นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึง ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 13-19 ตุลาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,277,070 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 168 ข้อความ
ทั้งนี้ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 144 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 24 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 95 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 57 เรื่อง
ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในกระเทศ จำนวน 51 เรื่อง อาทิ ค่าทำแอปฯ สำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัล 1.2 หมื่นล้านบาท
กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย 28 เรื่อง อาทิ ขณะหลับสมองมีการสร้างเซลล์สมองใหม่ เพื่อไว้ใช้ในวันถัดไป การที่อดนอนเป็นการทำลายช่วงเวลาการสร้างเซลล์สมองเป็นต้น
กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 6 เรื่อง อาทิ กรมอุตุฯ เตือนเตรียมรับมือพายุลูกใหม่เข้าไทย เฝ้าระวังฝนตกหนัก อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือ และอีสาน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน 14-23 ต.ค. 66 เป็นต้น
กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 10 เรื่อง ปตท. เปิดให้ลงทุนซื้อกองทุนปันผลระยะสั้น 1,000 บาท ปันผล 320 ต่อวัน3,000 บาท ปันผล 990 บาท ต่อวัน เป็นต้น โดยเป็นเรื่องการหลอกลวงธุรกรรมทางการเงิน จำนวน 9 เรื่อง
นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวด้านกลุ่มนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และกลุ่มเศรษฐกิจ ตามลำดับ โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชน มากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
กระทรวงดีอี ขอให้ประชาชนตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์/ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทัน และมีการส่งต่อข้อมูลข่าวปลอมเหล่านี้ ก็จะทำให้ได้รับข้อมูลผิดๆ และส่งผลกระทบกับประชาชนที่หลงเชื่อข่าวปลอม ดังกล่าว
โดยสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ที่ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 ตลอด 24 ชั่วโมง”