จากการติดตามและประเมิน ภาวะเศรษฐกิจไทย ของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือ Article IV Consultation ประจำปี 2566 ซึ่งแม้โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัว แม้จะชะลอลงบ้าง โดย IMF คาดว่า จีดีพีไทยจะเร่งตัวขึ้นที่อัตรา 4.4% ด้วยแรงหนุนจากมาตรการดิจิทัล วอลเลต หลังขยายตัวประมาณ 2.5% ในปี 2566 จากการพื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม รายงานของ IMF เตือนว่า จาก ปัจจัยเสี่ยง ที่ยังมีอยู่ทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ไทยควรให้ความสำคัญกับ การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการลดทอนผลกระทบจากการแบ่งขั้วทางภูมิเศรษฐศาสตร์ (geo-economic fragmentation) รวมทั้งสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) โดยเฉพาะการเพิ่มพูนทักษะแรงงาน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปรับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจให้เหมาะสม เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตามศักยภาพ
ทั้งนี้ IMF ระบุว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ โดย ปัจจัยเสี่ยงภายนอก (downside external risks) ประกอบด้วย
ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ (domestic risks) ที่จะทำให้เกิดภาวะความไม่แน่นอนสำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น ได้แก่
IMF แสดงความยินดีที่ไทยสามารถประคับประคองเศรษฐกิจจนมีการฟื้นตัวได้ดีหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระนั้นก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยยังถือว่าช้ากว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน และแนวโน้มในอนาคตก็ยังไม่แน่นอนนัก จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ IMF จึงแนะนำว่า
อ่านต้นฉบับเต็ม การติดตามและประเมินภาวะเศรษฐกิจไทย (Article IV Consultation ประจำปี 2566) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คลิกที่นี่