นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี ) เปิดเผยว่า เวทีเชื่อมสัมพันธภาพธุรกิจครั้งใหญ่ระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจซาอุดิอาระเบีย ( Thai – Saudi Investment Forum)
ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ยกระดับสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตทั้ง 2ประเทศ เมื่อเดือนมกราคม 2565 ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 10 เดือน ทำให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือในทุกมิติ เกิดการต่อยอดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เห็นได้จากมีการเปิดธุรกิจร้านกาแฟ Amazon สาขาแรกในซาอุฯ หลังจากนั้นคาดว่าภายในปี 1 ปี จะสามารถเปิดธุรกิจร้านกาแฟ amazon ในซาอุทั้งหมด 100 สาขา
"ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวซาอุดิอาระเบียเดินทางเข้าไทยในปี 2565 แล้วราว 78,000 คน คาดว่าการเจรจาในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดมูลค่าการลงทุนในปี 2565 อยู่ที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ"
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาทางซาอุดิอาระเบียได้มีการก่อตั้งกระทรวงใหม่ โดยเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบในเรื่องการลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งได้มีการก่อตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ (Public Investment Fund หรือ PIF) ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้จากการค้าขายน้ำมัน
ขณะเดียวกันซาอุฯถือเป็นประเทศที่มีสินค้าหลักคือ น้ำมัน เพียงอย่างเดียว ขณะที่สินค้าอย่าง รถยนต์,อาหาร ฯลฯ เป็นสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด ทำให้มีการตั้งกองทุนและกระทรวงดังกล่าวขึ้นมา เพื่อต้องการให้เกิดการร่วมลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ
นายคณิศ กล่าวต่อว่า ทางซาอุฯมีแผนจะร่วมลงทุนในต่างประเทศหลายธุรกิจ โดยมีความพร้อมที่จะลงทุนในไทย คือ ธุรกิจด้านพลังงาน ,ธุรกิจ health care ,ธุรกิจท่องเที่ยว,ธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ ฯลฯ
เบื้องต้นในเวทีสัมมนาได้มีการพูดคุยธุรกิจหลายด้าน เช่น ธุรกิจการแพทย์,ธุรกิจน้ำมัน,ธุรกิจการก่อสร้างและเมืองใหม่,ธุรกิจปิโตรเคมี,และธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ
ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน ทางซาอุฯมีโครงการ Neom ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ในเมืองใหม่ โดยจะมีการขยายเมืองริยาดในอนาคต เบื้องต้นจะนำร่องในระยะแรกก่อสร้างบ้านราว 400,000 หลัง ฝั่งไทยได้มีความคิดเห็นที่พร้อมก่อสร้างบ้านให้กับโครงการฯ การเจราจาในครั้งนี้ไม่ใช่แค่ซาอุฯจะเข้ามาลงทุนในไทยเพียงอย่างเดียวแต่ไทยจะต้องลงทุนในซาอุฯด้วย
"ขณะนี้ถึงเวลาที่ไทยต้องปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและการค้าใหม่ โดยมีผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ คือ ซาอุฯ "
นอกจากนี้ไทยยังมีธุรกิจด้านเทคโนโลยีไบโอพลาสมา ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าพฤติกรรมการบริโภคของชาวซาอุเป็นผู้ป่วยเบาหวานค่อนข้างเยอะ ทำให้มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยเทคโนโลยีไบโอพลาสมา ซึ่งบริษัทในไทยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างการหารือร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ เพื่อ transfer และพัฒนาเทคโนโลยีของไทยร่วมกับซาอุฯต่อไป