นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายก กิติมศักด์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความสำคัญของตลาดซาอุดีอาระเบียและตลาดตะวันออกกลางว่า ซาอุดีฯเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจและจำนวนประชากรมากที่สุดในกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (GCC) สามารถเป็นประเทศเชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทยไปยังยุโรป เป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคตะวันออกกลาง รองจากตุรกี และGDPของซาอุดีฯ อยู่ที่ประมาณ 7แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยคาดว่าในปี65เศรษฐกิจของซาอุดีฯจะขยายตัวที่ 4.9% จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมันจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง จากการลงทุนที่ขยายตัวนอกจากนี้ ยังมองว่าเศรษฐกิจของซาอุดีฯในปี 66จะยังคงขยายตัวที่ 2.3%
ทั้งนี้สินค้าอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโต (เติบโตตั้งแต่ปี 2564) เช่น ขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม +196 % , กล้วยไม้+87 % , เครื่องดื่ม +68 % , ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง +68% ,ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง +65% อาหารสัตว์เลี้ยง +58 % สินค้ากสิกรรมอื่น ๆ +58% ยางพารา +47% สิ่งปรุงรสอาหาร+28% ผลิตภัณฑ์ข้าว +5% เป็นต้น
สำหรับสินค้าเป้าหมายหลักที่คิดว่าจะทำตลาดในซาอุดีอาระเบียมี 3 หมวด ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหาร เช่น อาหาร ข้าว ไก่สด ผลไม้ เนื้อปลา กาแฟ ขนมจากน้ำตาล อาหารปรุงแต่งจากธัญพืช อาหารสัตว์เลี้ยง ซอสปรุงรส future food อาหารและอาหารแปรรูป อาหารฮาลาล สินค้าเกษตร
สินค้าอุตสาหกรรมประกอบด้วยรถยนต์และอุปกรณ์รถยนต์และชิ้นส่วนยางรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับและภาคบริการ โรงพยาบาลหรือบริการทางการแพทย์โรงแรมและกิจกรรมหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับอานิสงส์ในการส่งออกไปยังซาอุดีฯได้แก่ยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว กลุ่มอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคที่ปัจจุบันยังคงมีการส่งออกไปซาอุฯอยู่เพียงแต่มีจำนวนน้อย ซึ่งเคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการเจาะตลาดตะวันออกกลางและซาอุดีฯ คือ
ดังนั้น ถ้ามีการฟื้นความสัมพันธ์ การส่งออกสินค้าจากไทยจะเพิ่มขึ้น แน่นอน และเป็นตัวช่วยเร่งให้การส่งออกของไทยไปเจาะตลาดประเทศอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วยกลุ่มการลงทุนที่ซาอุดีฯต้องการจากไทย ขณะเดียวกันนักธุรกิจซาอุดีฯก็สนใจร่วมลงทุนในไทยโดยเน้นด้านกิจการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาหาร พลังงาน และเมืองแร่ เป็นต้น
“นักลงทุนไทยควรมีการจัดหาผู้แทนในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยเจรจาช่วยดูเรื่องกฎหมาย กฎระเบียยบ การขนส่ง และ ช่วยกระจายสินค้า โดยควรผู้แทนที่เชื่อใจเพื่อให้เกิดการทำธุรกิจที่ยั่งยืนและควรตั้งราคาจำหน่ายให้ใกล้เคียงกับประเทศที่ส่งสินค้าไปขายในภูมิภาคนี้ เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสิงค์โปร์ เน้นผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ ที่มองหาสินค้าที่มีคุณภาพสูง ควรเป็นสินค้า อาหารพร้อมทานที่มีความสะดวกและง่ายในการรับประทาน เน้นการตลาดออนไลน์เนื่องจากจำนวนประชากรในวัย หนุ่มสาวที่เพิ่มจำนวนขึ้นในกลุ่มประเทศGCC”
นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยควรศึกษากฎระเบียบการส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มประเทศ GCC เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ได้ในระหว่างส่งออกสินค้า เช่น เอกสารและหนังสือรับรองที่ต้องใช้ในการนำเข้าสินค้า ระบบการควบคุมสินค้า อาหารตามระดับความเสี่ยง ระบบการขนส่งสินค้า การสุ่มตัวอย่างสินค้าอาหาร และการติดฉลากสินค้าอาหาร