กรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เสนอ โดยมีการปรับกรอบวงเงินเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนโยบายรัฐบาลนั้น ภายใต้แผนฉบับดังกล่าว นกจากกรอบวงเงินงบประมาณ รายได้ การขาดดุล และหนี้สาธารณะแล้ว ยังมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเสนอเข้ามารวมอยู่ด้วย นั่นคือ “แผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง” ซึ่งถือเป็นเงินกู้ก้อนใหม่
สำหรับแผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2567 – 2571 ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งช่วงเวลานี้จะอยู่ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” นั้น กำหนดแผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง โดยไม่นับรวมวงเงินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 781,316 ล้านบาท
โดยแผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลางครั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงจากแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
สำหรับแผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง ซึ่งไม่นับรวมวงเงินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล กว่า 781,316 ล้านบาท แยกเป็นรายปี ดังนี้
ขณะที่ข้อมูลหนี้สาธารณะคงค้าง ในช่วงระหว่างปี 2567-2571 พบว่า ในปีแรกของแผนการคลังระยะปานกลาง คือในปีงบประมาณ 2567 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ 11.87 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP อยู่ที่ 65.06% ส่วนในปี 2571 สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ 14.93 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP อยู่ที่ 67.05%
อย่างไรก็ตามแนวทางการบริหารหนี้สาธารณะ ภายใต้แผนการคลังระยะปานกลาง ได้กำหนดให้รัฐบาลต้องดำเนินนโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการกู้เงินในกรณีที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปี 2563 - 2564 ส่งผลให้รัฐบาลมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่มขึ้น
โดยความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567 - 2571) มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,459,016 ล้านบาท ประกอบด้วย