่องปรุง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป/ผลไม้ เป็นต้น
งานเทศกาลอาหารของต่างประเทศและของไทยงานเทศกาลอาหารเป็น 1 ใน 5 กิจกรรม ที่นักท่องเที่ยวเชิงอาหารเข้าร่วม โดยงานเทศกาลอาหารในต่างประเทศมีจัดขึ้นทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น งานเทศกาลอาหาร/ไวน์ งานเทศกาลอาหารท้องถิ่น งานเทศกาลอาหาร Street Food เป็นต้น สำหรับงานเทศกาลอาหารในประเทศไทยมีจัดขึ้นทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เช่น งานเทศกาลอาหารถิ่นประเทศไทย จังหวัดชลบุรี งานเทศกาลผลไม้จันทบุรี และที่สำคัญ คือ งานเทศกาลอาหารไทยในต่างประเทศ เช่น งานเทศกาลอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
การแนะนำอาหารไทยโดยคนดังมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารและร้านอาหารที่น่าสนใจในประเทศไทย โดยเฉพาะที่เป็นชาวต่างชาติ สำหรับผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการแนะนำอาหารไทย เช่น เจมี่ โอลิเวอร์ พ่อครัวหนุ่มชาวอังกฤษที่รณรงค์ให้โรงเรียนต่าง ๆ ในอังกฤษเปลี่ยนการบริการอาหารขยะในโรงเรียนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพแทน เช่น แกงไก่ของไทย เป็นต้น มารค์ วีนส์ Food Bloggerชาวอเมริกันที่เดินทางท่องเที่ยวและชิมอาหารทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารที่ลงลึกทุกรายละเอียดและชิมอาหารกว่า 5,000 แห่ง ทั่วโลก
การสื่อสารออนไลน์กับการท่องเที่ยวเชิงอาหารการสื่อสารออนไลน์มีความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เช่น การค้นหาร้านอาหารแนะนำ การค้นหาเส้นทางการ Share ผ่าน Instagram การ Check in ใน Facebook รวมถึง การโปรโมตร้านผ่านเว็บไซต์รีวิวอาหารต่าง ๆ และ Facebook
โอกาสและข้อจำกัดของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทย
• ไทยมีต้นทุนเป็นที่รู้จักของโลกในด้านการเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตร
• การส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์สอดคล้องกับกระแสสนใจอาหารเพื่อสุขภาพ
• ขาดการส่งเสริมร้านอาหารให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จัก
• ขาดการเชื่อมโยงให้เป็นมูลค่าและความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแง่การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว
• จัดงานเทศกาลอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ
• ศึกษาและวางระบบส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับโครงการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก
• ส่งเสริมการเชื่อมโยงอาหารไทยสู่ ASEAN Culinary