KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะเติบโตได้ที่ระดับ 2.6% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ 3.7% (การประมาณการที่ไม่รวมผลของนโยบาย Digital Wallet ก่อนหน้านี้คือ 2.9%) และคาดว่าเศรษฐกิจจะโต 2.8% ในปี 2568 ตามแนวโน้มศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเริ่มลดต่ำลงจากปัญหาเชิงโครงสร้าง
ทั้งนี้ การปรับประมาณการเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 เรื่อง คือ
อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถโตได้ดีขึ้นในช่วงครั้งหลังของปี 2567 เมื่อการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่จะกลับมาชดเชยการชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมและระดับสินค้าคงคลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ภาคการผลิตไทยเสี่ยงชะลอตัวยาว
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนสถานการณ์ที่น่ากังวล คือ ภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวติดกันห้าไตรมาส ซึ่งสะท้อนการสะสมสินค้าคงคลังจากความอ่อนแอของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทย
KKP Research ประเมินว่าภาคการส่งออกไทยจะสามารถฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยขยายตัว 1.8% สอดคล้องกับการคาดการณ์การขยายตัวของการค้าโลก อย่างไรก็ตาม การเติบโตของปริมาณการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยอาจขยายตัวได้น้อยกว่าและคาดการณ์ได้ยาก ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยโดยแบ่งภาคการผลิตออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มที่มีการเร่งผลิตในช่วงที่อุปสงค์ชะลอ ส่งผลให้มีสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ โดยพบว่าสินค้าส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มีปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย 6 เดือนล่าสุดสูงกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่มีการผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งอาจจะใช้เวลาสักระยะในการลดปริมาณสินค้าคงคลังก่อนที่การผลิตจะกลับมาขยายตัวได้
2. กลุ่มธุรกิจที่กำลังเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง สะท้อนจากดัชนีการผลิตที่หดตัวลงต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ส่งสัญญาณความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรม
“KKP Research ประเมินว่าสินค้าในกลุ่มนี้คิดเป็นมูลค่าเพิ่มทั้งหมดประมาณ 23% ของภาคการผลิตไทย ที่เห็นได้ชัด คือ การผลิตสิ่งทอ การผลิตโลหะ การผลิต Hard Disk Drive ในกลุ่มนี้แม้การผลิตอาจจะกระเตื้องขึ้นได้บ้างตามวัฏจักร แต่ก็มีความน่ากังวลในระยะยาว”
3. กลุ่มที่สามารถฟื้นตัวตามอุปสงค์โลกได้ คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตไทย
ด้วยเหตุนี้ แม้อุปสงค์โลกจะพอฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยที่เป็นมาตรวัดสำคัญตัวหนึ่งใน GDP จะยังคงฟื้นตัวได้ช้า
ท่องเที่ยวฟื้นแต่ไม่เหมือนเดิม
KKP Research ประเมินว่าการท่องเที่ยวจะยังคงเป็นแรงส่งของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีมีความท้าทายสองด้านที่อาจทำให้ภาคการท่องเที่ยวไม่สามารถกลับมาเป็นแรงส่งหลักต่อเศรษฐกิจไทยได้เท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 คือ
1. การใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่ำลงกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเกิดจากทั้งโครงสร้างนักท่องเที่ยวและพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป
2. KKP Research ยังคงการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2024 ที่ 35.2 ล้านคน แต่นักท่องเที่ยวจีนที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของภาคการท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลงกว่าเดิมหรืออาจไม่กลับมาในจำนวนเท่าเดิมอีกต่อไปตามสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่ามากกว่าเดิม
KKP Research ประเมินว่าภายใต้เงื่อนไขของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ค่าเงินบาทในระยะยาวจะเข้าใกล้จุดเปลี่ยนที่อาจกลับด้านเป็นอ่อนค่า มากกว่าแนวโน้มแข็งค่าที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงปี 2558 - 2562 โดยมาจากสองเหตุผลสำคัญ คือ
1) ดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะเกินดุลได้ลดลงตามดุลการค้า โดยคาดว่าปี 2024 จะเกินดุลเพียง 0.8%
2) อัตราดอกเบี้ยของไทยจะอยู่ในระดับต่ำลงตามทิศทางเงินเฟ้อและศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและต่างประเทศกว้างกว่าในอดีต
เงินเฟ้อต่ำต่อ คาดแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง
KKP Research ประเมินว่าเงินเฟ้อทั้งในปี 2024 และ 2025 จะอยู่ในระดับต่ำที่ 0.8% และ 0.9% ตามลำดับซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย และคาดการณ์ว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ และ 1 ครั้งในปี 2568 โดยมีเหตุผลสำคัญ คือ
แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินไว้
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจที่ไทยกำลังเผชิญอยู่เป็นสถานการณ์ที่มีความท้าทายและการชะลอตัวเศรษฐกิจไทยไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเฉพาะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเพียงอย่างเดียว เพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจบางส่วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยสั่งสมมาอย่างยาวนานและเริ่มได้ส่งผลกระทบชัดเจนขึ้น
ตอกย้ำอย่างชัดเจนว่าภาครัฐจำเป็นต้องมีการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากโครงสร้างควบคู่กันไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น