นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทรน์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เริ่มหันมาสนใจในเรื่องของนวัตกรรม สินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ และสินค้าที่ผลิตมาจากBCG ทั้งนี้อุตสาหกรรม BCG ของไทยที่มีความพร้อมด้วยศักยภาพด้านสินค้าอินทรีย์หลากหลายประเภท มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับจากนานาชาติทั่วโลก รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม BCG ของไทยยังมีความสามารถ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมสินค้า และมาตรฐานใหม่ ๆ จึงสามารถที่จะก้าวออกสู่ตลาดโลกได้อย่างภาคภูมิ
ดังนั้นเพื่อยกระดับการผลิตของสินค้าของไทยสินค้าท้องถิ่นให้เข้มแข็งสามารถแข็งขันได้ทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้มีโครงการ Local+ (Plus)เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ซึ่งต้องยอมรับว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเร็วมาก ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับตัว และให้ทันกับเทรน์ตลาด เพราะแม้ว่าจะมีดีมานด์ในตลาพดแต่คามต้องการไม่ต้องการ การผลิตสินค้าออกมาก้ตจะไม่ตอบสนองต่อกำลังซื้อ ดังนั้นโครงการ Local Plus ที่กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้มีช่องทางมากขึ้น
โดยจะคัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการ2กลุ่มคือกลุ่มที่มีความพร้อม กับกลุ่มที่ยังไม่มีความพร้อม โดยในปีแรกกระทรวงจะเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความพร้อมก่อนเพื่อเป็นการช่วยขยายช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น โดยในเฟสแรกจะเน้นกลุ่มสินค้าที่มาจากBCG สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ เช่น สินค้าGI และกลุ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแล้ว500ราย โดยจะคัดให้เหลือ200รายเพื่อนำมาจัดโรดโชว์ในงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล Local Plusที่จะจัดในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ และจัดตามภูมิภาคอีก4ครั้งคือ ที่งจังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี ตรังและสมุทรปราการ
“สินค้าที่น่าสนใจที่เข้าตาในตอนนี้มีหลากหลาย เช่น ตาปีสยาม ซึ่งเป็นกระเป๋าที่ผลิตจากต้นกล้วย จากราชบุรี ศิลาดล เป็นสินค้าอัตลักษณ์ จากเชียงใหม่ เป็นต้น แต่ทั้งนี้สินค้าบางอย่างอาจจะมาจากสินคต้าโอทอปหรือาสินค้าGI แต่คณะกรรมจะคัดเลือกสินค้าที่มาจาก3กลุ่ม คือBCG นวัตกรรมและอัตลักษณ์ก่อนเป็นอันดับแรก”
ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการที่สินค้าแต่ยังไม่พร้อม กระทรวงก็จะจัดอบรมให้ความรู้ในการทำตลาด พัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ตลาดก่อนหลังจากนั้นก็จะพามาออกงาน ซึ่งกลุ่มนี้กระทรวงจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อให้สินค้าท้องถิ่นสามารถขยายตลาดและเพิ่มมูลค่ากับสินค้าด้วย ทั้งกระทรวงตั้งเป้าว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างยอดขายให้กับสินค้าท้องถิ่นในปีแรกไม่ต่ำกว่า700ล้านบาท