KEY
POINTS
สถานการณ์เศรษฐกิจไทย ยังคงอยู่ในภาวะน่ากังวล แม้จะผ่านพ้น “ช่วงท้องช้าง” หลังเกิดการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโควิด-19 แต่ ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่พื้นตัวได้ตามเป้าหมาย สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมไปถึงปัจจัยภายนอกประเทศที่ยากต่อการควบคุม มิหนำซ้ำกระสุนจากมาตรการรัฐที่ออกมาหลายชุดก่อนหน้านี้ได้หมดลงแล้ว หันไปหันมาจึงเหลือทางเลือกเดียวในช่วงนี้นั่นคือ การผลักดันนโยบายด้านการเงิน ผ่านกลไกของ “ดอกเบี้ยนโยบาย”
ล่าสุดในการแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส่งสัญญาณชัดเจนชัดเจนเป็นครั้งแรกถึงการดำเนินนโยบายทางการเงิน ว่า ในระยะถัดไป สศช.มองว่ามาตรการทางการเงินจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปข้างหน้าให้ได้ เพื่อช่วยลดภาระของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจของผู้ประกอบการ SME
ทั้งนี้ สศช. มองผลกระทบจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่ยังคงห่างกันมาก จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มครัวเรือน และเอสเอ็มอี มากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ หากไม่เร่งทำให้ช่องว่างนี้แคบลง ดังนั้นจึงต้องหาทางออกมาตรการมาดูแลทั้งสองกลุ่มนี้โดยด่วน
อีกส่วนนั่นคือ การผ่อนคลายสินเชื่อบัตรเครดิต โดย สศช. อยากให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาปัดฝุ่นการปรับลดการชำระอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของบัตรเครดิต จาก 8% เหลือ 5% ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อปลายปี 2566 กลับมาใช้อีกสักระยะหนึ่ง เพื่อลดภาระให้กับลูกหนี้บัตรเครดิต ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (SMLs) ไม่กลายไปเป็นหนี้เสีย หรือ NPL ได้
ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ อาจจะต้องช่วยพิจารณากลุ่มที่มีการชำระเงินขั้นต่ำเป็นระยะเวลานาน เช่น จ่ายขั้นต่ำต่อเนื่อง 1-2 ปี ธนาคารอาจจะต้องดึงคนกลุ่มเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้มีภาระดอกเบี้ยลดลง รวมทั้งช่วยให้ภาระการจ่ายหนี้คล่องตัวมากขึ้น
“มาตรการทางด้านการเงิน โดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย คงต้องมีการพิจารณาอย่างจริงจัง ทั้งด้านของอัตรา และส่วนต่างของดอกเบี้ย ซึ่งขณะนี้มีช่องว่างค่อนข้างมาก และการชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ จึงขอรบกวนธนาคารแห่งประเทศไทย ช่วยพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะตอนนี้มาตรการของรัฐทุกอย่างหมดลงแล้ว” เลขาฯ สศช. ระบุ
นายดนุชา ยังย้ำเรื่องของการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม โดยระบุว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเป็นหน้าที่ของทาง ธปท. แต่ถ้าสามารถทำได้เร็ว ก็น่าจะมีส่วนช่วยได้พอสมควร โดยอาจต้องดูอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่ไปด้วย เพราะเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2566 เราเติบโต 1.9% แม้ว่าการบริโภคจะขยายตัวได้ดี แต่เรื่องหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 - 3.2% หรือขยายตัวเฉลี่ย 2.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 - 3.2% หรือขยายตัวเฉลี่ย 2.7% มาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง การกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.9 – 1.9% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4% ของ GDP
ส่วนปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดประกอบด้วย ติดตามการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง โดยเป็นผลจากความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 รวมถึงการลดลงของพื้นที่ทางการคลัง ซึ่งจะกลายเป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับความเสี่ยงในระยะต่อไป
รวมทั้งติดตามสัดส่วนหนี้สินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ครัวเรือนรายได้น้อย ธุรกิจ SMEs และลูกหนี้ภาคเกษตร
เช่นเดียวกับติดตามผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคเกษตร สภาวะเอลนีโญ ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติและอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร และเกาะติดความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
สศช. ยังมีข้อเสนอแนะ 7 ข้อเกี่ยวกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในปี 2567 ควรให้ความสำคัญเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. การติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ ควบคู่ไปกับการทบทวนมาตรการทางภาษีให้มีความเหมาะสม และการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าให้มีความรัดกุมมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำความผิดลักลอบนำเข้าสินค้าที่ผิดกฎหมาย หลบเลี่ยงภาษี หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจ
2. การยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการSME โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นกลไกหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME เตรียมความพร้อมในการเข้าถึงสินเชื่อดิจิทัลแฟ็กเตอริงเพื่อเป็นทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอีกทาง
3. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น อาทิ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสินค้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งสินค้าที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้า
ขณะเดียวกันควรเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางในประเทศให้มีความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสามารถเชื่อมโยงสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศกับห่วงโซ่การผลิตโลกได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ควรให้ผู้ประกอบการสินค้าที่มีสัญญาณการลดลงของความต้องการในตลาดโลกและมีอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำต่อเนื่องพิจารณาทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนการผลิตและการส่งออกสินค้า ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
เพื่อนำไปสู่การผลิตสินค้ามูลค่าสูงที่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาและมีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดและข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมให้สามารถปรับตัวสู่ภาคการผลิตในอนาคต
4. การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2564 - 2566 ควบคู่ไปกับการเร่งรัดอนุมัติโครงการที่ได้เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานสามารถเริ่มประกอบกิจการให้เร็วขึ้น
โดยเฉพาะโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการเพิ่มกำลังการผลิต การจ้างงาน และการลงทุนใหม่ นอกจากนี้ ยังควรมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะขั้นตอนกระบวนการ และข้อบังคับ กฎหมาย รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี และการสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long-term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูงโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเข้ามาพำนักระยะยาว
ทั้งนี้ ควรเร่งรัดการส่งเสริมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพที่สำคัญ อาทิ สนามบิน/เที่ยวบิน กระบวนการตรวจคนเข้าเมือง โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรักษามาตรฐาน ความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว
6. การดำเนินมาตรการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมรูปแบบและพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลจากความเสี่ยงของสภาพอากาศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้ายมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชและใช้วิธีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าสูง
ขณะเดียวกัน ควรมุ่งเน้นการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มและผลิตภาพในการผลิต การกระจายความเสี่ยงในการผลิตอย่างเหมาะสมและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของสินค้าในภาคเกษตร
7. การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับ 3 เรื่อง คือ