เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่หลังมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมามีผลให้หลักเกณฑ์ที่ใช้ก่อนหน้านี้สิ้นสุดไป แต่เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังเป็นข้อถกเถียงโดยจะให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติพิจารณาส่งต่อให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาและอนุติเป็นทางการ
อย่างไรก็ตามเมื่อพลิกไปดูสถิตผู้สูงอายุในปี 2565 จากกรมกิจการผู้สูงอายุ ดังนี้
จำนวนประชากรทั้งหมด 66,090,470 คน
จำนวนผู้สูงอายุ 12,698,362 คน คิดเป็น 19.21% แบ่งเป็น ชาย 5,622,074 คน คิดเป็น 44.27%
จำนวนผู้สูงอายุแบ่งตามช่วงอายุ
ส่วนข้อมูลประชากรของกรมการปกครอง ระบุเมื่อเดือนมีนาคม 2566 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว มีจำนวน 36,986 คน เป็นชาย 18,456 คน หญิง 18,530 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 เพิ่มขึ้นประมาณ 7,000 คน จากจำนวน 29,935 คน เป็นชาย 14,604 คน หญิง 15,331 คน
ลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย. 2507 ใครที่ยังไม่ลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566
คุณสมบัติ
ㆍ สัญชาติไทย
ㆍ อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ** เป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อน 2 กันยายน 2507 (ผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ใน
ปีงบประมาณ 2567)
ㆍไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2548 หรือผู้ที่ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติคณะรัฐมนตรี (สำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิกธิ ณ วันที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยแนบเอกสารรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัดว่าไม่เป็นผู้ได้รับบำนาญ หรือสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
กรณีที่ 1 ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ㆍ สามารถลงทะบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน 2565 และเดือนมกราคม - กันยายน 2566
ㆍ จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป (ปีงบประมาณ 2567)
กรณีที่ 2 ผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2567 (คนที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน
2507)
ㆍสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - เดือนพฤศจิกายน 2565 และเดือนมกราคม 2566 - กันยายน 2566
ㆍ จะมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2567 โดยจะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุ ครบ 60 ปีบริบูรณ์
หมายเหตุ
ㆍขอความร่วมมือให้ผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพมาลงทะเบียนเดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ การ
ลงทะเบียนเดือนมกราคม - กันยายน 2566 ให้เป็นการลงทะเบียนเพื่อเก็บตกและบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
ㆍ สำหรับกรณีที่ในทะเบียนราษฎรไม่ปรากฏวันที่ เดือนเกิด ห้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น
เอกสารหลักฐาน
ㆍบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
ㆍ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ㆍ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา กรณีขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร (รายชื่อธนาคารขึ้นอยู่กับ
ดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
เอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (กรณีผู้สูงอายุไม่สะดวกดำเนินการด้วยตนเอง)
ㆍ หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์มมอบอำนาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
ㆍ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ㆍสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ
ㆍสำหรับผู้ต้องขังหรือจำคุกในเรือนจำ ทัณฑสถานหรือสถานที่คุมขังของกรมราชทัณฑ์ ให้มอบอำนาจให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน หรือเจ้าหน้าที่ที่ผู้บัญชาการเรือนจำมอบหมาย ยื่นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของผู้มีสิทธิ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือวันที่ลงทะเบียนในแบบคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นสำคัญ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การจ่ายเงินบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (จ่ายทุกวันที่ 10 ของเดือนหากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุดนั้น) จ่ายเป็นรายเดือนแบบขั้นบันได ดังนี้
ㆍ ผู้สูงอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท
ㆍ ผู้สูงอายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท
ㆍ ผู้สูงอายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท
ㆍผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
หมายเหตุ
ㆍกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเสียชีวิตลง หากเป็นการเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันกำหนดการจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ผู้มีสิทธิรับเงินได้แสดง เจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้รับเงินแทน ทั้งในขณะมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้ว โดยมีพยานรับรองอย่างน้อย 2 คน หากไม่ได้แสดงเจตจำนงดังกล่าวไว้ให้จ่ายเป็นเงินสดแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนาม ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
วิธีการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
สถานที่ลงทะเบียน
ㆍสำนักงานเขตที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
ㆍ ที่ว่าการอำเภอ, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
หมายเหตุ : กรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีผู้สูงอายุสิ้นสุดลง ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ สั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสำหรับบุคคลดังกล่าวทันที
กรณีย้ายที่อยู่
ㆍให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดิมแจ้งให้ผู้สูงอายุทราบว่า ผู้สูงอายุต้องไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ "นับตั้งแต่วันที่ย้ายแต่ไม่เกินเดือนพฤศจิกายนของปินั้น ๆ"
ㆍในระหว่างปีงบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่จ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุอยู่ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นยังคงจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไปจนกว่าจะสิ้นปีงบประมาณ (เดือนกันยายน 2566)
ㆍ กรณีที่ผู้สูงอายุที่ผู้สูงอายุได้ย้ายภูมิลำเนา แต่ไม่ได้ไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ (ภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 ทำให้ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดิมแลแห่งใหม่ ภายหลังได้ไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่แล้ว ก็ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ จ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุนั้น ตั้งแต่ปิงบประมาณถัดไป
ล่าสุด พรรคไทยสร้างไทย ได้โพสต์ข้อความในวันนี้ (20 สิงหาคม 2566) ว่า 10.00น. พรุ่งนี้พบกัน! ทีมโฆษก เข้ายื่นหนังสือรัฐมนตรีกระทรวง พม. กรณี ยกเลิกสิทธิ์ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้าเป็นระบบพิสูจน์สิทธิ์ พร้อมเสนอบำนาญประชาชนคือทางออก.
ที่มา: กรมกิจการผู้สูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์