วันนี้ 21 ม.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นวันที่ 52 นับตั้งแต่เปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นมา โดยจากข้อมูลของสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง เมื่อเวลา 15.00 น. มีมูลหนี้รวม 8,710.603 ล้านบาท ประชาชนลงทะเบียนแล้ว 132,461 ราย เป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ 113,123 ราย และการลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ 19,338 ราย รวมจำนวนเจ้าหนี้ 97,665 ราย มีพื้นที่/จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด 5 ลำดับแรก
ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก
“สำหรับข้อมูลการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบทั่วประเทศพบว่า มีลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว 11,789 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 5,925 ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนไกล่เกลี่ย 1,182.042 ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย 641.924 ล้านบาท มูลหนี้ลดลง 540.118 ล้านบาท และจังหวัดที่สามารถนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้มากที่สุดยังคงเป็นจังหวัดนครสวรรค์เช่นเดิม โดยมีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 2,979 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 125 ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนไกล่เกลี่ย 230.936 ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย 9.825 ล้านบาท ทำให้มูลหนี้ของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ลดลง 221.111 ล้านบาท สำหรับกรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือกระทั่งไม่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งสำนวนแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจในพื้นที่ มีการดำเนินคดีไปแล้ว 73 คดี ใน 26 จังหวัด” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการเน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอได้ใช้กลไกระดับพื้นที่ทำการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการลงทะเบียนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบได้เข้ามาลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือจากทางภาครัฐอย่างครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งให้ทุกพื้นที่ดำเนินกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้สินทันทีที่ได้รับการลงทะเบียน เพื่อให้ลูกหนี้นอกระบบที่ลงทะเบียนไว้ได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้รวดเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำทุกอำเภอได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” อย่างน้อยเดือนละ 4 ครั้ง หนุนเสริมเพิ่มเติมจากตลาดนัดแก้หนี้ระดับจังหวัดที่มีการจัดเดือนละ 1 ครั้ง โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน เพื่อนำเข้าสู่หนี้ในระบบควบคู่กับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน
“ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ตลอดจนภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้น้อมนำแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต ลดความฟุ่มเฟือย ใช้อยู่อย่าง "พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น" ตลอดจนสร้างความมั่นคงทางอาหาร ปลูกผักสวนครัวในครัวเรือนไว้รับประทาน การบริหารจัดการขยะ จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า และที่สำคัญอีกประการคือ การสร้างแนวทางให้ลูกหนี้ทุกคนมีวินัยทางการเงิน ได้รู้จักประหยัดอดออม วางแผนทางการเงิน จัดทำบัญชีครัวเรือน จดข้อมูลรายรับรายจ่าย และเพิ่มพูนฝึกฝนทักษะการประกอบอาชีพและทักษะอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม
ลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยยังคงเปิดรับลงทะเบียนพี่น้องประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้นอกระบบ ทั้งทางระบบออนไลน์ที่ https://debt.dopa.go.th หรือลงทะเบียนได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศ โดยสามารถสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง.