จ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีแนวความคิด ปรับรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนข้าราชการ ในลักษณะแบ่งจ่ายเงินเดือนออกเป็น 2 งวด เพื่อเป็นทางเลือกให้ข้าราชการทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 3 ล้านคน ได้รับเงินเดือนไปชำระหนี้สิน และ ให้เกิดการใช้จ่ายด้วยความคล่องตัว จนออกเป็นมติ คณะรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 กรมบัญชีกลาง ได้ทำการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก ทั่วประเทศ ภายใต้ “การปรับเงื่อนไขวิธีการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ” โดยการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด จะเริ่มจ่ายให้กับข้าราชการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ตามที่ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้
และล่าสุด กรมบัญชีกลาง รวบรวมคำถาม-คำตอบ จำนวน 20 ข้อเกี่ยวกับการปรับเงื่อนไข วิธีการเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
ตอบ เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับข้อมูลเงินเดือน ข้อมูลรายจ่ายและหนี้ (หนี้ที่มีหนังสือยินยอมให้ส่วนราชการหักชำระหนี้) กรมบัญชีกลางจะคำนวณยอดเงินสุทธิ และแบ่งเงินสุทธิเป็น 2 ยอดเท่ากัน เพื่อโอนเข้าบัญชีผู้มีสิทธิรอบแรกและรอบสอง สำหรับรายจ่าย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ กสจ. กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ กบข./กสจ. ตามรอบการจ่ายเงินเดือน ส่วนการจ่ายภาษี/กยศ. รวมถึงหนี้บุคคลที่ 3 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้กรมสรรพากร/กยศ. และส่วนราชการในรอบสอง
13. กรณีเงินเดือน 18,000 บาท หนี้ 10,000 บาท ถ้าจะจ่ายเงินเดือน 2 รอบ คือวันที่ 15 มกราคม จ่าย 9,000 บาท และวันที่ 31 มกราคม จ่าย 9,000 บาท จะต้องตัดหนี้ 10,000 บาท ออกจากเงินเดือนรอบใด ซึ่งยอดหนี้มีจำนวน มากกว่าเงินที่ได้รับแต่ละรอบ
ตอบ เงินเดือน 18,000 บาท หนี้ 10,000 บาท เงินสุทธิเท่ากับ 8,000 บาท กรมบัญชีกลางจะแบ่งครึ่งยอดเงินสุทธิ และ โอนเข้าบัญชีผู้มีสิทธิรอบแรก 4,000 บาท และรอบสอง 4,000 บาท ส่วนหนี้จะโอนให้ส่วนราชการในรอบสอง
14. เรื่องการหักนี้ของส่วนราชการ กรมบัญชีกลางทำความตกลงกับธนาคาร/สถาบันการเงิน ให้ส่วนราชการ ใช่หรือไม่
ตอบ กรมบัญชีกลางจะหักหนี้ของสถาบันการเงิน ตามข้อมูลหนี้ที่ส่วนราชการจัดส่งมาให้ ซึ่งเป็นหนี้ที่ส่วนราชการและ สถาบันการเงินทำความตกลงกันไว้ และมีหนังสือยินยอมให้ส่วนราชการหักชำระหนี้
15. หนี้บุคคลที่สามที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำในสังกัด ไปก่อหนี้ผูกพันกับสถาบันการเงิน มีสัญญาและมีกำหนดงวด ที่ต้องนำส่งจะดำเนินการจ่ายอย่างไร ในการเบิกจ่ายเงินเดือน 2 รอบ และใน 1 เดือนการหักหนี้บุคคลที่สาม อาจหัก ไม่ได้ครบตามจำนวนที่ส่งมา
ตอบ หากหนี้บุคคลที่ 3 เป็นของสถาบันการเงินที่ส่งข้อมูลให้หน่วยงาน กรมบัญชีกลางจะนำยอดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณ หักจากเงินเดือน เมื่อได้ยอดเงินสุทธิ จึงแบ่งครึ่งยอดเงินสุทธิ และโอนเข้าบัญชีผู้มีสิทธิเป็น 2 รอบ สำหรับยอดหนี้ที่หักไว้ กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้กับส่วนราชการเพื่อนำไปจ่ายหนี้บุคคลที่ 3 ในรอบการจ่ายเงินเดือนรอบสอง
16. เจ้าหน้าที่กองคลังของส่วนราชการมีความกังวลว่าจะต้องทำงานมากขึ้น เพราะต้องจ่ายเงินเดือนให้กับ ข้าราชการในส่วนราชการ 2 ครั้ง เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นกระทรวงการคลังมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร
ตอบ รัฐบาลก็ให้ความสำคัญและให้โจทย์กับกรมบัญชีกลางว่า ต้องกระทบการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการน้อยที่สุด แนวทางที่กรมบัญชีกลางดำเนินการ คือ เจ้าหน้าที่กองคลังของส่วนราชการทำงานเรื่องการเบิกจ่ายเงินเดือนเพียง 1 ครั้ง เหมือนเดิมเพียงแต่ต้องทำงานให้เร็วขึ้น ส่วนการดำเนินการคำนวณแบ่งจ่ายเงินเดือน กรมบัญชีกลางเป็นผู้ดำเนินการ
สรุป คือ "ทำงานเหมือนเดิม แต่ต้องทำเร็วขึ้น ส่งข้อมูลให้กับกรมบัญชีกลางเร็วขึ้น"
17. กรมบัญชีกลางกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของส่วนราชการไว้อย่างไร
ตอบ กรมบัญชีกลางได้หารือกับหน่วยงานและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ขอความร่วมมือในการส่งข้อมูลรายจ่ายและ ข้อมูลหนี้ให้เร็วขึ้น เป็นภายในวันที่ 2 ของทุกเดือน เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการจะบันทึกข้อมูลเงินเดือนและข้อมูลรายจ่าย ข้อมูลหนี้ในระบบ e - Payrol และบันทึกส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลางภายในวันที่ 7 - 8 ของเดือน
กรมบัญชีกลางจะตรวจสอบ ประมวลผล และคำนวณยอดเงินสุทธิ (เงินเดือน หัก รายจ่ายและหนี้) แบ่งครึ่งเท่ากัน เพื่อโอนเงินในรอบแรกและรอบสอง สำหรับรายจ่าย กบข./ กสจ. กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ กบข./กสจ. ตามรอบการจ่ายเงินเดือน ส่วนรายจ่ายภาษี /กยศ. และนี้บุคคลที่สาม กรมบัญชีกลางจะโอนเข้าบัญชีกรมสรรพากร กยศ. และส่วนราชการเพื่อนำไปจ่ายหนี้บุคคลที่ 3 ในรอบการจ่ายเงินเดือนรอบสอง
18. หากส่วนราชการต้องการทำงานจ่ายเงินเดือนรอบเดียวเช่นเดิม ทำได้หรือไม่
ตอบ การจ่ายเงินเดือน 2 รอบ เป็นความประสงค์ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ หากส่วนราชการมีข้าราชการและ ลูกจ้างประจำที่ประสงค์จะรับเงินเดือนสองรอบ ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามความประสงค์ของข้าราชการและ ลูกจ้างประจำ ซึ่งการจ่ายเงินเดือน 2 รอบ เจ้าหน้าที่กองคลังของส่วนราชการทำงานเรื่องการเบิกจ่ายเงินเดือนเพียง 1 ครั้งเหมือนเดิม เพียงแต่ต้องทำงานให้เร็วขึ้น ส่วนการดำเนินการคำนวณแบ่งจ่ายเงินเดือน กรมบัญชีกลางเป็นผู้ดำเนินการ
สรุป คือ "ทำงานเหมือนเดิม แต่ต้องทำเร็วขึ้น ส่งข้อมูลให้กับกรมบัญชีกลางเร็วขึ้น"
19. ส่วนราชการทำงานแบบไม่รับเงินเดือน 2 รอบ ได้หรือไม่ หากดำเนินการได้สามารถส่งงานได้ตามปกติ ใช่หรือไม่
ตอบ โครงการนี้เป็นมติของคณะรัฐมนตรี ดังนั้น หากส่วนราชการมีข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ประสงค์จะรับเงินเดือนสองรอบ ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดไว้
20. หากเจ้าหน้าที่กองคลังของส่วนราชการมีปัญหาในการปฏิบัติงานจะติดต่อได้ที่ใด
ตอบ กรมบัญชีกลางจะมีการจัดอบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่งานบุคคล และเจ้าหน้าที่กองคลังของ ส่วนราชการ ในรูปแบบของ Onsite และ Online ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 พร้อมกับมีคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อเจ้าหน้าที่ได้กลับไปทบทวน หากมีข้อสงสัยในการปฏิบัติงานสามารถติดต่อสอบถามได้โดยตรงที่กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ กรมบัญชีกลาง จะมีเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติงาน.
ที่มา: กรมบัญชีกลาง