ค่าแรงขั้นต่ำ 2566 จากกรณีที่ คณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคี ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง จะนัดประชุมกันในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 นี้ เพื่อหาข้อสรุปเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานทั้ง 77 จังหวัด รอบใหม่ ก่อนจะมีมติออกมาอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นภายในสัปดาห์หน้า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมนำค่าแรงขั้นต่ำ 2566 เข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อรับทราบความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือ ค่าจ้างขั้นต่ำ ของแรงงานทั่วประเทศ คาดว่าจะสรุปรายละเอียดเข้ามาเสนอให้ที่ประชุมครม. ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นี้
สำหรับอัตราขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ดูเหมือนว่าการปรับอัตรค่าแรกงขั้นต่ำนั้นจะไม่เท่ากันทั่วประเทศ และไม่ถึงวันละ 400 บาท
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
5 จังหวัด ที่ได้อัตรค่าจ้าง 328 บาท
19 จังหวัดที่ได้รับอัตราค่าจ้าง 335 บาท
จำนวน 14 จังหวัด อัตราค่าจ้าง 340 บาท
22 จังหวัด อัตรค่าจ้าง 332 บาท
6 จังหวัดอัตราค่าจ้าง 353 บาท
1 จังหวัด อัตราค่าจ้าง 343 บาท
ล่าสุดวันนี้ (8 ธันวาคม 2566) คณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคี ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง เตรียมหารือถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ของแรงงานทั่วประเทศ ในเวลา 9.00 น. หลังจากกระทรวงแรงงาน ได้รับทราบข้อเสนอของทางอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ที่เสนอรายละเอียดของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ของแต่ละจังหวัดเข้ามาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุดนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 หรือปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับแรงงาน โดยจะเพิ่มขึ้นอัตราวันละ 2-16 บาท เฉลี่ย 2.37% โดยกระทรวงแรงงาน จะนำเสนอที่ประชุม ครม. พิจารณาเห็นชอบ วันที่ 12 ธันวาคม 2566
สำหรับการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2567 มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 345 บาท/วัน โดยที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาคและการหารือของแต่ละจังหวัด และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น โดยพิจารณาบนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน จะนำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด และให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ที่มา: กระทรวงแรงงาน