ไม่นานมานี้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ “อัตราเงินเฟ้อ” ของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายน 2566 เท่ากับ 107.96 สูงขึ้น 2.67% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 โดยเป็นผลผลมาจากราคาน้ำมัน-อาหาร ปรับตัวลดลง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : “เงินเฟ้อไทย” ต่ำที่สุดในอาเซียน สนค. มั่นใจทั้งปีโต 2.2%
ทั้งนี้หากเทียบ “อัตราเงินเฟ้อ” ทั่วทั้งโลกแล้ว ตัวเลขของไทยถือว่าเป้นตัวเลขที่สูงหรือต่ำมากแค่ไหน ฐานเศรษฐกิจ ขอรวบรวมข้อมูลเงินเฟ้อของแต่ละประเทศมารายงานให้ทราบ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก ทั้งฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย สรุปได้ดังนี้
อัตราเงินเฟ้อทั่วโลก ล่าสุด 2566
สหรัฐอเมริกา : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 5%
ยูโรโซน : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 6.9%
สหราชอาณาจักร : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 10.1%
ญี่ปุ่น : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 3.3%
จีน : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 0.7%
ฮ่องกง : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 1.6%
เกาหลีใต้ : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 4.2%
ไต้หวัน : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 2.4%
อินเดีย : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 1.3%
สิงคโปร์ : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 5.5%
อินโดนีเซีย : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 5%
มาเลเซีย : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 3.4%
ฟิลิปปินส์ : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 7.6%
เวียดนาม : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 3.4%
ออสเตรเลีย : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 6.4%
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง