พาณิชย์ดันสินค้าเกษตรนวัตกกรรมบุกตลาดโลก

27 ก.พ. 2566 | 05:27 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.พ. 2566 | 05:34 น.

พาณิชย์เดินหน้าดันสินค้าเกษตรนวัตกกรรมบุกตลาดโลก เตรียมขนสินค้าไทย-ข้าวไทยโปรโมตงานสินค้านานาชาติที่ ญี่ปุ่น จีน ดูไบ ออสเตรเลีย

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เร่งส่งเสริมและผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงการยกระดับสินค้าเกษตรนวัตกรรมต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้อย่างกว้างขวางและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นงานประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลก ปี 2566 (World Tapioca Conference หรือ WTC 2023) งาน BIOFACH 2023 

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

หรือแม้แต่งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญและใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก และล่าสุดงานแสดงสินค้า Gulfood 2023 ระหว่างวันที่ 20 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยกรมฯ นำผู้ประกอบการค้าข้าวไทยจำนวน 14 ราย

เข้าร่วมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายใต้ Thailand Pavilion ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของข้าวไทยควบคู่กับเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยเป็นต้น

พาณิชย์ดันสินค้าเกษตรนวัตกกรรมบุกตลาดโลก

นอกจากนี้ กรมฯ มีแผนที่จะเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติระดับโลกอีก ได้แก่ งาน Foodex Japan 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น งาน Canton Fair 2023 ณ เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน งาน The 20th China-ASEAN Expo (CAEXPO) ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน งาน Fine Food Australia 2023 ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย และงาน Beauty World Middle East 2023 ณ นครดูไบ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์

พาณิชย์ดันสินค้าเกษตรนวัตกกรรมบุกตลาดโลก

 ทั้งนี้ สถิติการส่งออกข้าวเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 14,277.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 78.76% (เดือนมกราคม 2565 มีมูลค่า 7,986.78 ล้านบาท)

ส่วนการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self - Certification) กรมฯเร่งส่งเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการในเรื่อง การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) ซึ่งการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ผู้ส่งออกสามารถรับรองตนเองว่าสินค้าของตนนั้น ทำได้ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งการรับรองตนเองนี้ สามารถรับรองตนเองลงในเอกสารทางการค้าได้

พาณิชย์ดันสินค้าเกษตรนวัตกกรรมบุกตลาดโลก

ปัจจุบัน กรมฯ ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนระบบ Self-Certification จำนวน 3 ระบบ ได้แก่ การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Wide Self-Certification: AWSC)  การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในการส่งออกไปสมาพันธรัฐสวิสและราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Registered Exporter System: REX) และ การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

พาณิชย์ดันสินค้าเกษตรนวัตกกรรมบุกตลาดโลก

นอกจากนี้การค้าชายแดนและผ่านแดน ผลักดันการเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม เพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีจุดผ่านแดนเปิดเพิ่ม ส่งผลให้ ณ ปัจจุบันมีจุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิดแล้ว 87 แห่ง จากทั้งหมด 97 แห่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิด 74 แห่ง

ด้านมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD)  ยืนยันว่าการทบทวนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ทตอ.) มีความโปร่งใส และเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการของผู้มีส่วนได้เสีย คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ