รัฐบาลสั่งลุยเหมืองโปแตซ สถานะ3บริษัทได้ประทานบัตรดำเนินการถึงไหน

08 พ.ย. 2566 | 06:52 น.
อัปเดตล่าสุด :08 พ.ย. 2566 | 08:42 น.

ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยปีละกว่าแสนล้านบาท ซึ่งหากผลิตแม่ปุ๋ยจากแร่โปแตชเองได้จะช่วยประหยัดต้นทุนของเกษตรกร ซึ่งประเทศไทยมีโปแตชเป็นอันดับ 4 ของโลก และปัจจุบันมีบริษัทที่ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่โปแตช 3 เจ้า แต่ยังไม่มีเจ้าไหนสามารถขุดแร่ขึ้นมาได้

นายเศรษฐา ทวีสิน นากยรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ถึงการทำเหมืองโปสแตช ที่รัฐบาลได้ประทานบัตรไปแล้ว 3 บริษัทแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ว่า “หากบริษัทปัจจุบันทำไม่ได้ ต้องหาผู้เล่นที่มีความพร้อมมาพัฒนาแหล่งโปแตช” หรือพูดง่ายๆก็คือ “คนเก่าทำไม่ได้ ให้หาคนมาทำใหม่”  โดยการพูดการทำเหมืองในครั้งนี้วัตถุประสงค์ของนายกรัฐมนตรีมองว่าเป็นการนำเอาทรัพยากรที่ประเทศไทยมีมหาศาล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมพบว่า จากการสำรวจแร่โปแตสในประเทศไทย พบว่า มีมากอยู่ 2 แหล่ง  
1.แอ่งสกลนคร อยู่ในพื้นที่ สกลนคร หนองคาย อุดรธานี นครพนม
2.แอ่งโคราช อยู่ในพื้นที่ ขอนแก่น  กาฬสินธุ์  มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ  นครราชสีมา ชัยภูมิ

หากสามารถนำแร่โปรแตชที่มีอยู่ในประเทศไทยมาใช้ได้ จะสามารถประหยัดการนำเข้าปุ๋ยโปแตชได้ปีละเกือบ 1 หมื่นล้านบาท  ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือมีบริษัทที่ได้รับการประทานบัตรทำเหมืองแร่โปแตช 3 ราย แต่ยังไม่มีรายใดที่สามารถดำเนินการได้ ไม่ติดขัดเรื่องเงินทุน ก็มีปัญหากับคนในพื้นที่ 

แหล่งแร่โปแตชในประเทศไทย

 

ลุย(ไฟ)เหมืองโปแตช 3บริษัทได้ประทานบัตร
1.บริษัท อาเซียนโปแตช ชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) จ.ชัยภูมิ   สถานะ ได้ประทานบัตรแล้ว EIA ผ่านแล้ว  พื้นที่ 9,356 ไร่ กำลังการผลิต 1.1 ล้านตัน/ปี   
2.บริษัท ไทยคาลิ จำกัด จ.นครราชสีมา สถานะ EIA ผ่านแล้ว พื้นที่ 9,799 ไร่  กำลังการผลิต 1แสนตัน/ปี 
3.บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โพแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด จ.อุดรธานี สถานะ EIA ผ่านแล้ว พื้นที่ 26,446 ไร่ กำลังการผลิต 2 ล้านตัน/ปี


ซึ่งแต่ละบริษัทมีปัญหาที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้แตกต่างกัน โดยในช่วงหนึ่งของการประชุมครม.นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ามีหนึ่งบริษัทที่ได้ประทานบัตรไปแล้ว 8 ปี แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้

การนำเข้าแม่ปุ๋ยในประเทศไทย

บริษัท อาเซียนโปแตช ชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) จ.ชัยภูมิ

บริษัทที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มอาเซียนในปี 2523  หลังชาติสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศในขณะนั้น (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร บูรไน ไทย) ลงนามร่วมกันว่าด้วยโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำทรัพยากรที่มีในแต่ละประเทศมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงได้มีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.หลายยุคหลายสมัยจนเกิดบริษัทอาเซียนโปแตชขึ้นมา โดยมีกระทรวงการคลังถึงหุ้น 20% ภายใต้ข้อกำหนดที่มีร่วมกัน 


โดยก่อนหน้านั้นรัฐบาลได้พยายามหารัฐวิสาหกิจที่มีศัยกภาพเชิญชวนให้เข้ามาลงทุน แต่กลับไม่มีรายใดให้ความสนใจ โดยสำนักข่าวอิศรานำเสนอถึงที่มาที่ไปและสถานะของบริษัทในช่วง 2 ปีหลังดังนี้ 


ในปี 2564 มีหนังสือแจ้งคณะกรรมการบริษัทว่า บริษัทขาดสภาพคล่องรุนแรงและขาดทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกเดิอน การเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนก็ไม่สำเร็จ จึงมีมติให้เลิกบริษัท  ต่อมาในช่วงปี 2565 มีการแจ้งคณะกรรมการโดยสรุปว่า สถานการณ์ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นและมีผลกระทบกับภาคเกษตรกรรม และยังมีผุ้ลงทุนรายใหม่ 2 รายที่สนใจร่วมลงทุนในสัดส่วนรวม 40% บริษัทจึงวางแผนเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน โดยการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 20% รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการนี้อีก 4,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้มีการสอบถามไปยังรัฐบาลด้วยว่าจะให้หน่วยงานใดหรือสถาบันการเงินใดเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินในครั้งนี้
3 บริษัทได้ประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช

บริษัท ไทยคาลิ จำกัด จ.นครราชสีมา 

ขณะที่บริษัทไทคาลิ จากรายงานพบว่า เจ้าของบริษัทเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111  ในสมัยไทยรักไทย ได้ประทานบัตรระยะเวลา 25 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2583 ปัจจุบันมีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่โดยชาวบ้านในตำบลหนองไทร ตำบลหนองบัวตะเกียด ตำบลโนนเมืองพัฒนา ในพื้นอำเภอด่านขุนทด จ.นครราชสีมากกว่า 200 คน เรียกร้องให้หยุดทำเหมืองทันที เพราะทำให้พื้นที่บริเวณนั้นได้รับความเสียหาย ดินเค็ม มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่พื้นที่สาธารณะ โดยเมื่อวันที่  7 กรกฏาคม 2566 ที่ผ่านมา นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้านและยื่นหนังสือเพื่อผู้ว่าฯตรวจสอบการทำงานของบริษัทดังกล่าว

 

บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โพแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด จ.อุดรธานี

ชื่อเดิมบริษัท ไทยอะกริโก โพแตช จำกัด มีทุนกลุ่มใหญ่อิตาเลียนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือเป็นบริษัทที่มีกำลังการผลิตสูงสุดหากมีการขุดเหมืองเกิดขึ้น แต่ที่มีปัญหาเพราะถูกต่อต้านอย่างหนักจากคนในพื้นที่ โดยไม่มีการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วนมีปัญหากับมาเป็น 10 ปี มีการฟ้องร้องกันระหว่างกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการยื่นฟ้องศาลปกครองอุดรธานี ของให้ศาลไต่สวนว่าการขอประทานบัตร 4 ฉบับที่หน่วยงานรัฐออกให้ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ซึ่งในปี 2561 ศาลตัดสินว่า การจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ฉบับ เป็นรายงานที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย   ส่งผลให้ต้องพิจารณาคำขอประทานบัตรในฟื้นที่ 4 แปลงใหม่อีกครั้ง จนมาช่วงปลายรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยนายสุริย จึงรุ่งเรืองกิจ เป้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหนังสือถึงครม.วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ว่าคำขอประทานบัตรของบริษัทฯได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายแล้ว 28 มิถุนายน 2565 ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้เดินหน้าโครงการเหมืองในจังหวัดอุดรธานี