นายมานิต จตุจริยพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยในงาน "อนาคตประเทศไทย : SME จะไปทางไหน?" ช่วงเสวนา ว่า จะต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในเรื่องของ BCG หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ที่ผสมผสานการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านสังคม เศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศเช่น กลุ่มประเทศ EU สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม เรื่องของรคาร์บอนเครดิตในการเลือกซื้อสินค้าได้
"สสว.พยายามช่วยผลักดัน ส่งเสริมสนับสนุนเอสเอ็มอีเรื่องดังกล่าวมากขึ้น โดยเรื่อง BCG เป็นสิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ทำมาหลายปี ดังนัน จึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเอสเอ็มอีในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สามารถแงขันได้ใสนตลาดโลก หรือเรียกว่าเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าให้มีมากขึ้น"
อย่างไรก็ดี ปีนี้ สสว. มุ่งเน้นเรื่องการให้เอสอ็มอีได้ตระหนักรู้เรื่องของ BCG มากขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าทำแล้วดี และมีประโยชน์อย่างไร โดยสร้างนักพัฒนา BCG ขึ้นมา 500 ราย เพื่อผลักดันเอสเอ็มอีให้กลายเป็น "SME BCG"
"การที่ สสว. ต้องสร้างนักพัฒนา BCG ขึ้นมา ก็เพื่อต้องการให้เรื่องดังกล่าวเป็นรูปธรรมเร็วมากยิ่งขึ้น โดยมองว่าหากปล่อยให้เอสเอ็มอีเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาด้วยตนเองอาจจะจต้องใช้เวลานาน และอาจทำให้สูญเสียโอกาสทางการค้าได้"
สอดคล้องกับความคิดเห็นของนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ซึ่งระบุว่า หนทางรอดของเอสเอ็มอีจะต้องมุ่งเน้นเรื่องของ "BCG" ให้มากขึ้น โดยจะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายลดการพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ และหันมาให้ความสำคัญกับการใช้สินค้าในประเทศ หรือพึ่งพาตนเอง
โดยการกำหนดนโยบายจะต้องให้ความสำคัญกับการใช้สินค้าของเอสเอ็มอีในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า ไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะขาดดุล เพราะสามารถสร้างปัจจัยการผลิตได้เอง
"ที่ผ่านมาเมื่อเกิดวิกฤติกับเศรษฐกิจโลก หรือสงคราม ไทยเองก็ต้องประสบปัญหาเรื่องของการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เสมือนเป็นการยืมจมูกคนอื่นหายใจมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นวันนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองด้วยสินค้าของเอสเอ็มอีในประเทศ"
อย่างไรก็ดี ช่วงที่ผ่านมาสมาพันธ์ได้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยในลักษณะที่เรียกว่าเพื่อนช่วยเพื่อนในยามวิกฤติ ทั้งการมีบทบาทในการช่วยเชื่อมโยงความรู้นวัตกรรม การช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับเอสเอ็มอีในการส่งเสริมเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถมีช่องทางให้ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ
ขณะที่ในช่วงที่เกิดโควิดแพร่ระบาด ยังมีหลักสูตรการอบรมออนไลน์ให้กับเอสเอ็มอี ซึ่งดำเนินการร่วมกับธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D BANK และ สสว. เป็นต้น
อีกทั้งยังทำโครงการไปถึงในระดับชุมชน ให้สามารถมีองค์ความรู้ในการค้าขายในชุมชน ไม่ถูกกระแสการค้าสมัยใหม่กลืนกิน ส่วนกลุ่มเปราะบางสมาพันธ์ได้ไปช่วยสร้างอาชีพในเรือนจำ ให้มีงานมีเงิน ไม่ให้กลับเข้าไปอีก
นอกจากนี้ยังทำเรื่องการหาแหล่งทุนต้นทุนต่ำร่วมกับ SME D BANK ,บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และธนาคาออมสิน เป็นต้น เพื่อช่วยรายย่อย รวมถึงในช่วงที่ผลผลิตทางการเกษตรเกิดภาวะล้นตลาด สมาพนธ์ก้ได้เข้าไปช่วยในลักษณะของการจับคู่ธุรกิจ เพื่อให้ผลผลิตสามารถเข้าสู่โรงงานในเครือข่ายเอสเอ็มอีได้