ซันโทรี่ เบเวอเรจฯ  ขยายผล ‘รักษ์นํ้ามิตซุยกุ’  สู่ระดับประเทศ

13 เม.ย. 2566 | 07:03 น.

ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด สานต่อ “โครงการรักษ์น้ำมิตซุยกุ” ร่วมกับ “กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม” และ “ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา EEC” พัฒนาทักษะความรู้ด้านน้ำให้เยาวชน ทั้งประโยชน์และการบริหารจัดการน้ำ 4 จังหวัด 4 ภูมิภาค

ณัฐณิชา วรวรรณเศรษฐ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายสนับสนุนการบริหารงานในองค์กร 
ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทยและอินโดไชน่า
กล่าวว่า บริษัทฯ เดินหน้า “โครงการรักษ์นํ้ามิตซุยกุ” ปีที่ 3 โดยร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา (EEC) ผนึกกำลังส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์น้ำ และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติให้กับเยาวชน 

ณัฐณิชา วรวรรณเศรษฐ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายสนับสนุนการบริหารงานในองค์กร  ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทยและอินโดไชน่า

 ซันโทรี่ กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการดูแลและอนุรักษ์น้ำ ให้การสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับน้ำในระดับสากล รวมถึงกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ โดยยึดหลักปรัชญาว่าด้วยการรักษาน้ำให้ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Growing for Good” เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน การดูแลและอนุรักษ์น้ำ จึงถือเป็นหนึ่งพันธกิจสำคัญของซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด จนเกิดเป็นโครงการรักษ์น้ำมิตซุยกุ ตั้งแต่ต้นปี 2564 
 

ซันโทรี่ เบเวอเรจฯ  ขยายผล ‘รักษ์นํ้ามิตซุยกุ’  สู่ระดับประเทศ

ปีนี้ ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย ทำงานร่วมกับศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อขยายผลของโครงการรักษ์น้ำ สู่ต้นแบบกระบวนการเรียนรู้จากระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ ใน 4 จังหวัด 4 ภูมิภาค ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดเชียงราย พื้นที่กลางน้ำ จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ปลายน้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ทะเล ในจังหวัดกระบี่

 

 

 
“อเล็กซานเดอร์ ไซมอน เรนเดลล์” ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา (EEC) กล่าวว่า โครงการรักษ์น้ำมิตซุยกุ เป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่อง 3 ปี ปีแรก เป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะเมล็ดพันธุ์ สร้างแรงบันดาลใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและน้ำในพื้นที่ ปี 2567 คือการขยายเมล็ด ด้วยการเพิ่มจำนวนคน และสร้างการรับรู้ที่เพิ่มขึ้น

“อเล็กซานเดอร์ ไซมอน เรนเดลล์” ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา (EEC)

และปี 2568 เป็นปีแห่งการปลูกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นการนำต้นแบบการเรียนรู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมและน้ำให้ได้กว้างและมากที่สุด รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,878 วันที่ 13 - 15 เมษายน พ.ศ. 2566