แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้มีการทบทวนแผนการคลังในระยะปานกลาง ครอบคลุมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 – 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ประเมินว่า ในการปรับปรุงแผนการคลังระยะปานกลางฉบับใหม่นั้น จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยปรับเพิ่มขึ้น โดยในปี 2566 หนี้สาธารณะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือนกรกฎาคม 2566 ซึ่งมีจำนวน 10.97 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 61.69% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นเป็น 62.97% ของจีดีพี มีจำนวน 11.4 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.3 แสนล้านบาท
ขณะเดียวกันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศไทย ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี 2567-2571 กระทรวงการคลัง ประเมินว่า จะเพิ่มขึ้นถึง 3.7 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากตัวเลข ณ เดือนกรกฎาคม 2566 ที่มีจำนวน 10.9 ล้านล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.6 ล้านล้านบาท ภายในปี 2571
อย่างไรก็ตามหากแยกเป็นรายปีพบตัวเลขหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศไทยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
อีกทั้งเมื่อพิจารณาตัวเลขดุลการคลัง ภายใต้แผนการคลังระยะปานกลางฉบับใหม่ ยังพบสัดส่วนการขาดดุลการคลังในสัดส่วนที่สูง แบ่งเป็น
ส่วนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณในแต่ละปีนั้น ตามแผนยังมีการปรับกรอบวงเงินใหม่ โดยปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณเข้าไปอีก 1.3 แสนล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณแต่ละปีปรับเพิ่มขึ้นดังนี้
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาในส่วนของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้นั้น ยังมีการปรับตัวเลขสมมุติฐานเศรษฐกิจใหม่ โดยประเมินว่า การขยายตัวของ GDP ไทยในช่วงปี 2566-2571 ปรับตัวลงลงจากประมาณการเดิม แบ่งเป็น
นอกจากนี้หากพิจารณาถึงมูลค่า GDP ของไทย ซึ่งมีการปรับใหม่นั้น ยังพบข้อมูลว่า มีการปรับฐานตัวเลข GDP ของไทยลดลงด้วย แยกเป็นรายปีดังนี้
กระทรวงการคลัง รายงานว่า ในการดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลางยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะเดียวกันจะมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีภูมิคุ้มกันของภาคการคลัง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต
โดยยึดหลัก “Sound Strong Sustained” ที่มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายการคลังที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังในทุกด้าน ทั้งในส่วนของการฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถรองรับการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล
ทั้งนี้ได้คำนึงถึงการรักษาระดับเครื่องชี้ทางการคลังให้อยู่ภายใต้กรอบวินัยการคลัง (Fiscal Discipline) เพื่อมุ่งสู่ภาคการคลังที่ยั่งยืนและมีศักยภาพในการรองรับความเสี่ยงที่ประเทศอาจต้องเผชิญอีกในอนาคต
สำหรับเป้าหมายของแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้ กระทรวงการคลัง ระบุว่า จะมุ่งเน้นการควบคุมขนาดการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคลังที่เปลี่ยนแปลงไป และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะปานกลาง เพื่อมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีประมาณการสถานะการคลังในระยะปานกลางภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ในระยะยาวหากภาวะเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม