นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงพฤติกรรมการใช้จ่าย ของประชาชนในช่วงฟุตบอล World cup 2022หรือช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2022ว่า คาดว่าจะมีเงินสะพัดจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลในช่วงเทศกาลนี้ราว 18,500 ล้านบาทเป็นการเพิ่มขึ้นในรอบ5ปี นับตั้งแต่ปี2016 และน่าจะมีผลช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส4 ขยายตัว4-4.5% หรือมีเม็ดเงินสะพัดในช่วงปลายปีนี้ประมาณ35,000ล้านบาท ส่งผลให้จีดีพีทั้งปีขยายตัวตามเป้าที่3-3.5%
โดยเม็ดเงินดังกล่าว จะมาจากการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและสังสรรค 15,519.9ล้านบาท ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์รับสัญญาณ2,301.2ล้านบาท และค่าใช่จ่ายอื่นๆอีก1,756.9ล้านบาท และการใช้จ่ายนอกระบบเศรษฐกิจ (พนันบอล) 57,253.9ล้าบาท รวมทั้งสิ้นจะมีเงินหมุนเวียนในระบบ 75,815ล้านบาท
อย่างไรก็ตามขณะนี้ประชาชนกำลังลุ้นกันว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)จะมีการพิจารณาว่าจะนำเม็ดเงิน1,600ล้านบาทมาซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก2022ให้กับประชาชนได้รับชมหรือไม่นั้น ถ้าในกรณที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกก็จะเกิดการจับจ่ายสอยของประชาชนธุรกิจที่ได้อานิสงส์จะเป็นกลุ่มร้านอาหาร ผับบาร์ รวมไปถึงร้านขายอุปกรณ์กีฬา และยังรวมไปถึงสื่อสารมวลชน ยูทูปเบอร์ ที่จะมีการรายงานข่าวสารเกิดการใช้จ่ายในช่วงฟุตบอลโลก แต่หากไม่มีการถ่ายทอดสดก็จะทำให้เงินหายไปในระบบเศรษฐกิจ5,000-10,000ล้านบาท
“ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งประกาศออกมาว่าจะมีการถ่ายทอดสดประชาชนจะได้รับชมหรือไม่เพราะเพื่อที่ภาคธุรกิจจะได้มีการวางแผนในการทำธุรกิจล่วงหน้า ส่วนตัวมองว่าเม็ดเงิน1,600ล้านบาทที่จะต้องจ่ายเพื่อซื้อลิขสิทธิ์มองว่าคุ้มค่าในแง่ของเชิงเศรษฐกิจเพราะเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนมีเม็ดเงินเกิดขึ้น และเป็นการคืนความสุขให้กับประชาชนเชนเดียวกับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ ถ้าถามผมว่าคุ้มค่าหรือไม่ ต้องตอบว่าคุ้มค่า”