เช็คสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่เพิ่ม หลังปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงใหม่

13 ก.พ. 2566 | 22:00 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.พ. 2566 | 02:18 น.

เช็คสิทธิประโยชน์ประกันสังคม หลังกระทรวงแรงงาน เตรียมปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูง ที่ใช้เป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมใหม่ ผู้ประกันตน ม.33 ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร

จากรณี กระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ... ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th หรือ คลิกที่นี่ 

ร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จะกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยจะปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นสูงสุด 23,000 บาท ตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไป

ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม ได้ไขข้อสงสัยในหลายประเด็น ทั้งที่มาของการปรับเพดานค่าจ้าง จนถึงสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น เมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง

เริ่มจากประเด็นแรก ที่มาของการปรับเพดานค่าจ้างเป็น 17,500 - 23,000 บาท 

1.หลักการสากลในการกำหนดเพดานค่าจ้าง

ค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนทุกคน X 1.25 และควรปรับทุกปี

2.ปี 2565 ค่าจ้างเฉลี่ยผู้ประกันตน ม.33 = 18,400 บาท

ดังนั้นควรปรับเพดานค่าจ้างเป็น 23,000 บาท

3.การปรับเพดานค่าจ้าง 1.25 เท่า ในทันทีอาจส่งผลกระทบ 

เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้มีการปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงมากว่า 30 ปี จึงปรับแบบขั้นบันได

  • 2567-2569 = 17,500 บาท (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ของ 23,000 บาท)
  • 2570-2572 = 20,000 บาท
  • 2573 เป็นต้นไป = 23,000 บาท

เช็คสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่เพิ่ม หลังปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงใหม่

เหตุผลความจำเป็นในการปรับเพดานค่าจ้าง

  • เพื่อให้สิทธิประโยชน์(เงินทดแทนการขาดรายได้)พอเพียงกับการครองชีพในปัจจุบันของผู้ประกันตน
  • เพื่อกระจายรายได้ จากผู้มีรายได้สูง ไปสู่ผู้มีรายได้น้อย
  • เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์

เงินสมทบ กรณีเพดานขั้นสูง

  • เพดานค่าจ้าง 15,000 บาท(ปัจจุบัน) ลูกจ้าง 5% (750 บาท) นายจ้าง 5% (750 บาท) รัฐบาล 2.75% (413 บาท)
  • เพดานค่าจ้าง 17,500 บาท(2567-2572) ลูกจ้าง 5% (875 บาท) นายจ้าง 5% (875 บาท) รัฐบาล 2.75% (481 บาท)
  • เพดานค่าจ้าง 20,000 บาท(2569-2572) ลูกจ้าง 5% (10,000 บาท) นายจ้าง 5% (10,000 บาท) รัฐบาล 2.75% (550 บาท)
  • เพดานค่าจ้าง 23,000 บาท(2573 เป็นต้นไป) ลูกจ้าง 5% (1,150 บาท) นายจ้าง 5% (1,150 บาท) รัฐบาล 2.75% (633 บาท)

เช็คสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่เพิ่ม หลังปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงใหม่

ผู้ประกันที่ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท ได้รับผลกระทบหรือไม่

ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ 5% ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงงานต่อสำนักงานประกันสังคม เช่น

กรณีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบเดือนละ 500 บาท(10,000 x 5% = 500)

*ผู้ประกันตนที่มีค่าจ้าง 15,000 ขึ้นไป มีประมาณ 37% ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องส่งเงินสมทบเพิ่มจากการปรับเพดาฯค่าจ้าง แต่จ่ายอัตราเงินสมทบ 5% เท่าเดิม

สิทธิประโชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง

เจ็บป่วย

  • ปัจจุบัน(15,000 บาท) 250 บาทต่อวัน
  • ปี 2567-2569(17,500 บาท) 292 บาทต่อวัน
  • ปี 2570-2572(20,000 บาท)333 บาทต่อวัน
  • ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท) 383 บาทต่อวัน

ว่างงาน

  • ปัจจุบัน(15,000 บาท) 7,500 บาทต่อเดือน
  • ปี 2567-2569(17,500 บาท) 8,750 บาทต่อเดือน
  • ปี 2570-2572(20,000 บาท) 10,000 บาทต่อเดือน
  • ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท) 11,500 บาทต่อเดือน

บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 15 ปี)*

  • ปัจจุบัน(15,000 บาท) 3,000 บาทต่อเดือน
  • ปี 2567-2569(17,500 บาท)3,500 บาทต่อเดือน
  • ปี 2570-2572(20,000 บาท) 4,000 บาทต่อเดือน
  • ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท 4,600 บาทต่อเดือน

บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 25 ปี)*

  • ปัจจุบัน(15,000 บาท) 5,250 บาทต่อเดือน
  • ปี 2567-2569(17,500 บาท) 6,125 บาทต่อเดือน
  • ปี 2570-2572(20,000 บาท)7,000 บาทต่อเดือน
  • ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท)8,050 บาทต่อเดือน

*คำนวณจากสมมติฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณอายุเท่ากับเพดานค่าจ้างตามตาราง

เช็คสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่เพิ่ม หลังปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงใหม่

ที่มา :  สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน