ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเสวนา หัวข้อ “เอกชนพลิกเกมรับมือบริบทโลกเปลี่ยน” ในงานสัมมนา “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ว่า ความสัมพันธ์ของจีนกับสหรัฐ แม้จะมีความขัดแย้งกัน แต่ก็ยังมีความย้อนแย้งหลายอย่าง
โดยมิติทางการค้ายังตัดกันไม่ขาด ซึ่งสหรัฐมีการนำเข้าสินค้าจากจีนสูงเป็นอันดับ 1 ขณะที่จีนยังพึ่งพาเทคโนโลยีจากสหรัฐด้วย โดยสหรัฐส่งออกชิปไปจีนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 48% ต่อปี ในช่วงปี 2560-2564 เป็นต้น
ขณะที่ในมิติการลงทุน ยังเป็นภาพของการ ตัดบัวยังเหลือใย โดยโมเดลการลงทุนของสหรัฐ และชาติพันธมิตรที่ยังคงฐานการผลิตหลักไว้ที่จีน แม้ย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังประเทศอื่น
ส่วนในด้านการเงินนั้น จีนก็ซุกเงินดอลลาร์ไว้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น แม้จะมีความขัดแย้งกันอย่างไรก็ไม่สามารถตัดสัมพันธภาพกันได้อย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ หากมองในมุมของผู้ประกอบการนั้น เป็นการบริหารความเสี่ยง โดยหากพูดถึงเรื่องค่าเงินในโลก ฐานะที่ EXIM BANK แนะนำลูกค้า จะบอกว่าในไตรมาส 1 ของปีนี้ ให้ซื้อของให้เยอะ เพราะเป็นช่วงที่ค่าเงินบาทแข็ง โดยจะเห็นค่าเงินอยู่ที่ระดับ 32.50-33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ไม่มีสมการใดที่เป็นจุดคงที่ในการผันผวนของค่าเงิน ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ต้องบริหารความเสี่ยงตัวเราเอง และขอเปรียบสมการ 3 กิ๊ก คือ
ทั้งนี้ การใช้สูตรลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment:FDI) อย่างเดียวใช้ไม่ได้แล้ว ปัจจุบันต้องผลักทุนไทยไปนอกประเทศ จะเห็นได้จากธนาคารร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โปรโมทกลุ่มธุรกิจไทยไปโตนอกประเทศ
“ทุกบริษัทใหญ่ไม่มีฐานการผลิตเพียงแค่ในไทย แต่ไปแตกสาขานอกประเทศ ต่างจากในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาเน้นโปรโมทเงินลงทุนเข้าไทย ขณะนี้ ในทุก 1 บาท สามารถสร้างซัพพลายเออร์ได้ 2 บาท เป็นต้น การทำธุรกิจต่อจากนี้จะบาลานซ์ ทั้งการดึงทุนต่างชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างอีโคซิสเต็มอยู่ในประเทศ”
นอกจากนี้ ยังเสนอแนะให้ให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาฝีมือเป็นมือที่ 3 อย่างมืออาชีพ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพราะนักธุรกิจไทยคงไม่ไปในเซมิคอนดักเตอร์ หรือ ไฮเทคมาก แต่ควรนำสิ่งที่ไทยเก่งในการผลิต เช่น ทีวี เตารีด ไมโครเวฟ หรือ ตู้เย็น เป็นต้น
“วันนี้สหรัฐฯ ไม่สั่งสินค้าจากจีน ดังนั้น ไทยต้องแย่งตลาด หรือตลาดเพื่อนสหรัฐฯ ที่ไม่อย่ากยุ่งกับจีน ไทยจึงต้องไปเป็นมือที่ 3 อย่างมีชั้นเชิงและอ่อยให้เป็น ในขณะที่บ้านใหญ่ บ้าเล็กทะเลาะกันอยู่ ผู้ประกอยการไทยต้องปรับโมเดลธุรกิจ”
ทั้งนี้ สิ่งที่กระทรวงการคลังทำมาตลอด คือ การทรานฟอร์เมชั่นสินเชื่อ โดยกว่า 2 ปี เอสเอ็มอีไทยสามารถจับต้องสินเชื่อได้ 2% ในอัตราเดียวกับเจ้าสัว โดยมีข้อแม้ว่าต้องซื้อเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
"ปัจจุบันมีเอสเอ็มอีกว่า 5,000 ราย สามารถปรับปรุงระบบและกำลังการผลิต เปลี่ยนหลังคาโรงงานเป็นโซลาร์ รูฟ เพราะด้วยเทรนด์พลังงานสะอาด ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัว"
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาปัญหาคนตัวใหญ่ดูแลคนตัวเล็กเพื่อความยั่งยืนไม่ตรงประเด็น จะเห็นว่าเจ้าสัวจูงเอสเอ็มอีเป็นเพียงภาพการจูงมือมาทำ CSR ซึ่งขณะนี้ สามารถแก้ปัญหาคือ เจ้าสัวสามารถการันตีการสั่งซื้อสินค้าจากเอสเอ็มอีได้แล้ว และเอสเอ็มอีก็ไม่ต้องเอาโรงงานมาจำนองกับแบงก์ เพียงเอาใบสั่งซื้อมาการันตี
“ผู้ประกอบการไทยต้องเข้าใจธุรกิจตัวเอง เติมความรู้ก่อนเติมเงิน ความรู้การบริหารความเสี่ยงจากค่าเงิน การชำระเงิน เป็นต้น รู้จักเติมโอกาสให้กับตัวเอง สามารถมีคู่ค้ามากกว่าคู่ค้าเดียว หรือตลาดเดียว เพราะหากเกิดดิสรัปชั่นตลาดนั้นก็พัง เรียนรู้การสร้างวงเงินต่างๆ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”ดร.รักษ์กล่าวทิ้งท้าย