จากกรณีที่นายจรัญ หอมเทียนทอง อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ได้รับแจ้งจากร้านหนังสือขนาดใหญ่ว่า ตามประกาศนี้ให้หนังสือเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ.2565 กล่าวคือถ้ายึดถือตามประกาศนี้(ที่วงแดง) หนังสือทุกเล่มต้องมีตรา มอก.ซึ่งรายละเอียดตาม มอก.ประกอบด้วย ตามเอกสารแผ่นที่ 3 ถ้าเป็นไปตามนี้ ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในโลกที่ แบบเรียน และหนังสือ ต้องติดฉลากให้ตรงตามเงื่อนไข
อยากบอกไปยังผู้คุมนโยบาย(ถ้าจำไม่ผิดไม่รู้ว่าเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมหรือ สคบ.)ยกเลิกเถอะ อย่าต้องให้เรื่องแบบนี้บานปลาย ลำพังรัฐบาลเจอเรื่อง ดิจิตอล มันนี่ก็แย่อยู่แล้ว อย่าเพิ่มเรื่องอีกเลย ในฐานะผมเป็นพลเมืองดีเสียภาษีทุกชนิด ไม่อยู่ในข่ายเป็นคนจนที่ต้องได้รับเงินจาก ดิจิตอล มันนี้เและเติบโตจากหนังสือมาตลอดชีวิต
อย่าให้สิ่งนี้มาทำให้รำคาญและเกลียดชังรัฐบาลเลยครับผมเห็นว่าไม่ต้องทบทวน ต้องยกเลิกสถานเดียว และอยากเห็นหน้าคนคิดนโยบายนี้ด้วย หัวมีแค่ไว้สวมหมวกอย่างเดียวหรือถ้ามีคำใดที่มีนิยามมากกว่า“บัดซบ”โปรดได้รับคำนี้จากผมแต่ถ้าผมเข้าใจผิด ต้องขอโทษด้วย แต่จากเอกสารไม่น่าจะผิด
ขอส่งสารไปยังสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ว่าต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน”
ต่อเรื่องดังกล่าวนายวันชัย พนมชัย รักษาการเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ระบุว่า กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าว ประกาศคณะกรุรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง กำหนดประเภทของสินค้าให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ.2565 มีรายละเอียดส่วนหนึ่งระบุให้ หนังสือ และแบบเรียน เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องปฏิบัติตามคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ซึ่งมีผู้ตีความว่า หนังสือและแบบเรียนทุกเล่ม ต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เป็นเรื่องไม่ถูกต้องและจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียว ในโลกที่แบบเรียนและหนังสือต้องติดฉลากให้ตรงตามเงื่อนไข จึงเรียกร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกประกาศดังกล่าว นั้น
สมอ. ขอขี้แจงว่า การตีความดังกล่าวเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน โดยขอชี้แจง ดังนี้ คณะกรรมการว่าด้วยฉลากฯดังกล่าว อยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่อยู่ภายใต้สั่งกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสมอ.ไม่มีมาตรฐานบังคับสำหรับหนังสือเรียน มีเพียงมาตรฐานกระดาษพิมพ์และเขียน มอก. 287-2565 ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไป ไม่ใช่มาตรฐานบังคับ
สำหรับมาตรฐานบังคับ นั้น สมอ. จะบังคับเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความูปลอดภัยของผู้บริโภค เช่น สายไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ปลั๊กพ่วง เตารีด หม้อหุงข้าว พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ วัสดุก่อสร้าง เหล็กโครงสร้ง เหล็ก ก่อสร้าง ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางรถยนต์ กระจกรถยนต์ เข็มขัดนิรภัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานใดจะประกาศใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยอ้างอิงมาตรฐาน มอก. ก็สามารถทำได้ โดยใช้ความอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานนั้น