นางสาวอลเวง ศรีหิรัญ พาณิชย์จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดระนอง สรุปภาวะการค้าชายแดนกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้านจังหวัดระนอง ประจำเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 1,304.07 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 494.38 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 27.49 (มิถุนายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,798.45 ล้านบาท)
และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลง267.67 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ17.03 (กรกฎาคม 2565 มีมูลค่าการค้ารวม 1,571.74ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 942.30 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 273 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.46 (มิถุนายน 2566 มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,215.30 ล้านบาท) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 310.54 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.79 (กรกฎาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,252.84 ล้านบาท)
รายการสินค้าส่งออก ชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดระนอง10 อันดับแรก เดือน กรกฎาคม 2566 ดังนี้
น้ำมันเชื้อเพลิง,หล่อลื่น,ปุ๋ยเคมี,ของปรุงแต่งชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์,ไขมันหรือน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช,หลอดหรือท่อ และโพรไฟล์กลวง,ตาข่ายจับปลา,เครื่องดื่มให้พลังงาน,ของทำด้วยเหล็ก,สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง,เชือกชนิดทไวน์ คอร์เดจ โรป และชนิดเคเบิล รวมทั้งสิ้น31,923.03 (ตัน) มูลค่า 942.30 (ล้านบาท)
มูลค่าการนำเข้า เดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 361.77 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 221.38 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.96 (มิถุนายน 2566 มีมูลค่านำเข้ารวม 583.15 ล้านบาท) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 42.87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.44 (กรกฎาคม 2565 มีมูลค่านำเข้ารวม 318.90 ล้านบาท)
สำหรับรายการสินค้านำเข้า ชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดระนอง 10 อันดับแรก เดือน กรกฎาคม 2566 มีดังนี้สัตว์น้ำ (ปลาแช่เย็น),ปลาป่น,ถ่านไม้ป่าเลน,ของทำด้วยเหล็ก,ปลาหมึกแช่เย็น,แช่เย็นจนแข็ง หอยแครงมีชีวิต,ปูเค็ม ปูทะเลสด กุ้ง กั้ง,ออสซิลโลสโกป,ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า,ดีบุกสภาพสินแร่,เมล็ดปาล์มและเนื้อใน รวมทั้งสิ้น 21,951.08 ตัน 361.77 ล้านบาท
ดุลการค้าเดือนกรกฎาคม 2566 ดุลการค้าเกินดุล 580.53 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 51.62ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.17 (มิถุนายน 2566 เกินดุลการค้า 632.15 ล้านบาท) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง353.41 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ37.84 (กรกฎาคม 2565 เกินดุลการค้า 933.94 ล้านบาท
นางสาวอลเวง กล่าวว่า ภาพรวมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดระนอง เดือนกรกฎาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (มิถุนายน 2566) จะเห็นว่ามูลค่าการค้ารวมปรับตัวลดลง 27.49%
ด้านการส่งออกปรับตัวลดลง22.46% โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง หล่อลื่น, ปุ๋ยเคมี, ของปรุงแต่งชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์,ไขมันหรือน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช, หลอดหรือท่อ และโพรไฟล์กลวง เป็นต้น
ด้านการนำเข้าปรับตัวลดลง 37.96% โดยสินค้าที่มีมูลค่านำเข้าลดลง ได้แก่สัตว์น้ำ (ปลาแช่เย็น), ปลาป่น, ถ่านไม้ป่าเลน, ของทำด้วยเหล็ก, ปลาหมึกแช่เย็นแช่เย็นจนแข็ง หอยแครงมีชีวิต เป็นต้น
จังหวัดระนองมีจุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรน ดังนี้
1. จุดผ่านแดนถาวร ระนอง - เกาะสอง 2.ท่าเทียบเรือของบริษัทอันดามันคลับ จำกัด 3.ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง 4. ท่าเทียบเรือด่านศุลกากรระนอง และ จุดผ่อนปรน บ้านเขาฝาชี
ขณะที่นายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่าสาเหตุที่การค้าไทย-เมียนมา ยังขยับตัวขึ้นลงไม่มาก เนื่องจากเป็นเพราะเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองภายในของเมียนมา
บุญเลื่อน พรหมประทานกุล :รายงาน