KEY
POINTS
เมื่อ Gen Z เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในขณะที่โลกของ "สินเชื่อเพื่อผู้บริโภค" ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวน Gen Z เพิ่มมากขึ้นที่เปิดรับแนวคิด "ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง" หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) เป็นบริการให้สินเชื่อหรือการผ่อนชำระสินค้าที่เข้าถึงง่าย อนุมัติไว และปราศจากดอกเบี้ย หากชำระเงินตามเงื่อนไข
ตัวเลือกการชำระเงินนี้ดึงดูดความสนใจคนรุ่นใหม่ได้ไม่น้อย โดยเปลี่ยนความสนใจไปจากการใช้ธนาคารและบัตรเครดิตแบบเดิมๆ มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้ BNPL เพิ่มขึ้น ได้แก่ ความฉับไว ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้น
ในรายงานนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะเจาะลึกถึงสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังความสนใจที่เพิ่มขึ้นใน BNPL ในกลุ่ม Gen Z โดยตรวจสอบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ให้กลายเป็นผู้เปลี่ยนเกมในพฤติกรรมผู้บริโภค
ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง BNPL คืออะไร
คือ การซื้อมาก่อน แล้วแบ่งจ่ายเป็นงวด เเล้วนำสินค้าเเละบริการไปใช้ได้ก่อนโดยไม่ต้องรอจ่ายเงินครบจำนวน ส่วนมากไม่มีดอกเบี้ย
ยกตัวอย่างเช่น ต้องการซื้อ TV ยี่ห้อ A ในราคา 18,000 บาท ที่ทำโปรโมชั่นผ่อน 0% กับแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรืออาจเป็นบริการหนึ่งบนแอปพลิเคชันอื่นที่ไม่ได้ให้บริการทางการเงินโดยตรง มีเงื่อนไขผ่อนสินค้าระยะเวลา 12 เดือน แต่ดอกเบี้ย 0% แค่ 3 เดือน หรือแค่ 6 เดือน ขณะที่ TV แบรนด์ B ผ่อนชำระได้ แต่มีดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี เเละมีดอกเบี้ยสำหรับการชำระเงินไม่ตรงงวดด้วย
BNPL เป็นบริการผ่อนชำระที่เข้ามาเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือมีรายได้ไม่แน่นอน เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ผู้บริโภคซึ่งจากการเข้าถึงบริการได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิต และสามารถใช้เพียงบัตรประชาชนสำหรับยืนยันตัวตนเพื่อขอสินเชื่อเท่านั้น
ใครคือคนที่ซื้อตอนนี้ จ่ายเงินทีหลัง?
Gen Z ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ใช้บริการ BNPL มากกว่าครึ่ง ส่วนใหญ่ใช้จ่ายไปกับเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ
กลุ่ม Gen Z ที่ใช้บริการ BNPL 63.3 % มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท แบ่งเป็น
กลุ่ม Gen Z กว่า 38% ใช้บริการ BNPL ในการซื้อสินค้าจำพวกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ สะท้อนถึงพฤติกรรมเสี่ยงของคนรุ่นใหม่ที่อาจก่อหนี้เกินตัวในอนาคต
BNPL กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น
62.3% สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น หากมีบริการผ่อนชำระ BNPL อีกทั้ง BNPL ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น
45.2 % มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการให้ข้อมูลของบริษัท Atome ประจำประเทศไทย ที่ระบุว่า BNPL ช่วยเพิ่มมูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อครั้งถึง 35 % รวมถึง ผลสำรวจ Lending tree ของสหรัฐอเมริกา ที่ชี้ให้เห็นว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่เคยใช้บริการมีการใช้เงินมากกว่าเดิม การกระตุ้นการใช้จ่ายที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการมีโอกาสในการก่อหนี้มากขึ้น
สะท้อนจากผลการสำรวจที่พบว่า ผู้ใช้บริการ BNPL ถึง 49.4 % มีภาระหนี้ที่ต้องชำระอยู่แล้ว (ไม่รวมหนี้ BNPL) คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ มีระยะเวลาการผ่อนชำระสั้น และดอกเบี้ยสูง ทำให้มีภาระในการชำระหนี้ต่อเดือนสูง
แม้วงเงิน สินเชื่อ BNPL จะไม่ได้มีมูลค่าสูงนัก แต่การกระตุ้นการใช้จ่ายที่ทำให้ก่อหนี้หลายประเภทพร้อมกันอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระและเกิดหนี้เสียในระยะถัดไป โดยเฉพาะถ้าได้รับการปรับเพิ่มวงเงิน
ผู้ใช้บริการ BNPL คิดเห็นอย่างไร
ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจะซื้อของไม่จำเป็นมากขึ้นหากมีการผ่อนชำระ รวมทั้งเห็นด้วยกับการใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลกับตนเองก่อนการตัดสินใจออมหรือลงทุน
ผู้ใช้บริการ BNPL ได้รับข้อมูลจากผู้ให้กู้ยืมยังไม่ครบถ้วน
การไม่ได้รับ/ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน อาจทำให้ผู้ใช้บริการตัดสินใจผิดพลาดและไม่ทราบถึงข้อควรระวังในการใช้ BNPL
สำรวจพฤติกรรมและความเสี่ยงจากการใช้บริการ BNPL
แนวโน้มพฤติกรรมการใช้เงินแบบซื้อก่อนจ่ายทีหลังในกลุ่มประชาชน ที่มีอายุระหว่าง 15 – 55 ปี ครอบคลุม 11 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,945 คน เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บริการ BNPL มีผู้ที่เคยใช้บริการ BNPL ประมาณ 23.1 % ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
ช่องทางในการใช้บริการ BNPL
ราคาสินค้าที่ผู้ใช้บริการ BNPL
สถานะทางการเงินของผู้ใช้บริการ
การเพิ่มขึ้นของ BNPL ทั่วโลก
การขยายตัวของการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ รวมกับเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลและพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตสินค้าและสถาบันการเงินให้สินเชื่อหรือให้บริการผ่อนชำระผ่านกับผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น กำลังได้รับความนิยม และปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้บริการ BNPL เป็นจำนวนมาก
ข้อมูลของ Juniper Research พบว่า ปี 2565 จำนวนผู้ใช้ BNPL ทั่วโลกมีกว่า 360 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 900 ล้านคน เพิ่มขึ้น 157% ในปี 2570
BNPL เป็นอุตสาหกรรมระดับโลก
ปี 2563 ตลาด BNPL มีมูลค่า 87.2 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นประมาณ 43% เป็น 125.09 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 และสูงถึงประมาณ179.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565
ภายในปี 2573 ตลาด BNPL คาดว่าจะมีมูลค่าที่น่าประทับใจ 3.27 ล้านล้านดอลลาร์
ในสหรัฐอเมริกาปี 2564 BNPL สร้างมูลค่าตลาดได้ถึง 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562
ข้อมูลที่เข้ามาจากช่วงสุดสัปดาห์ช้อปปิ้งในวัน Black Friday ปีที่เเล้ว พบว่า ผู้ซื้อในสหรัฐฯ ที่ใช้บริการ BNPLโดยเฉลี่ย 598 ดอลลาร์ในช่วงดังกล่าว เทียบกับ 452 ดอลลาร์ในกลุ่มที่ไม่ใช้วิธีการชำระเงินแบบนี้ ตามการสำรวจผู้บริโภคในสหรัฐฯ 2,691 รายโดย PYMNTS Intelligence ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล
สะท้อนให้เห็นว่า เเม้สหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงลิ่วของสินเชื่อผู้บริโภค รวมถึงบัตรเครดิต การซื้อตอนนี้จ่ายทีหลัง ช่วยให้ผู้คนสามารถชำระค่าสินค้าแบบผ่อนชำระปลอดดอกเบี้ย อาจเป็นส่วนสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
สวีเดนมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในตลาด BNPL
สวีเดนครองตลาด BNPL มายาวนาน ย้อนกลับไปในปี 2559 สวีเดนเป็นผู้นำการชำระเงินอีคอมเมิร์ซในประเทศของ BNPL ซึ่งมากกว่าเนเธอร์แลนด์ ถึง 2 เท่า ภายในปี 2563 สัดส่วนการชำระเงินอีคอมเมิร์ซ BNPL ในสวีเดนเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า เยอรมนีและนอร์เวย์อยู่ในอันดับที่สองและสาม
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นประเทศเดียวที่ไม่ใช่ยุโรปใน 10 อันดับแรก ที่จริงแล้ว อีก 8 ประเทศที่ใช้ BNPL มากที่สุดนั้นตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ
BNPL ในประเทศไทย
Thailand Buy Now Pay Later Market Report 2565 คาดว่า มูลค่าตลาด BNPL ในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 5.5 – 6.5 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมาก
แนวโน้มในอนาคตและการขยายตลาด
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทย ประเมินว่า ปี 2571 BNPL จะมีมูลค่าสูงถึง 15,818 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเพิ่มขึ้น 17 เท่าจากปี 2564 แม้จะเป็นโอกาสทางธุรกิจ แต่จากความสะดวกในการเข้าถึงและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ BNPL ที่มีออฟไลน์หรือออนไลน์ อาจส่งผลให้คนไทยมีหนี้สินเพิ่มขึ้น และสร้างพฤติกรรมเสพติดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย จนนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา
ห่วงดันหนี้ครัวเรือนเพิ่ม เร่งเสริมภูมิคุ้มกัน
"หนี้ครัวเรือน" ของไทยยังน่ากังวล ตัวเลขล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงกว่า 90% ของ GDPและจากการศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของคน Gen Z มีแนวโน้มเป็นหนี้มากขึ้นในอนาคต เเละยังนิยมซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย แบบซื้อก่อนจ่ายทีหลัง
ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยต่างจากต่างประเทศหลายด้าน โดยคนไทยมีหนี้ส่วนบุคคลและบัตรเครดิตสูงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของยอดหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด ซึ่งหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ช่วยสร้างรายได้ ขณะที่ต่างประเทศมีหนี้ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบ้าน
ขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้บริการ และทัศนคติของผู้ใช้บริการสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของ BNPL ในหลายประการ คือ
"จากประเด็นข้างต้นชี้ให้เห็นว่า แม้ BNPL จะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องและมีส่วนช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ แต่อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมและการติดกับดักหนี้ดังนั้น ประเทศไทยต้องมีกำกับดูแลที่ครอบคลุมผู้ให้บริการ BNPL ทุกประเภทอย่างชัดเจนดังเช่นในหลายประเทศ รวมถึงผู้ใช้บริการจำเป็นต้องมีวินัยทางการเงิน เพื่อให้ตระหนักถึงความเสี่ยงในการเป็นหนี้และการใช้จ่ายเกินตัว" สภาพัฒน์สรุป