รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารางเวลา 2566 หลัง ครม.เคาะค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

17 ต.ค. 2566 | 06:00 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ต.ค. 2566 | 06:33 น.

รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารางเวลา 2566 หลัง คณะรัฐมนตรี อนุมัติอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย เริ่มให้บริการตั้งแต่เวลากี่โมง และ ปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าในเวลากี่โมง คลิกอ่านด่วน

จากกรณีที่เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566 คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง 20 บาทตลอดสายโดยมีผลไปแล้วหลังจาก ครม.อนุมัติ

รถไฟฟ้าสายสีแดง วิ่งสถานีไหนบ้าง

สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ให้บริการทั้งหมด 13 สถานี เป็นระยะทางรวม 37.60 กิโลเมตร ได้แก่สถานีดังต่อไปนี้

  • สถานีตลิ่งชัน
  • สถานีบางบำหรุ
  • สถานีบางซ่อน
  • สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
  • สถานีจตุจักร
  • สถานีวัดเสมียนนารี
  • สถานีบางเขน
  • สถานีทุ่งสองห้อง
  • สถานีหลักสี่
  • สถานีการเคหะ
  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีหลักหก
  • สถานีรังสิต

 

 

รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารางเวลา 2566

รถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00 น. – 24.00 น. ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีรังสิต (สายเหนือ)
▪️ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 10.00 นาที
▪️นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 15.00 นาที
• 05.00 น. – 07.00 น. ความถี่ 15 นาที
• 07.00 น. – 09.30 น. ความถี่ 10 นาที
• 09.30 น. – 17.00 น. ความถี่ 15 นาที
• 17.00 น. – 19.30 น. ความถี่ 10 นาที
• 19.30 น. – 24.00 น. ความถี่ 15 นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.00 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.

 

รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารางเวลา 2566

รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารางเวลา 2566

 

รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารางเวลา  2566

รถไฟฟ้าสายสีแดง ตารงเวลา 2566

นอกจากนี้ ครม. เห็นชอบหลักการมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สูงสุด 20 บาท ตามนโยบายรัฐบาล (เริ่มต้นเมื่อระบบมีความพร้อม จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567) 

สำหรับอัตราค่าโดยสาร รถไฟสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 41 กิโลเมตร ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 42 บาท เมื่อเป็นไปตามนโยบาย จะทำให้มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 20 บาท

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กิโลเมตร ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บท เป็นการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 20 บาท.

ที่มา: รถไฟฟ้าสายสีแดง