หอการค้าฯเผยแรงงานต่างด้าวถูกกม.เพิ่มขึ้น หลังกรมแรงงานเร่งปลดล็อก MOU

30 พ.ค. 2566 | 17:30 น.
อัปเดตล่าสุด :30 พ.ค. 2566 | 23:04 น.

หอการค้าไทย เผย แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายเพิ่มขึ้นหลังกรมแรงงานมีMOUแรงงาน ต่างด้าว 3 สัญชาติ และแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ รองรับการฟื้นฟูประเทศ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจากนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูและ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งต้องยอมรับว่าฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต้องอาศัยกำลังแรงงานเป็นปัจจัย การผลิตและเป็นทุนมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาในทุกระดับ แต่ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหา เชิงโครงสร้างและขาดแคลนแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอย่างรุนแรงมาก

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคธุรกิจท่องเที่ยว และบริการ ภาคธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และผู้ประกอบการ SMEs ยังประสบปัญหาและมีความต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อรองรับการขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน

โดยกรมการจัดหางาน ในการเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว MOU ที่ไม่ สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและการตรวจลงตราได้ทัน จำนวนรวม กว่า 3-4 แสนคน ที่จะประสบปัญหามีสถานะเป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายนั้น จากที่กล่าวมาเบื้องต้น เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่ กระทรวงแรงงานเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จำนวน 2 กลุ่ม คือ แรงงาน ต่างด้าว MOU 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) และแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม)

 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งไม่สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและการตรวจลงตราได้ทันภายใน วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ให้สามารถทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรได้ถึงเดือนกรกฎาคม 2566

ซึ่งต้อง ยอมรับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ตรงเป้าหมาย ลดปัญหาการขาด แคลนแรงงานโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรืองาน 3D และลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ผู้ประกอบการและลูกจ้างในสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจได้

“หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้า ที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณรัฐบาล กระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน และหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้มีมาตรการเชิงรุกต่างๆ ในการบริหารจัดการแรงงานต่าง ด้าวของประเทศไทย และแก้ไขปัญหาการแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น”