ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) ในเดือนมิ.ย.2566 เท่ากับ 107.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 107.58 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ที่ 0.23% ชะลอตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในหมวดอาหาร
โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์และเครื่องประกอบอาหารที่ราคาปรับลดลง และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับฐานราคาเดือนมิถุนายน 2565 ที่ใช้คำนวณ "เงินเฟ้อ" อยู่ระดับสูง เฉลี่ย 6 เดือนแรก (ม.ค. – มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อสูงขึ้น2.49%
ทั้งนี้เงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆน่าจะเห็นชัดในช่วงกลางปีถึงปลายปี ส่วนเงินเฟ้อทั้งปีล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ปรับเป้าลงเหลือ1-2%ค่ากลาง1.5%
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)ได้รวบรวบภาวะเงินเฟ้อรายประเทศจำนวน134ประเทศ พบว่า ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำอยู่อันดับที่6จาก134ประเทศ โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุด 10 ประเทศ ประกอบด้วย เวเนซุเอลา อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่429% ,เลบานอน อยู่ที่260% ,อาร์เจนตินา อยู่ที่114% ,ซิมบับเว อยู่ที่86.5% ,ซูซินาเม อยู่ที่64.6% ,อิหร่าน อยู่ที่54.6% ,กานา อยู่ที่42.4% ,ตุรกี อยู่ที่39.59%, ลาวอยู่ที่38.86% และปากีสถานอยู่ที่38%
ส่วน10 อันแรกที่เงินเฟ้อต่ำสุด ประกอบด้วย เซเซลส์ เงินเฟ้ออยู่ที่-1.02% ,บูร์กินาฟาโซ อยู่ที่-0.3% ,จีน อยู่ที่0.2 % ,ไนเจอร์ อยู่ที่0.2%, ปานามา อยู่ที่0.42% ,ไทย อยู่ที่0.53% ,ฟิจิ อยู่ที่0.8%, คอสตาริกา อยู่ที่0.88 % ,มาเก๊า อยู่ที่0.9% และโอมาน อยู่ที่ 0.91%
แต่หากเทียบเฉพาะประเทศในอาเซียนด้วยกันเอง พบว่าเงินเฟ้อของไทยต่ำสุดในอาเซียน ในขณะที่อันดับสองคือเวียดนาม มีเงินเฟ้อที่2.43% รองลงมาเป็นมาเลเซียที่มีอันตาเงินเฟ้ออยู่ที่2.7% อินโดนีเซีย มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่4% สิงคโปร์ เงินเฟ้ออยู่ที่5.1% ฟิลิปปินส์มีอัตราเงินเฟ้อที่6.1% และลาวที่ยังมีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในอาเซียนคือ 38.86%
ในขณะที่ "สหรัฐฯ" มีอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงขึ้นในระดับที่ชะลอตัวที่4% เนื่องจากราคาอาหาร ที่อยู่อาศัยและบริการขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ราคาพลังงานและรถมือสองหดตัวลงต่อเนื่องทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 64 และการปรับขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ เช่น หมวดอาหาร หมวดที่ไม่ใช่อาหาร (และค่าไฟฟ้า
โดยมาตรการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องเช่นธนาคารกลางมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในระดับ 5.0 - 5.25% หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 10ครั้งง โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก2 ครั้งในปีนี และจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงในปี 2567
"สหราชอาณาจักร" เงินเฟ้อ (CPI) เดือนพฤษภาคมสูงขึ้น 8.7% และเงินเฟ้อ (CPIH) สูงขึ้น7.9% สาเหตุมาจากราคาพลังงานและอาหารและเครื่องดื่มที่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และคาดว่าผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว
ส่วนการปรับขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ เช่น หมวดพลังงาน อาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่าประกัน โดยมาตรการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องเช่น ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ไปสู่ระดับ 5.0% เป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 13ติดต่อกัน และสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 บริษัทอังกฤษเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างเอกชนเฉลี่ยประมาณ 5.8% ขณะที่ค่าจ้างพนักงานภาครัฐเพิ่มขึ้นประมาณ 5.0%รวมถึงภาครัฐมีมาตรการตรึงค่าแก๊สและค่าไฟฟ้า ไปจนถึงเดือน มิ.ย. 66
หรือแม้แต่"อินเดีย"ที่มีจำนวนประชากรมากมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเช่นกันคือ4.25% สาเหตุจากราคาเครื่องนุ่งห่ม พลังงานและที่อยู่อาศัยที่ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด เช่น หมวดเสื้อผ้าและรองเท้า หมวดที่อยู่อาศัย หมวดเชื้อเพลิงและแสงสว่าง และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม
แนวโน้ม "อัตราเงินเฟ้อ" ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีแนวโน้มทรงตัวและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ และอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้ง ราคาอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ที่คาดว่าจะลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิด
โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูป มีแนวโน้มสูงขึ้นจากอิทธิพลของภัยแล้ง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งของโลก แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในหลายภูมิภาค และมาตรการรัฐต่าง ๆ รวมทั้งภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่คาด ยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดได้