ไม่นานมานี้มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” หลังจากได้เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ขอให้ลดการบรรจุอัตรากำลังใหม่ โดยให้มีเฉพาะที่จำเป็นตามกรอบอัตรากำลัง ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้เท่านั้น
หลังนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2567 และคณะอนุกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ว่า ยังมีการตั้งงบประมาณซ้ำซ้อนกันในหลายหน่วยงาน เนื่องจากขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำยังคงมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายลงทุน
จึงขอให้ลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ภายใต้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ลงให้ได้ ซึ่งหนึ่งในรายการที่นายกฯ ต้องการให้ปรับลดลงนั่นก็คือ การขอให้ลดการบรรจุอัตรากำลังใหม่ เพื่อจะนำงบประมาณที่เกี่ยวกับบุคลากรที่ปรับลดลงนี้ ไปจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุน เพื่อใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
สำหรับ “งบประมาณรายจ่ายบุคลากร” นั้น ระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ.2562 กำหนดคำนิยาม งบประมาณรายจ่ายบุคลากร มีหมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในแผนงานบุคลากรภาครัฐตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจำนวนข้าราชการและบุคลากรรัฐ พบข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) สรุปภาพรวมกำลังคนภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 พบว่า ประเทศไทยมีกำลังคนภาครัฐ ทั้งสิ้น 3,199,106 คน แยกเป็น
โดยในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลได้มีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายเอาไว้ 3.48 ล้านล้านบาท โดยจำนวนนี้ มีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายบุคลาการไว้สูงถึง 785,957 ล้านบาท
ส่วนในปีงบประมาณ 2568 ยังไม่มีการจัดทำรายละเอียดงบประมาณที่เป็นรายจ่ายบุคลาการ แต่มีกรอบวงเงินเบื้องต้น คือ ภายใต้กรอบวงเงินรวม 3.6 ล้านล้านบาท โดยมีรายจ่ายประจำ 2,713,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 180,873 ล้านบาท
ทั้งนี้ ฐานเศรษฐกิจ ยังได้ตรวจสอบข้อมูลการจัดทำงบประมาณประจำปี 2567 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา พบว่า มีการแสดงรายละเอียดของงบประมาณที่เป็นรายจ่ายบุคลาการ วงเงิน 785,957 ล้านบาท แยกเป็นรายกระทรวง และรายหน่วยรับงบประมาณ โดยเรียงจากกระทรวงหน่วยงานที่ใช้งบรายจ่ายในส่วนนี้มากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด ดังนี้
นอกจากนี้ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายจ่ายบุคลาการรวม 88,042 ล้านบาท โดยเรียงจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดในกลุ่มหน่วยงาน ดังนี้