วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2566) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำรวจข้อมูลหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 พฤศจิกายน นี้ พิจารณา "พักหนี้สหกรณ์" หรือ โครงการพักชำระหนี้ให้ครอบคลุมเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ เช่นเดียวกับลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
พร้อมกันนี้ยังเตรียมจะเสนอขอชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 4.5 เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณรวม 55,038.96 ล้านบาท แยกเป็นวงเงินสินเชื่อ 44,437 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 10,601.96 ล้านบาท
“รัฐบาลเข้าใจถึงความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรทุกคนดี จึงเห็นว่านโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคเกษตรควรดูแลครอบคลุมถึงเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกับเกษตรกรรายย่อย ที่เป็นลูกหนี้ของ ธ.ก.ส. ที่มีหนี้ไม่เกิน 300,000 บาท” รมว.เกษตรฯ ระบุ
สำหรับแนวทางการพักหนี้สหกรณ์ มีเงื่อนไขเบื้องต้น ดังนี้
ทั้งนี้คาดว่ามีสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข จำนวน 707,213 ราย มูลหนี้รวม 88,131.33 ล้านบาท โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเสนอขอความเห็นชอบรัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรแทนสมาชิก ในอัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2569
“นโยบายดังกล่าวได้นำเสนอไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะเลขานุการคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรฯ แล้ว” รมว.เกษตรฯ กล่าว
ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้กรมการข้าวและกรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดทำข้อมูล 2 มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 ด้วยวงเงินจ่ายขาด 10,601.96 ล้านบาท เพื่อนำเสนอต่อครม. โดยมีมาตรการดังนี้
1.สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี
ทั้งนี้กำหนดราคาข้าวหอมมะลิตันละ 12,000 บาท ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวหอมมะลิปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท ข้าวเหนียวตันละ 10,000 บาท หากราคาข้าวขึ้น รวมถึงเกษตรกรรายย่อยที่มียุ้งฉางด้วย (เริ่มจ่ายเงินหลังจาก ครม. มีมติเห็นชอบ)
2. สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม
ส่วนเงินช่วยเหลือชาวนา ซึ่งเป็นค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพข้าวไร่ละ 1,000 บาท คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (นบข.) ต้นเดือนธันวาคมนี้