การประกาศวางมือทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรครวมไทยสร้างชาติ ด้วยการลาออกจากสมาชิกพรรค เมื่อไม่นานมานี้ นับเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญทางการเมือง ภายใต้อุณหภูมิบ้านเมืองที่กำลังร้อนระอุ
พล.อ.ประยุทธ์ ระบุเนื้อหาตอนหนึ่งว่า ตลอด 9 ปีเศษที่ผ่านมา ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้บริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มความสามารถ ระมัดระวังการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของประชาชน ให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย วินัยการเงินการคลังมาโดยตลอด และอย่างยิ่งว่ารัฐบาลต่อไปจะดำเนินการพัฒนาต่อไป
หากย้อนไปดูผลงานของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ยุค คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนมาถึงช่วงรัฐบาลผสม นอกเหนือจากเรื่องของเศรษฐกิจ และการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่เป็นเมกกะโปรเจกต์แล้ว ยังมีงานด้านสังคม และการดูแลผู้ที่มีรายได้น้อย แม้จะพยายามผลักดันมาตรการต่าง ๆ ออกมาช่วยเหลือ แต่ปัจจุบันก็ถือว่ายังไม่จบ ไม่สะเด็ดน้ำ
โดยเฉพาะการแก้ปัญหา “ความยากจน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และแก้ไขได้ค่อนข้างยาก แถมยังเจอวิกฤตโควิด19 ซึ่งถือเป็นวิกฤตที่นอกเหนือความคาดหมาย เป็นตัวเร่งจำนวนคนจนในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับมาตรการที่ผลักดันออกมาอย่างชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจน และการช่วยคนที่มีรายได้น้อย ที่เห็นได้ชัดเจน คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ก็เป็นเพียงการช่วยเหลือเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนคนจนของประเทศไทย ย้อนหลังไป9 ปี ตั้งแต่รัฐบาล คสช.ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงข้อมูลรายได้ต่อหัวคนไทย พบข้อมูลที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้
จำนวนคนจนประเทศไทย (TPMAP)
จากการตรวจสอบจำนวนคนจนของประเทศไทย ผ่าน ระบบฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้รับทราบว่ามีคนจนอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง มีตัวเลขรายปีตั้งแต่ปี 2560-2565 ดังนี้
รายได้ต่อหัวคนไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำรายงานข้อมูลรายได้ต่อหัวคนไทย โดยฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของรายได้ต่อหัวคนไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557-2566 พบข้อมูลดังนี้