ปมการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รอบสอง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ปัจจุบันได้ผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อย มีรายละเอียดขอรับสนับสนุนค่าก่อสร้างจากรัฐ วงเงิน 78,287 ล้านบาท เมื่อเทียบกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC
ที่เปิดเผย ซองการยื่นข้อเสนอฯไว้ตั้งแต่ประมูลรอบแรก(ปี 2563) พบว่า ได้ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ เพียง 9,676 ล้านบาทน้อยกว่าผู้ชนะประมูลถึง 6.8 หมื่นล้านบาท ส่วนต่างดังกล่าวอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ และในทางกลับกันสามารถนำไปลงทุนโครงการรถไฟฟ้าได้อีกหนึ่งเส้นทาง
ย้อนไปช่วงการประมูลสายสีส้มรอบสอง BTSC ได้ร่วมซื้อซองด้วยเช่นกัน แต่พบว่าเงื่อนไขการประมูลเข้มงวด มากกว่ารอบแรก ส่อไปในทางกีดกันการแข่งขัน โดยเฉพาะผู้รับเหมาก่อสร้างช่วงตะวันตก ต้อง เป็นผู้รับเหมาสัญชาติไทยมีผลงานขุดเจาะอุโมงค์โครงการขนาดใหญ่รถไฟฟ้ามาแล้วเท่านั้น ขณะการเดินรถเปิดกว้างทุกสัญชาติ และนำไปสู่การฟ้องศาลปกครองต่อเนื่อง
ขณะการเดินหน้าเพื่อลงนามในสัญญา ประเมินว่า รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯต้องการเดินหน้าให้เร็วที่สุด หากคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟม.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นชอบ และขั้นตอนสุดท้ายคือคณะรัฐมนตรี(ครม.)
เป็นเหตุให้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน BTSC ออกหนังสือด่วนที่สุดถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คัดค้านและไม่ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ตามประกาศเชิญชวนฯและเอกสารการคัดเลือกเอกชนฉบับเดือนพฤษภาคม2565
อ้างถึง1.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่กค.0802.1/879 วันที่18 กุมภาพันธ์2562เสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้นำเรียนคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)
2.รายงานการศึกษาโครงการและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีฉบับวันที่6 กันยายน 2561
3.หนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่นร0505/3580 วันที่30มกราคม 2563 แจ้งมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ประชุมกันเมื่อวันที่28 มกราคม2563
4.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่นร.0903/5วันที่7มกราคม2564แจ้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมติให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาผลการเสนอราคาภายหลังที่กระบวนการเสนอราคาได้เริ่มต้นแล้วโดยมิได้ยกเลิกการเสนอราคาก่อนไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไป
5.หนังสือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่นร.1106/4058 วันที่8กรกฎาคม 2564 ถึงคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราฎรความล่าช้าก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสของผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ4,6284.9 ล้านบาทต่อปี(ณ ปี2568)
นอกจากนี้BTSCยังแนบคำพิพากษาคดีศาลปกครองกลางหมายเลขดำที่2280/2563 คดีหมายเลขแดงที่192/2565ประเด็นการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก ,คำพิพากษาคดีศาลปกครองกลางประเด็นการยกเลิกประกาศเชิญชวนปี2563 ฯลฯ
ทั้งนี้การประมูลสายสีส้มรอบแรกปี2563 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งทุเลาการใช้เกณฑ์ การประมูลใหม่ (เทคนิค 30 ผลตอบแทน และราคา70 คะแนน) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ผ่านความการรับฟังเสียงเอกชน ที่เกี่ยวข้อง
ต่อมาได้มีคำพิพากษาศาลปกครองกลางยืนยันว่าหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาผู้ชนะการประมูลเดิม ตามเอกสารคัดเลือกเอกชนฉบับเดือนกรกฎาคม2563ชอบด้วยกฎหมายรวมถึงมติครม.
ทำให้รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯยกเลิกการประมูลเพราะเห็นว่าเกณฑ์ดังกล่าวใช้ไม่ได้แล้ว การยกเลิกประมูลดังกล่าวมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและBTSCได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพิ่มในคดีล้มประมูลโดยมิชอบ
โครงการสายสีส้มเปิดประมูลครั้งที่สองตามประกาศเชิญชวนฉบับเดือนพฤษภาคม2565 คราวนี้เกณฑ์การประมูลเข้มกว่ารอบแรก มีลักษณะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เลือกปฎบัติไม่เป็นธรรมสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
โดยเฉพาะการออกเอกสารกำหนดขอบเขตและรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้างหรือทีโออาร์(TOR หรือTerms of Reference)มีลักษณะกีดกันการแข่งขันทำให้พันธมิตรที่สนใจเข้าร่วมประมูลสายสีส้มและเคยเข้าร่วมประมูลครั้งแรกไม่สามารถร่วมประมูลได้ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์เอกชนบางรายได้เปรียบเอกชนรายอื่นและเกิดการฟ้องร้องตามมา
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯและรฟม.ดำเนินกระบวนการคัดเลือกจนจบขั้นตอน ทั้งที่มีกรรมการบริษัทรายหนึ่งที่ร่วมแข่งขันในการประมูลครั้งที่สอง ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกขัดต่อคุณสมบัติ โครงการร่วมลงทุนและไม่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติร่วม ลงทุนฯ มาตรา33 ประกอบกับข้อ 3(3) ข้อ4 และข้อ5
ของประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเรื่องลักษณะเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนพ.ศ 2562และแก้ไขเพิ่มเติมแต่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯและ รฟม.กลับปล่อยให้เอกชนดังกล่าวผ่านคุณสมบัติและเป็นคู่เทียบในการประมูลครั้งนี้
โดยวันที่ 12 กันยายน 2565 BTSCได้เปิดหลักฐานต่อหน้าสื่อมวลชนด้วยการเปิดซองข้อเสนอด้านราคาที่เคยเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐในปี2563โดยผลประโยชน์สุทธิ(มูลค่าปัจจุบัน:NPV) ที่BTSC เสนอแก่รัฐเป็นจำนวน-9675.02ล้านบาทแต่ต่างจากเอกชนผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้เกือบ70,000ล้านบาทเป็นต้น