นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยใยงานสัมมนา Innovation Keeping the World :นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน?ในช่วงกติกาการค้าโลกใหม่ ไทยรับมืออย่างไร? ว่า ปัจจุบันการค้าขายของไทยไม่ได้สะดวก ประเทศคู่ค้าต่างกำหนดมาตรการออกมา ซึ่งไทยเองก็ต้องทำตามกฎกติกาที่ประเทศเหล่านั้นกำหนด เช่นมาตรการสุขอนามัย คุณภาพมาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะสุขอนามัยไทยเองก็ยอมรับได้เพราะต้องการอัปเกรดสินค้า ซึ่งที่ผ่านมาก็มีมาตรการแปลกๆออกมา เช่น สวัดิภาพสัตว์ จนไปถึงมาตรการด้านแรงงาน การค้ามนุษย์ เข้ามาเกี่ยว
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไทยเองก็ปฎิบัติตามกฎกติกาของประเทศที่ไทยทำการค้าด้วย แม้ว่าช่วงแรกจะเป็นอุปสรรคต่อการค้า ซึ่งสิ่งที่ประเทศคู่ค้าออกกฎกติกามาก้เพื่อความสวยหรูแต่ในความเป็นจริงก็คือการกีดกันทางการค้าเข้ามาด้วย ถามว่าเป็นผลดีกับไทยหรือไม่ ก็แน่นอนว่าช่วงแรกอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าการขาย แต่ผู้ประกอบการไทยก็มีการปรับตัว
แต่สิ่งหนึ่งที่กำลังท้าทายความสามารถของไทยคือ กฎกติกาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีการพูดกันมานานแล้ว แต่ก็มีกฎเพิ่มมากขึ้น หลายหลายมากขึ้นโดยเฉพาะมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการค้า ซึ่ง10ประเทศที่มีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น ยุโรป สหรัฐ ออสเตรเลีย จีน แคนาดา ญี่ปุ่น บราซิล เกาหลีใต้ จีนไทเป และนิวซีแลนด์ ซึ่งยุโรป สหรัฐและออสเตรเลียเป็นประเทศที่ออกมาตรการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่ถ้ามองให้แคบลงไปมาตรการต่างๆจะต้องไม่เลือกปฎิบัติ และต้องไม่นำมาเป็นเรื่องของการกีดกันทางการค้าเพราะต้องคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละประเทศด้วยว่าไม่สามารถใช้มาตรฐานเดียวกันได้ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงพาณิชย์เองมีหน้าที่ต้องเข้าไปดูซึ่งก็มีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นผุ้เข้าไปเจรจาโต้แย้ง และชี้แจงต่อไป
อย่างไรก็ตามกฎกติการะหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งองค์การกาค้าโลก(WTO)ระบุห้ามเลือกปฎิบัติและห้ามจำกัดการส่งออกและนำเข้า ต้องใช้มาตรการสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศๆอย่างเท่าเทียมกันทุกหประเทศ รวมถึงสินค้าที่ผลิตในประเทศด้วย
และต้องอนุญาตให้ใช้มาตรการเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสาธารณะ เช่นเพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน สัตว์ และพืชและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ใช้มาตรการในลักษณะที่เป็นการเลือกปฎิบัติตามอำเภอใจหรืออย่างไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้ตัวอย่างมาตรการที่กำลังเป็นที่จับตาทั่วโลกคือมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนหรือCBAM ของสหภาพยุโรป(EU) ที่บังคับใช้กับ6กลุ่มสินค้า คือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้าและไฮโดรเจน และแน่นอนว่าในอนาคตอาจจะมีการขยายสินค้าขึ้นอีก ซึ่งไทยเองต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะวันที่1ต.ค.66 จะเริ่มมีผลบังคับใช้ผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลการปล่อยคาร์บอน และในวันที่1ม.ค.69 จะเริ่มบังคับให้ผู้นำเข้าต้องซื้อใบรับรองCBAM ตามปริมาณการปล่อยคาร์บอน
อย่างไรก็ตามในส่วนของภาคธรกิจไทยต้องมีการเตรียมตัวและปรับตัวของภาคธุรกิจตามแนวทางการรักษ์โลก แม้ว่าช่วงแรกอาจจะมีความติดขัดบ้างแต่เชื่อว่าจะเป็นโอกาสให้กับผู้ผระกอบการไทย นั้นคือ ปรับตัวโดยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนต่ำและลดของเสีย โดยนำแนวคิดเรื่องBCG โมเดลมาประยุกต์ใช้ รวมถึงต้องมีความพร้อมเรื่องข้อมูล และพยายามใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นจุดขาย
ในขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็ต้องแสวงหาโอกาสใหม่ๆที่เกี่ยวกับธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม การปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น สินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น บริการปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม บริการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดของเสีย ทำความสะอาดไอเสีย และลดมลภาวะทางเสียง รวมไปถึงพลังงานหมุนเวียนด้วย และที่สำคัญคือการจับมือกับภาครัฐในการสื่อสารสองทางในการทำงานร่วมกัน
“ช่วงแรกเราเองอาจจะมองว่าเป็นอุปสรรคต่อกาค้า แต่ในอุปสรรคนั้นผมมองว่าเป็นความท้าทายเป็นโอกาสของเรา ที่จะปรับตัวให้ทันตามเทรน์ของโลก เพราะท้ายที่สุดเราก็ต้องปรับตัว เพราะยิ่งการค้าขายดุเดือดในปัจจุบันก็ยิ่งท้าทาย แต่เราก็ต้องทำ เพราะเราค้าขายระหว่างปท และไม่ต้องตกใจเพราะหน่วยงานกรัฐก็เข้าไปสนับสนุน”