วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2567) เวลา 16.00 น. ที่ตึกภักดีบดินทร์ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเติม เงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet นัดแรกของปีนี้ เพื่อพิจารณารายละเอียดโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า การประชุมนัดนี้เว้นมายะยะหนึ่งหลังจากรัฐบาลรอฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนแล้วจึงได้มีการนัดประชุมเพื่อพิจารณษรายละเอียดทั้งหมด
สำหรับวาระที่จะมีการหารือครั้งนี้ เบื้องต้นมีด้วยกัน 5 วาระสำคัญ ประกอบด้วย
แหล่งข่าว ระบุว่า ไฮไลท์ของวาระที่เสนอเข้ามายังที่ระชุมครั้งนี้ มีการเสนอวาระลับเข้ามาหนึ่งเรื่อง คือ ผลการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับข้อเสนอเรื่องแหล่งเงินของโครงการเติมเงินดิจิทัล ที่จะมีการตรากฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท
ขณะเดียวกันยังที่ประชุมยังเตรียมหารือถึงข้อสรุปข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับโครงการเติมเงินดิจิทัลของรัฐบาล ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีความเห็นถึงแนวทางป้องกันการทุจริตด้วยกัน 8 ข้อส่งถึงรัฐบาลเพื่อพิจารณาประกอบการดำเนินโครงการ
อีกหนึ่งวาระที่น่าจับตาโดยเสนอเข้ามาเป็นวาระเพื่อพิจารณานั้น ที่ประชุมจะร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการตามผลการหารือของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งจะมีทั้งแนวทางรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อตอบข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา และแนวทางการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตในโครงการด้วย
ส่วนอีกเรื่องที่สำคัญ ที่ประชุมเตรียมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพิ่มเติมอีกหนึ่งชุด คือ คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ภายในโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาทด้วย
นอกจากนี้ยังต้องติดตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในฐานะของประธานในที่ประชุม รวมทั้ติดตามความคิดเห็นของกรรมการ ซึ่งเป็นมาจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ และการทรวงการคลังด้วยว่าจะมีความเห็นในวาระสำคัญ โดยเฉพาะการออก พ.ร.บ.กู้เงินอย่างไร