“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง

19 มิ.ย. 2566 | 19:30 น.
อัปเดตล่าสุด :20 มิ.ย. 2566 | 00:07 น.

“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง ตลาดอาเซียนมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดที่44% ตามด้วยสหรัฐฯ จีน อียู และญี่ปุ่น ไทยส่งออกอาหารอนาคตเพิ่มขึ้น ถึง23% สะท้อนว่าอาหารอนาคตของไทยยังมีโอกาสขยายตัว

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวโน้มอาหารอนาคตหรือ Future Food หรืออาหารทางเลือกสำหรับคนยุคใหม่ว่า อุตสาหกรรมอาหารไทย ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง เพราะไทยมีความได้เปรียบในเรื่องของวัตุดิบที่หลากหลาย จนไทยได้รับขนานนามว่าเป็นครัวของโลก ดังนั้นไทยถือว่ามีความได้เปรียบในหลายประเทศ โดยไทยสามารถสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารโลกได้ เพราะคนยังต้องการบริโภค

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดังนั้นเพื่อเพิ่มความหลากหลายและให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา

ไม่ว่าจะเป็น"โปรตีนจากพืช"หรือ "Plant based" โปรตีนจากแมลง อาหารเพื่อสุขภาพ รวมไปถึง Future Food หรือ อาหารอนาคต แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เทรน์กำลังมาทางนี้ เพราะผู้บริโภคทั่วโลกยังคงต้องการอาหารที่มีความหลากหลายขึ้น

“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง

สอดคล้องกับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารจึง เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากและเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งทาง

ายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

เศรษฐกิจและสังคม โดยอุตสาหกรรมอาหารมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างยาว GDP ของอุตสาหกรรมอาหาร 9.2 แสนล้านบาท สถานประกอบการจำนวน 1.36 แสนราย และมีความสำคัญในการจ้างงาน 9.73 แสนคน คิดเป็น 7.6% ของ การจ้างงาน (ข้อมูล สถาบันอาหาร ปี2021)

“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง

อย่างไรก็ดีประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารในตลาดโลกจากการขาย สินค้าเกษตรและอาหารมูลค่าต่ำ อุตสาหกรรมการส่งออกอาหารของไทยมีความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกลดลงถึง 16 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนได้จากจากสถิติการส่งออกระหว่างปี 44-54 ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการส่งออกอาหารของไทย ที่มีอัตรา การขยายตัวในตลาดโลกมากถึง217% หรือเฉลี่ย21.7%ต่อปี ต่อมาในปี 54-63 การส่งออกอาหารของ ไทยชะลอการขยายตัวลงเหลือเพียง12% หรือเฉลี่ย1.5% ต่อปี จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้เข้าสู่ตลาดอาหารมูลค่าสูง

“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง

 “รัฐบาลไทย ได้ประกาศให้"อาหารแห่งอนาคต"เป็นหนึ่งในสิบกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรการดำเนิน ธุรกิจไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของไทยในเวทีอาหารโลก เทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ ได้พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จากภายใน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงทั้งระบบของห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร โดยยึดมั่นให้เกิดความมั่นคง ทางอาหารและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาหารอนาคตไทยได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาเพิ่มมูลค่า และพัฒนาสินค้าให้เป็นตามความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก”

“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง

และในอาหารอนาคตยังแบ่งแยกย่อยออกมาเป็น อาหารฟังก์ชั่น โดยไทยมีมูลค่าอาหารกลุ่มดังกล่าวถึง6.9หมื่นล้านบาทโตเฉลี่ยในช่วง5ปีถึง5.5%  กลุ่มตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชัน ปี 2565 จะมี มูลค่าตลาดกว่า 5.3 หมื่นล้านบาทและธุรกิจอาหารฟังก์ชั่นของไทยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า2.5 แสนล้านบาทต่อปี โดยส่วนแบ่งตลาดอาหารอนาคตไทยพบว่าตลาดอาเซียนมีส่วนแบ่งสูงสุดอยู่ที่ 44% สหรัฐฯ15% จีน9% อียู7%และญี่ปุ่น5%

“Future Food”ดาวรุ่ง1ใน10กลุ่มอุตสาหกรรมS-Curveที่มาแรง

โดยในปีผ่านมาไทยส่งออกอาหารอนาคตเพิ่มขึ้นจากปี64ถึง23%หรือมีมูลค่า129,302ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าการส่งออกอาหารอนาคตของไทยยังมีโอกาสที่จะขยายตัวและดันให้ตัวเลขการส่งออกกลุ่มอาหารอนาคตขยายตัวได้เป็นเท่าตัว ขณะที่ตลาดในประเทศเองกลุ่มอาหารอนาคตมีมูลค่าถึง4,000ล้านบาทหรือ12%ของตลาดอาหารรวมทั้งหมดในปี65และมั่นใจว่าปีนี้มูลค่าการตลาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคและเทรน์การรักสุขภาพกำลังมาแรง